Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

500 นักวิทย์ยื่นสมุดปกขาวให้นายกฯ ขีดเส้น 5 ปีทำให้เป็นรูปธรรม  

500 นักวิทย์ฯ บุกพบนายก ยื่นสมุดปกขาว จี้รัฐลงทุนวิจัยขั้นสูงใน 4 ด้าน อาหาร การแพทย์สุขภาพ พลังงาน ความมั่นคงของชาติ แจงนักวิทย์ฯ ไทยเก่งไม่แพ้ชาติใด ร่วมวิจัยระดับโลกกว่าครึ่งหมื่น ด้าน “พล.ประยุทธ์” รับปากรัฐบาลพร้อมลงทุนหากเป็นสิ่งจำเป็น ฟันธงวิทยาศาสตร์คือสิ่งเดียวที่จะพลิกสู่ประเทศรายได้สูง ให้เวลา 5 ปี ทำให้เห็นเป็นรูปธรรม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ประสานงานนำนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จำนวน 500 คน ร่วมจัดกิจกรรม “นักวิทย์รุ่นใหม่ นำไทยไปด้วยกัน” เพื่อยื่นสมุดปกขาวการวิจัยขั้นแนวหน้า ต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วันที่ 31 ต.ค.61 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เพื่อแสดงความพร้อมนำศักยภาพนักวิทย์รุ่นใหม่ กำหนดอนาคตไทย ก้าวสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้ มีตัวแทนนักวิทย์ 5 คนประกอบไปด้วย ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์ ดร.มนัสชัย คุณาเศรษฐ ดร.วศะพร จันทร์พุฒ นพ.ประสิทธิ์ เผ่าทองคำ และ ดร.พินิจ กิจขุนทด นำเสนอรายละเอียดของสมุดปกขาว โดยระบุว่า การขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ภายในระยะเวลา 20 ปี นั้น เป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศ เนื่องจากต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและนวัตกรรม การแข่งขันอย่างรุนแรงในเวทีโลก และต้องเตรียมความพร้อมประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัย ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงเป็นสิ่งสำคัญ และการจะยกระดับประเทศที่สู่ประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยวัตกรรมตามนโยบายประเทศไทย 4.0 การวิจัยขั้นแนวหน้าที่จะทะลุทะลวงไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมประเทศ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่รัฐบาลต้องสนับสนุนอย่างจริงจัง "ประเทศไทยมีจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของโลก มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร อีกทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ส่งบุคลากรที่มีศักยภาพไปเรียนรู้วิทยาการและความก้าวหน้าในต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ระดับปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยระดับโลก ที่ต่างมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยขั้นแนวหน้าระดับโลกมาแล้วจำนวนกว่า 5,000 คน ที่ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยของรัฐ และเอกชนทั่วประเทศ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเกิดมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย อุทยานวิทยาศาสตร์ ห้องแล็บสมัยใหม่ที่เทียบเคียงได้กับหลายประเทศผู้นำในภูมิภาค รวมถึงไทยยังมีระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการวิจัยและพัฒนาที่มีความพร้อมมาก" “หากภาครัฐมีการสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากความรู้ ความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ไทย ในรูปแบบที่เอื้อต่อการนำพาประเทศสู่ระดับโลกอย่างแท้จริง จะทำให้ประเทศไทยก้าวกระโดดสู่ระดับโลกได้อย่างไม่ยาก การรวมตัวของนักวิทย์รุ่นใหม่ ในวันนี้ จึงเป็นเสมือนการมารวมพลังแสดงความพร้อมที่จะใช้ศักยภาพของแต่ละคนที่เชี่ยวชาญแต่ละสาขามากำหนดอนาคตประเทศ ผ่านการเสนอสมุดปกขาวการวิจัยขั้นแนวหน้า หรือ Frontier Research พร้อมได้วางกลยุทธ์กำหนดโจทย์วิจัยให้กับประเทศ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1. อาหารเพื่ออนาคต 2. การแพทย์และสาธารณสุขขั้นแนวหน้า 3. พลังงานแห่งอนาคต และ 4. การป้องกันภัยคุกคาม/รับมือความเสี่ยง และสร้างโอกาสในอนาคต โดยนักวิทย์รุ่นใหม่ได้ระดมสมองร่วมกันว่า เป็นโจทย์วิจัยที่จำเป็นและสำคัญต่อประเทศ และสามารถต่อยอดไปสู่ระดับโลกได้ หากรัฐบาลให้การสนับสนุน” ตัวแทนนักวิทย์ฯ ระบุ นอกจากนี้ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ยังเห็นว่า ไม่มีประเทศใดในโลกที่สามารถก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วได้ โดยไม่มีฐานเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ประเทศไทยจึงต้องยกระดับความสามารถของประเทศให้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวทันโลกให้ได้ โดยต้องเร่งสร้างความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยใช้สิ่งที่มีเพื่อสร้างคุณค่า และโอกาสใหม่ๆ ในการพัฒนาประเทศ การดำเนินการวิจัยขั้นแนวจึงเป็นความท้าทายของประเทศที่จะต้องอาศัยพันธะทางนโยบาย การสนับสนุนจากรัฐบาลและฝ่ายการเมืองที่จะสร้างประเทศในระยะยาว จึงต้องวางแผนงานด้านการลงทุนและงบประมาณเพื่อให้ไปสู่การสร้างอนาคตของประเทศอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ตัวแทนนักวิทย์ฯ เห็นสอดคล้องกันว่า แม้ผลปลายทาง ที่เสนอในวันนี้ จะเป็นเป้าอีกไกล แต่เชื่อว่าผลงานวิจัยระหว่างทางจะสามารถนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์เป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ตลอดทางที่ทำ ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ยืนยันว่าเรามีความพร้อม และมีความมั่นใจที่จะก้าวไปกับรัฐบาลและภาคประชาชน เพื่อผลักดันให้ประเทศของเราเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยงานวิจัยขั้นแนวหน้า ตามที่พวกเราทุกคนได้คาดหวังไว้ แต่เราจะไปถึงจุดนั้นได้ต้องขอให้รัฐบาลสนับสนุนเราอย่างน้อย 2 ข้อ คือ 1. งานวิจัย Frontier Research เป็นงานวิจัยที่คาดหวังผลในระยะยาว จึงจำเป็นต้องมีเงินลงทุนที่มากพอและมีความต่อเนื่อง 2. การจัดสรรด้านการบริหารงานวิจัยวิทยาศาสตร์ ควรจะมองที่ความเป็นเลิศของงานวิทยาศาสตร์เป็นหลัก หากรัฐให้การสนับสนุน วงการวิทยาศาสตร์ก็พร้อมจะก้าวไปไปข้างหน้า เพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่การเป็นจะประเทศชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ของโลกได้ ด้านนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การกำหนดโจทย์วิจัยต้องศึกษาจากอดีตที่นักวิทยาศาสตร์รุ่นเดิมได้ทำไว้ และต่อยอดสู่อนาคตแบบไร้รอยต่ออย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์กรอบยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้านของรัฐบาล เชื่อว่าหากทำได้จะทำให้ประเทศไทยจะก้าวสู่ประเทศที่มีรายได้สูง สินค้ามีมูลค่าเพิ่ม และนำรายได้เหล่านั้นกลับมาพัฒนาประเทศได้ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีย้ำว่า การทำวิจัยแม้เราจะมองไปที่อนาคต แต่ต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังด้วย “รัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนทุกการวิจัยหากเป็นสิ่งที่จำเป็นของประเทศ นักวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ทุกคนล้วนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อประเทศ ผมให้เวลา 5 ปี สำหรับงานวิจัยที่ต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว นำไปสู่ผลผลิตที่เป็นรูปธรรม มีตัวเลขที่สามารถวัดได้ และตอบได้ว่าประชาชนได้อะไรจากงานวิจัย ผมเชื่อว่า วิทยาศาสตร์คือสิ่งเดียวที่จะพลิกประเทศได้” นายกรัฐมนตรี กล่าว Manager online 31.10.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร