Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เสื้อเกราะกันกระสุน “จามจุรี” ราคาถูก ได้มาตรฐาน ลดการนำเข้า  

การสร้างสรรค์ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและประเทศชาติ เป็นหนึ่งในพันธกิจของคณาจารย์ นักวิจัยและนิสิตในมหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริงสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ “เสื้อเกราะกันกระสุน จามจุรี” ผลงานของอัฐวุฒิ ผลาสินธุ์ นิสิตปริญญาโทหลักสูตรวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหนึ่งในผลงานวิจัยจากฝีมือนักวิจัยไทยที่ผ่านการศึกษาวิจัยและทดสอบแล้วว่าได้มาตรฐาน ราคาถูกกว่าเสื้อเกราะที่นำเข้าจากต่างประเทศ ที่สำคัญคือเป็นงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งได้มีการส่งมอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อเร็วๆนี้ รศ.ดร.เสกศักดิ์ อัสวะวิสิทธิ์ชัย ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงที่มาของการพัฒนาเสื้อเกราะกันกระสุน “จามจุรี” ว่า ภาควิชาฯ ได้ศึกษาวิจัยเรื่องเกราะกันกระสุนในรูปแบบต่างๆมาหลายปีแล้ว ทั้งเกราะกันกระสุนสำหรับยานพาหนะ เกราะสำหรับโครงสร้างอาคาร สามารถกันกระสุนได้ในระดับความรุนแรงต่างๆ สำหรับเกราะกันกระสุน “จามจุรี” มีลักษณะเป็นเสื้อเกราะสำหรับให้คนสวมใส่ ซึ่งมีที่มาจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงเหตุการณ์การประท้วงต่างๆซึ่งมีความรุนแรงเกิดขึ้น ทั้งการลอบยิง การวางระเบิด ทำให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเหตุการณ์ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ เป้าหมายของการวิจัยจึงมุ่งพัฒนาเสื้อเกราะกันกระสุนที่ใช้วัสดุในประเทศที่หาได้ง่าย มีราคาถูก เนื่องจากเสื้อเกราะกันกระสุนที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพงมาก “เสื้อเกราะกันกระสุนที่ทำจากแผ่นเหล็กหนาๆ ก็สามารถกันกระสุนได้ แต่น้ำหนักจะมาก ทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่ใส่เสื้อเกราะไม่สะดวกเวลาวิ่งหรือเดิน เสื้อเกราะกันกระสุนที่ดีมีประสิทธิภาพต้องบาง เบา และราคาถูก ส่วนใหญ่เสื้อเกราะกันกระสุนที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพง ตัวละ 20,000 บาทขึ้นไป ทำจากวัสดุเคฟลาร์และอายุการใช้งานจำกัด เพียง 5 ปี ประสิทธิภาพจะลดลงเหลือ 60% ที่ผ่านมามีหลายมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยที่ทำเสื้อเกราะกันกระสุนแต่ราคายังคงสูงอยู่ เกราะกันกระสุนที่จุฬาฯ พัฒนาขึ้นนั้นมีราคาถูก เพียง 5000 - 6000 บาทเท่านั้น ที่สำคัญคือมีคุณภาพ สามารถป้องกันกระสุนได้ตามมาตรฐาน โดยผ่านมาตรฐานการทดสอบ NIJ ของสหรัฐอเมริกา ในระดับ 2A สำหรับปืนพกขนาดเล็กทั่วไป ซึ่งเหมาะกับการใช้งานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ” รศ.ดร.เสกศักดิ์ กล่าว สำหรับวัสดุที่ใช้ในการทำเสื้อเกราะกันกระสุนนั้น รศ.ดร.เสกศักดิ์ ให้ข้อมูลว่า เป็นวัสดุที่มาจากภายในประเทศทั้งหมด ทำให้มีราคาถูก ประกอบด้วยวัสดุผสม 3 ชนิด ได้แก่ แผ่นเหล็กกล้าไร้สนิม แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ และแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ ซึ่งได้ขอรับบริจาคแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ที่ใช้แล้วจากโรงพยาบาล ในการผลิตเสื้อเกราะจะเน้นให้ใช้วัสดุน้อยที่สุด ทำให้ได้เกราะที่บางที่สุด น้ำหนักน้อยที่สุด ต้นทุนก็จะต่ำที่สุด แต่ต้องสามารถกันกระสุนได้ตามมาตรฐาน โดยมีการทดสอบโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ผ่านการทดสอบวิจัยเชิงลึกด้วยโมเดลทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความถูกต้องในการทดสอบด้วยโมเดลถึง 95% เป็นจุดเด่นของงานวิจัยเสื้อเกราะกันกระสุนจามจุรี “เราไม่อยากจะทำงานวิจัยที่ขึ้นหิ้ง งานวิจัยนี้นอกจากจะมีการตีพิมพ์ในงานวิชาการระดับนานาชาติแล้ว เราอยากจะนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง” รศ.ดร.เสกศักดิ์ เผยถึงเหตุผลที่นำเสื้อเกราะกันกระสุน จามจุรีไปมอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อส่งต่อให้ สน.ปทุมวัน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนำไปใช้ปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง เป็นการลดความเสี่ยง เพิ่มความอุ่นใจแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ นายอัฐวุฒิ ผลาสินธุ์ นิสิตปริญญาโทหลักสูตรวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้วิจัยคิดค้น “เสื้อเกราะจามจุรี” เปิดเผยว่า เสื้อเกราะกันกระสุนที่มอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจำนวน 10 ชุด ใช้งบประมาณในการจัดทำเฉพาะค่าวัสดุไม่เกินตัวละ 3,000 บาท ขั้นตอนการจัดทำ เริ่มจากการนำแผ่นเหล็กมาทำการดัดโค้งให้สอดรับกับตัวเสื้อและสรีระร่างกาย จากนั้นจึงนำแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์และฟิล์มเอกซเรย์มาประกบกัน โดยใช้กาวชนิดพิเศษ ให้วัสดุติดประสานกัน การจัดทำตามขั้นตอนต่างๆเหล่านี้ใช้เวลา 2 วันต่อเสื้อเกราะหนึ่งตัว ขั้นตอนที่ยากที่สุดคือ วิธีการทำให้วัสดุต่างๆ ยึดติดกันดี แผนงานในอนาคตจะทำการต่อยอดหาวัสดุอื่นเพื่อพัฒนาเสื้อเกราะให้สามารถกันกระสุนได้ในระดับความรุนแรงที่สูงขึ้น เพิ่มขีดความสามารถให้ทหารได้ใช้งานได้ด้วย “ดีใจมากครับที่งานวิจัยที่เราทำและได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ได้ผ่านการทดสอบแล้วว่าได้มาตรฐาน มีการนำไปใช้ปฏิบัติงานจริงโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นความภาคภูมิใจมากครับ” อัฐวุฒิ กล่าวทิ้งท้ายถึงความสำเร็จในการทำงานวิจัยครั้งนี้ รศ.ดร.เสกศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเสื้อเกราะกันกระสุนที่ได้พัฒนาขึ้นมานั้นได้มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรแล้ว ซึ่งต้องใช้เวลา 6 เดือน - 1 ปี เมื่อนึกถึงเกราะกันกระสุน คน ส่วนใหญ่จะคิดว่ามีลักษณะเป็นแผ่น แต่จริงๆแล้วเกราะกันกระสุนมีการใช้งานในหลายระดับ นอกจากงานวิจัยที่เกี่ยวกับด้านความมั่นคงเช่นเสื้อเกราะกันกระสุน หรือเกราะป้องกันกระสุนในรูปแบบอื่นๆที่มีความหลากหลายแล้ว ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ยังมีงานวิจัยอื่นๆที่น่าสนใจที่นำมาประยุกต์ในเชิงอุตสาหกรรม เช่น โฟมโลหะ ซึ่งเป็นโลหะที่มีน้ำหนักเบาแต่มีความแข็งแรง การผลิตชิ้นส่วนที่ทำจากผงโลหะ เป็นต้น Manager online 06.11.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร