Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ก.วิทย์ผนึก 5 มหาวิทยาลัยยกชั้นโอท็อปใน 10 จว.ยากจน  

ปลาร้าสูตรเด็ดกาฬสินธุ์ เหล้าอุเรณูของนครพนม สาหร่ายไกจากน่าน หรือถั่วแปยีของดีเมืองตาก และอื่นๆ อีกมากใน 10 จังหวัดยากจนจะถูกวิทยาศาสตร์ฯ ยกระดับจากสินค้าโอท็อปกลุ่ม C และ D ให้ก้าวขึ้นไปอีกระดับ สามารถแข่งขันในตลาดที่กว้างขึ้น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามความร่วมมือในโครงการพัฒนาผู้ประกอบการโอทอปในพื้นที่ 10 จังหวัดเป้าหมาย คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน นราธิวาสปัตตานี กาฬสินธุ์ นครพนม ชัยนาท ตาก บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ และจังหวัดน่านกับ 5 มหาวิทยาลัยภาครัฐ ได้แก่ มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนนโยบายด้านการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไทยด้วยนโยบายนวัตกรรมของรัฐบาลให้เป็นรูปธรรม โดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เข้ามาช่วยพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มคุณค่าให้สามารถแข่งขันในตลาดและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน นายวิรัช จันทรา รองผู้ว่าการกลุ่มบริการอุตสาหกรรม และรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ เป็นผู้ประกอบการโอท็อปกลุ่ม C จำนวน 20% ของผู้ร่วมโครงการและ D อีก 80% ตามแนวทางที่ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้กำหนดกลุ่มของผลิตภัณฑ์โอท็อป เป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่ม A ดาวเด่นสู่สากล เป็นสินค้ามีคุณภาพราคาสูงและผลิตได้ปริมาณมาก, กลุ่ม B อนุรักษ์สร้างคุณค่าในกลุ่มลูกค้าเฉพาะ เป็นสินค้ามีคุณภาพราคาสูงและผลิตในปริมาณน้อย เพื่อตอบสนองลูกค้าเฉพาะราย, กลุ่ม C พัฒนาเข้าสู่ตลาดการแข่งขัน เป็นสินค้ามีคุณภาพหรือราคาต่ำ และผลิตได้ปริมาณมาก และกลุ่ม D ปรับตัวเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานการผลิต : สินค้ามีคุณภาพหรือราคาต่ำและผลิตได้ปริมาณน้อย กิจกรรมหลักของโครงการแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.การรวบรวมฐานข้อมูลแนวทางการแก้ไขปัญหาของเครือข่าย วทน. (MOST KM Catalogue for Mass Customized solution technology) โดยการจัดทำรายการเทคโนโลยีพร้อมใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็ว และเชื่อมโยงถ่ายทอดองค์ความรู้กลางให้แก่หน่วยงานในพื้นที่ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฎ สถาบันอาชีวศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นพี่เลี้ยงและพัฒนาผลิตภัณฑ์โอท็อป 2.การพัฒนากลไกการทำงานในพื้นที่ ร่วมกับจังหวัด เพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์โอท็อปเป้าหมาย รวมทั้งรับทราบปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการ สามารถจัดกลุ่มปัญหาและแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหา และเชื่อมโยงความเชี่ยวชาญของหน่วยงานภายในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญภายนอกกระทรวง เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์โอท็อปผ่านกลไกประชารัฐ และ 3. การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมตามแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ได้มีการรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ ผ่านคลินิกเทคโนโลยี และหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญภายในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯและผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่นๆ ภายนอกกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เช่น บริษัทประชารัฐรักสามัคคีฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนธุรกิจ และการบริหารจัดการธุรกิจ เป็นต้น ทั้งนี้ จากการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการโอท็อปและกลุ่มเกษตรกรได้นำเสนอความต้องการพัฒนาทาง วทน. เพื่อจับคู่เทคโนโลยีกับภูมิปัญญาหรือสินค้าของตน เป้าหมายของโครงการฯ คือยกระดับผลิตภัณฑ์โอท็อปให้ขึ้นไปอีก 1 ระดับ รวมถึงเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการอย่างน้อย 10% จากเดิม ที่สำคัญ มีแผนที่จะพัฒนาผู้นำกลุ่มผู้ประกอบการให้มีองค์ความรู้เรื่องการตลาดและอีคอมเมิร์ซ เพื่อเดินหน้าธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยไม่ต้องรอการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งเชื่อว่า จะแก้ไขปัญหาของภาคเศรษฐกิจและสังคมจากหน่วยที่เล็กที่สุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นางภัทราวดี วงษ์วาศ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม ซึ่งดูแลใน 2 จังหวัดคือ นครพนมและกาฬสินธุ์ กล่าวว่า เป้าหมายเป็นผู้ประกอบการโอท็อป 260 กลุ่ม แบ่งเป็น 200 กลุ่มสำหรับกาฬสินธุ์และ 60 กลุ่มสำหรับนครพนม ซึ่งได้มีการประสานกับกรมการพัฒนาชุมชนในเครือข่ายจังหวัด รวมถึงลงพื้นที่สำรวจแล้ว พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่คือ ไม่มีความรู้ในการเพิ่มกำลังผลิตเพื่อขยายตลาดในเชิงพาณิชย์ รวมถึงความรู้ในเรื่องอาหารปลอดภัยและมาตรฐานการผลิต" การสนับสนุนจะมุ่งที่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไฮไลท์ของแต่ละจังหวัด เช่น กาฬสินธุ์ก็จะมุ่งที่ไส้กรอกปลากาฬสินธุ์ และปลาร้า ในขณะที่นครพนมมีเหล้าอุเรณู ปลาส้มและกาละแมโบราณ ในขณะที่ บรรณนิสา ทิพย์วิจัย ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า มช. รับหน้าที่ดูแล 3 จังหวัดคือ ตาก แม่ฮ่องสอน และน่านจำนวน 110 กลุ่มผู้ประกอบการ ซึ่งจากการประสานงานกับกรมพัฒนาชุมชนพบว่า ปัญหาหลักของผู้ประกอบการทั้ง 3 พื้นที่คือ ไม่มีตลาด ไม่มีระบบมาตรฐาน และขาดการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ จึงวางแผนไว้ 2 ส่วนหลักคือ เรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะมุ่งหาจุดเด่นของผลิตภัณฑ์โอท็อป และการตลาดซึ่งจะขึ้นอยู่กับความต้องการและศักยภาพของผู้ประกอบการ และมีการเตรียมทีมผู้เชี่ยวชาญไว้รอ โดยมุ่งที่การอบรมพัฒนาศักยภาพ วินิจฉัยรายกลุ่ม จากนั้นบูรณาการกับเครือข่ายของมหาวิทยาลัยในพื้นที่นั้นๆ เพื่อติดตามผล Bangkokbiznews 9.11.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร