Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิจัยใช้ “ยุทธศาสตร์ม้าไม้โทรจัน” ปราบซูเปอร์บัคส์   

ปัญหาประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะที่ลดลง เป็นหนึ่งในความท้าทายที่หนักหน่วงที่สุดอย่างหนึ่งของวงการแพทย์ในปัจจุบัน เนื่องจากเชื้อเเบคทีเรียดื้อยา หรือ ซูเปอร์บัคส์​ สามารถรับมือกับการบำบัดเกือบทุกรูปแบบที่ใช้รักษา แต่ทีมนักวิจัยที่ภาควิชาการแพทย์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) หาทางหลอกให้ซูเปอร์บัคส์กินโมเลกุลที่หน้าตาเหมือนอาหารของมัน เเต่จริงๆแล้วเป็นยาที่มีฤทธิ์ทำลายเชื้อโรค ศาสตราจารย์ปราดีพ ซิงห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา กล่าวว่า ทีมงานตัดสินใจศึกษาธาตุเหล็กเพราะเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อเชื้อเเบคทีเรีย เพื่อใช้ในการแตกตัวเพิ่มจำนวนเเละแพร่ระบาดและตัวยึดเหนี่ยวตามธรรมชาติจะเป็นตัวดูดซึมธาตุเหล็ก ศาสตราจารย์ซิงห์ กล่าวว่า ทีมงานยังคิดหาทางเลือกอีกทางหนึ่งที่ไม่ต้องใช้ตัวยึดเหนี่ยวธาตุเหล็ก เเละเกิดความคิดที่จะใช้สารเคมีลอกแบบธาตุเหล็กขึ้นมาใช้หลอกล่อเเบคทีเรียให้กินสารนี้เข้าไป เเล้วสารธาตุเหล็กหลอกนี้จะออกฤทธิ์ทำลายเชื้อเเบคทีเรีย สารเคมีเลียนแบบธาตุเหล็กที่ทีมงานเลือกใช้คือสารแกลเลี่ยม (gallium) เป็นธาตุโลหะที่คล้ายกับธาตุเหล็กเเละทำงานเหมือนกับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์รักษาโรค ดังนั้น สารแกลเลี่ยมจึงมีฤทธิ์ทำลายการทำงานสำคัญๆหลายอย่างของเชื้อเเบคทีเรีย ศาสตราจารย์ซิงห์ กล่าวว่า ทีมงานรู้ว่าสารแกลเลี่ยมสามารถเข้าไปเกาะติดเอนไซม์ตัวหนึ่งที่สร้างสำเนาของดีเอ็นเอของเซลล์เชื้อเเบคทีเรีย ซึ่งที่มีบทบาทสร้างเซลล์ลูก และเมื่อเชื้อเเบคทีเรียสร้างดีเอ็นเอใหม่ไม่ได้ เชื้อเเบคทีเรียก็จะไม่สามารถขยายตัวเพิ่มจำนวนได้ เขากล่าวว่า สารธาตุเหล็กหลอกนี้อาจมีบทบาทอีกหลายอย่าง แต่ที่สำคัญคือมันทำให้เซลล์ของเชื้อเเบคทีเรียทำงานผิดปกติ การทดลองหลายครั้งในห้องทดลอง ทีมนักวิจัยพบว่าเชื้อเเบคทีเรียเริ่มดื้อต่อสารแกลเลี่ยมในระดับต่ำ เเละฤทธิ์ของยาเริ่มดีขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะบางตัวที่มีใช้อยู่ ในหนูทดลอง ทีมนักวิจัยพบว่าการใช้ยาเพียงหนึ่งโดสสามารถรักษาอาการติดเชื้อรุนแรงในปอดให้หายขาดได้ ส่วนในการทดลองรักษาคนป่วย 20 คนที่เป็นโรคปอดซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรม ได้ผลการทดลองที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างมาก คริส กอส (Chris Goss) ศาสตราจารย์ด้านเวชศาสตร์และกุมารเวชอธิบายว่า ทีมนักวิจัยได้ฉีดสารแกลเลี่ยมเข้าทางกระแสเลือดเป็นเวลานาน 5 วันติดต่อกั นเเละขณะที่ตัวยาหายไปจากกระเเสเลือดของผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว ตัวยาจะเข้าไปยังปอดเเละมีฤทธิ์รักษาการหายใจของผู้ป่วยได้นานถึงหนึ่งเดือน ศาสตราจารย์กอส กล่าวว่า ตัววัดสำคัญในการตรวจโรคปอดซิสติก ไฟโบรซิสและโรคปอดอื่นๆ อีกหลายชนิด คือการเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหลขณะหายใจออกอย่างเร็วและแรง เเละผลการวิจัยพบว่า อัตราความเเรงของการไหลของลมขณะหายใจออกนี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจากระดับฐาน เขากล่าวว่า ผลการทดลองนี้ทำให้เขามองว่าการใช้สารแกลเลี่ยมฉีดเข้าทางกระเเสเลือดแก่ผู้ป่วยโรคปอด น่าจะช่วยปรับปรุงการทำงานของปอดให้ดีขึ้น ทีมนักวิจัยกล่าวว่า ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันความปลอดภัยของสารแกลเลี่ยมเเละประสิทธิผลในการบำบัด เเต่ผลการทดลองเบื้องต้นที่ผ่านมาเเสดงให้เห็นว่า “ยุทธศาสตร์ม้าไม้โทรจัน” ที่สร้างจุดจบเเก่สงครามโทรจัน อาจใช้ได้ผลกับการสงครามยุคแห่งใหม่เพื่อปราบเชื้อโรคดื้อยาซูเปอร์บัคส์ได้ Voice of America 31.10.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร