Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สวทน.เดินหน้าหามาตรการปลดล็อคนำผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์  

สวทน. ระดมกูรูหารือเข้ม เดินหน้าหามาตรการปลดล็อคการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรม สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ด้านเอกชนเสนอ นักวิจัยควรรู้จักตลาดก่อนสร้างผลงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ทั้งมหาวิทยาลัย หน่วยงานให้ทุนและภาคเอกชน ร่วมประชุม “การปลดล็อคการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์” เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการ สวทน. กล่าวถึงผลความก้าวหน้าและแนวคิดในการจัดทำมาตรการปลดล็อคการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ว่า ที่ผ่านมา สวทน. พยายามขับเคลื่อนเรื่องนี้ต่อเนื่องมาหลายปี บางเรื่องผลักดันไปแล้วอย่าง (ร่าง) พระราชบัญญัติการใช้ประโยชน์ผผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2561 บางเรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการ อย่างการพิสูจน์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนาไปใช้ประโยชน์ (Regulatory Sandbox) ผ่านการจัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติการพิสูจน์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. …. ซึ่งเป็นกรอบดำเนินงานหรือขอบเขตพื้นที่ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออนุญาตให้เกิดการทดสอบเทคโนโลยี นวัตกรรมหรือรูปแบบการกำกับดูแลแบบใหม่ ภายใต้ขอบเขตที่จำกัดเป็นการชั่วคราว เพื่อศึกษาผลกระทบ และแนวทางการออกกฎหมาย กฎระเบียบ การกำกับดูแลที่เหมาะสมสำหรับการบังคับใช้เป็นการทั่วไป โดยมีเป้าหมายให้ธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวอยู่ระหว่างการเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกจากนี้ ยังมีแนวทางในการสนับสนุนนวัตกรรมให้กับธุรกิจ SMEs และ Startup เพื่อพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมตามความต้องการภาครัฐ (Small Business Innovation Research & Small Business Technology Transfer) หรือ SBIR / STTR รวมถึงการสร้างศักยภาพให้หน่วยบริหารจัดการเทคโนโลยี (TLOs) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา การอนุญาตให้ใช้สิทธิกับบริษัทด้วย “ที่ผ่านมา สวทน. ได้มีมาตรการส่งเสริมด้านการนำงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ผ่านมาตรการการให้สิทธิทางภาษี ซึ่งก็ประสบความสำเร็จพอสมควร โดยเห็นได้จากการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาที่เติบโตขึ้น จากร้อยละ 0.25 ต่อจีดีพีของประเทศ เมื่อปี 2549 จนถึงร้อยละ 0.78 ในปี 2559 แต่นอกเหนือจากมาตรการทางภาษีที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาแล้ว เรายังต้องมีมาตรการด้านอื่นๆ ที่ดำเนินการควบคู่ไปด้วย เพื่อผลักดันให้เกิดการนำงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม และส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศได้” “สิ่งสำคัญคือระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการส่งเสริมให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ได้จริง ในฐานะหน่วยงานจัดทำนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงได้เชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ทั้งมหาวิทยาลัย หน่วยงานให้ทุนและภาคเอกชน มาช่วยระดมความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการประชุมครั้งนี้ โดยความเห็นที่ได้จากการประชุมทั้งหมด สวทน. จะนำไปวิเคราะห์และขับเคลื่อนให้เกิดความชัดเจนและใช้ได้จริงต่อไป” ดร.กิติพงค์ กล่าว ดร.กิติพงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หน่วยงานให้ทุน มหาวิทยาลัย และภาคเอกชน ได้ให้ความคิดเห็นที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปศึกษาเพื่อพัฒนาให้เกิดมาตรการส่งเสริมการนำงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ทั้งเรื่องทำอย่างไรให้งานวิจัยขายได้ ความพร้อมและขีดความสามารถของมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยและเอกชนที่พร้อมขับเคลื่อนให้เกิดมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ ซึ่งได้มีการระดมความคิดทั้งในส่วนปัจจัยที่จะปลดล็อกให้เกิดนำผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง เรื่อง Technology Transfers ที่จะสามารถทำให้การบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ยิ่งดีขึ้น รวมถึงการสร้างศักยภาพให้หน่วยบริหารจัดการเทคโนโลยี (TLOs) ว่า ไทยควรพัฒนาหรือส่งเสริมอย่างไรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ด้านผู้แทนจากมหาวิทยาลัย แลกเปลี่ยนว่า ผลงานวิจัยของไทยมีอยู่เยอะแต่ไม่ได้ออกสู่ตลาด เนื่องจากไม่รู้จักตลาด มองตลาดไม่เป็น ทำให้ผลงานไม่ถูกนำมาต่อยอด จึงอยากให้มีหน่วยงานกลางที่เป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดมาเป็นพี่เลี้ยง (mentors) ให้กับนักวิจัยในมหาวิทยาลัยที่ต้องการนำผลงานวิจัยออกสู่ตลาด ซึ่งเชื่อว่าหากมีการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยและที่ปรึกษาด้านการตลาด จะทำให้สามารถสร้างสตาร์ทอัพได้เพิ่มขึ้นจำนวนมาก สอดคล้องกับความเห็นของผู้แทนภาคเอกชน ที่เสนอในที่ประชุมว่า งานวิจัยแต่ละชิ้นควรมองถึงความต้องการของตลาดเป็นสำคัญ ต้องมีการทำแผนธุรกิจ และอยากให้มีการเปลี่ยนมุมมองว่าคุณค่าของงานวิจัยไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยีอย่างเดียว แต่อยู่ที่ความต้องการและขนาดของตลาดด้วย ถ้านักวิจัยรู้จักตลาด การที่จะทำให้งานวิจัยขายได้ก็จะเป็นเรื่องไม่ยาก Manager online 12.11.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร