Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

หลังจีนแบนขยะพลาสติก! จับตา “อาเซียน” แหล่งรับฟอกขยะรายใหญ่ของโลก  

ปัญหาขยะพลาสติกและการระบายออกไปสู่ประเทศที่ 3 จากที่เคยดำเนินการแบบเงียบๆ ในทางลับๆ ไม่เป็นที่เปิดเผยมานานหลายสิบปี แต่ด้วยปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มมากขึ้นทุกวัน และการใส่ใจสิ่งแวดล้อมของผู้คน เรียกว่าเมื่อประชาชนตั้งข้อรังเกียจกับการดำเนินงานแบบไร้ธรรมาภิบาล โดยเฉพาะกับประเทศผู้ทิ้งขยะรายใหญ่ของโลก ล่าสุดที่เพิ่งเป็นข่าวใน Malay Mail เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่ามาเลเซียกลายเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายปลายทางของขยะพลาสติกของโลกเพื่อทำการรีไซเคิลขยะ โดยประเทศต่างๆ ขนส่งขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลไปยังมาเลเซีย อย่างเช่น ข้อมูลจาก Guardian ระบุว่า สหรัฐอเมริกาขนส่งขยะพลาสติกกว่า 157,299 เมตริกตันไปยังมาเลเซีย ในรอบ 6 เดือนแรกของปีนี้ หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นกว่าปีละ 273% จากระยะเดียวกันปีที่แล้ว ที่เป็นเรื่องราวขึ้นมาสำหรับมาเลเซีย เพราะแนวโน้มของสถานการณ์เช่นนี้ นับวันจะรุนแรงขึ้น จนประเทศที่เป็นเป้าหมายปลายทางได้รับผลกระทบหากไม่เตรียมตั้งรับให้ดี ทั้งนี้ เนื่องจากปีนี้ประเทศจีนเพิ่งจะประกาศยุติการรับขยะพลาสติกเข้ามาในประเทศอย่างเป็นทางการแล้ว นอกจากมาเลเซียแล้ว ประเทศเวียดนามและไทยเองก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่แย่ลงในฐานะประเทศปลายทางของขยะพลาสติกไม่แตกต่างจากมาเลเซียมากนัก เพราะเวียดนามรับขยะพลาสติกในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ไป 71,220 เมตริกตัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 46% และไทยเองก็มีอัตราการเพิ่มขึ้นของการเป็นประเทศรองรับขยะไม่น้อยกว่าสองประเทศดังกล่าว คำถามที่น่าสนใจก็คือ ประเทศที่เป็นฝ่ายต้องรับขยะพลาสติกจากประเทศผู้ทิ้งรายใหญ่เหล่านี้ดูเหมือนจะตกเป็นเหยื่อของสงครามขยะพลาสติกเหล่านี้หรือไม่ ประการแรก จากข้อมูลของกลุ่มกรีนพีชพบว่า เฉพาะสหรัฐเคยส่งออกขยะพลาสติกไปยังจีนในสัดส่วนมากถึง 92% ของขยะพลาสติกทั้งหมดของประเทศ การตัดสินใจของรัฐบาลจีนที่ห้ามการนำเข้าขยะพลาสติกจากต่างประเทศทั้งหมด ทำให้เกิดปัญหาใหญ่ในการผ่องถ่ายขยะพลาสติกจากประเทศเจ้าของขยะพลาสติกรายใหญ่ๆ ของโลกในทันที โดยไม่มีประเทศใดเตรียมพร้อมรองรับปัญหานี้ทดแทนได้และขาดแนวทางเลือกอื่นที่ยืดหยุ่นจัดการขยะพลาสติกที่เคยส่งไปยังจีนได้อย่างครบถ้วน ประการที่สอง ผู้บริโภครายย่อยที่ทำให้เกิดขยะพลาสติกแต่ละคน ไม่มีโอกาสรับรู้กับปัญหาใหญ่เหล่านี้ เพราะเข้าใจว่าทันทีที่ตนทิ้งขยะพลาสติกลงในถังขยะที่ระบุไว้บนถังขยะว่า “รีไซเคิล” หมายความว่าขยะพลาสติกเหล่านี้จะถูกนำไปรีไซเคิล 100% นั่นคือ ไม่มีผู้บริโภคคนใดรับรู้เบื้องหลังการถ่ายทำว่า จริงๆ แล้วขยะพลาสติกที่จะรีไซเคิลได้จะต้องถูกส่งไปยังจีนหรือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ ก่อนเพื่อผ่านเข้ากระบวนการรีไซเคิล ซึ่งในความเป็นจริงประเทศเป้าหมายปลายทางเหล่านั้นอาจจะไม่ได้รีไซเคิลขยะพลาสติกทั้ง 100% แต่นำไปทิ้งฝังกลบใต้ดินที่ใดที่หนึ่งก็ได้ และยังใช้วิธีการเผาที่ทำให้เกิดมลพิษ ประการที่สาม ความวิตกถึงประเด็นการบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างมีธรรมาภิบาล และประเด็นการปฏิบัติจริงที่เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย กติกา หลักเกณฑ์ หรือความตกลงที่ประเทศนั้นๆ กำหนดไว้ จึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องแสดงการดำเนินงาน รายงานผลอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้หรือไม่ ประการที่สี่ กรณีของมาเลเซีย พบว่ามีอย่างน้อย 4 ประเทศต้นทางขยะแล้วที่มีข้อมูลเปิดเผยออกมาว่าจะใช้มาเลเซียเป็นเป้าหมายปลายทางของขยะพลาสติกสำหรับการรีไซเคิล คือ อังกฤษ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ทดแทนช่องทางการส่งออกขยะพลาสติกไปจีน นอกจากนั้น กรณีของอังกฤษมีข้อมูลที่เปิดเผยว่าการส่งออกขยะพลาสติกราว 250,000 เมตริกตัน อยู่ในรูปแบบของหีบห่อสินค้าปกติ (Product packaging) และราว 17% มีปลายทางที่มาเลเซีย เทียบกับในอดีตที่ส่งออกทั้งหมดไปจีน ขณะที่นิวซีแลนด์ได้ส่งออกขยะพลาสติกไปมาเลเซียในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 3 เท่า ประการที่ห้า สิ่งที่น่าวิตกไม่ใช่เพียงการรองรับปริมาณขยะพลาสติกมหาศาลจากประเทศอื่น หากแต่เป็นความกังวลว่าความเห็นแก่ตัวเอาแต่ได้ส่วนบุคคล โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อส่วนรวม จะทำให้เกิดการลักลอบเปิดโรงงานรับจัดการขยะพลาสติกเถื่อนที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขทางกฎหมาย ที่รับเงินค่ารีไซเคิลขยะพลาสติกมา แต่เอาเข้าจริงกลับนำมาฝังกลบในดินหรือเผาทิ้งแทน ซึ่งทำให้สังคมที่อยู่รอบๆ โรงงานที่ว่าเดือดร้อนด้านสุขอนามัย เพราะสารพิษจากการเผาขยะเหล่านั้น ประการที่หก ประเทศเป้าหมายปลายทางยังไม่ตื่นตัว หรือทำการปรับเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมปัญหาที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวในเชิงนโยบายอย่างเพียงพอ หรือเป็นรูปธรรมที่จะทำให้เกิดความสบายใจในเรื่องมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คนดังกล่าว และหากจะมีการควบคุมทางด้านกฎหมายที่เข้มงวด รัดกุมมากขึ้นจริง ก็จะทำให้ปัญหาการผ่องถ่ายขยะพลาสติกของประเทศต้นทางไม่ได้รับการแก้ไขอยู่ดี Manager online 06.11.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร