Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

พิสูจน์ “โอมัวมัว” หินอวกาศ หรือ ยานอวกาศมนุษย์ต่างดาว?   

นักดาราศาสตร์ทั่วโลกมีคำถามมากมายว่าวัตถุที่เดินทางระหว่างดวงดาวที่มองเห็นเมื่อปีที่แล้ว ที่เรียกว่าโอมัวมัว (Oumuamua) เป็นวัตถุโบราณของมนุษย์ต่างดาวหรือเป็นยานอวกาศจริงๆ ที่ถูกส่งมาสอดแนมมนุษย์ โอมัวมัว เป็นภาษาฮาวายแปลว่า ลูกเสือ หรือ 'scout' โอมัวมัวเป็นวัตถุที่โคจรระหว่างดวงดาวชิ้นแรกที่เข้ามาในระบบสุริยจักรวาลที่โลกเราเป็นส่วนหนึ่ง นี่หมายความว่าวัตถุชิ้นนี้มาจากระบบสุริยจักรวาลอื่นอีกระบบหนึ่ง โอมัวมัวเดินทางระหว่างดาวพุธกับดวงอาทิตย์ในเดือนพฤศจิกายนปี 2017 ที่ผ่านมา หรือราวหนึ่งปีที่เเล้ว โอมัวมัวเดินทางรวดเร็วมากที่ประมาณ 136,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มิเชล เบนนิสเตอร์ (Michele Bannister) จาก Queen's College ใน Belfast กล่าวกับวีโอเอว่า นักวิทยาศาสตร์มีเวลาเพียง 3 สัปดาห์เท่านั้นในการศึกษาวัตถุชิ้นนี้ โอมัวมัวมีสีออกค่อนข้างแดงและมีความยาวประมาณ 400 เมตร อย่างไรก็ตาม ความยาวของวัตถุนี้มากถึง 10 เท่าเมื่อเทียบกับความกว้าง จึงมองดูเหมือนหยดน้ำเเข็งสกปรกขนาดยักษ์ที่เดินทางระหว่างดวงดาว โทมัส เซอร์บูเคน (Thomas Zurbuchen) แห่งองค์การสำรวจอวกาศเเห่งสหรัฐฯ หรือ นาซ่า กล่าวว่า นักดาราศาสตร์เชื่อในทฤษฎีที่ว่ามีวัตถุที่เดินทางระหว่างดวงดาวอยู่จริงในอวกาศมานานนับหลายสิบปีเเล้ว เเละมาถึงตอนนี้ การมองเห็นวัตถุดังกล่าวจริงๆ เป็นครั้งเเรก ถือเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าวัตถุเหล่านี้มีอยู่จริง เกิดคำถามว่าความคิดเกี่ยวกับมนุษย์ต่างดาวมาจากไหน อย่างไรก็ตาม โอมัวมัวมีลักษณะค่อนข้างแปลกตรงที่สามารถปรับความเร็วเเละทิศทางได้ขณะเดินทางผ่านกาเเลคซี่ ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นเรื่องเเปลกประหลาดมาก นอกเสียจากว่าจะเป็นจริงอย่างที่เบนนิสเตอร์บอกว่าหินอวกาศก้อนนี้อาจมีส่วนประกอบภายในเเบบเดียวกับดาวหางเเละหินอุกาบาตทั่วไป อาทิ คาร์บอนมอนนอดไซด์ หรือ ไซยาไนด์ และหากเป็นเช่นนั้นจริง เมื่อวัตถุนี้เดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ มันจะเริ่มอุ่นขึ้น เเก๊สเหล่านี้จะพุ่งตัวออกมาจากวัตถุด้วยความเร็วสูงเหมือนกับเครื่องบินเจ็ทตามกระบวนการปลดปล่อยแก็สจากภายใน เเละกระบวนการนี้ทำให้ก้อนหินอวกาศโอมัวมัวมีลักษณะของการเคลื่อนที่ราวกับว่าบังคับตัวเองได้ แม้คำอธิบายลักษณะการเคลื่อนที่ของโอมัวมัวของนาซ่านี้อาจฟังดูเเล้ว สมบูรณ์แบบ แต่สองนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ชูแอล ไบลี่ย์ (Shmuel Bialy) กับ แอบบราเเฮม โลบ (Abraham Loeb) ยังต้องการอธิบายความเป็นไปได้อีกหลายอย่างเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของก้อนหินอวกาศโอมัวมัว รวมทั้งความคิดที่ว่าก้อนหินอวกาศที่เดินทางระหว่างดวงดาวก้อนนี้ เป็นเรือใบเเรงดันเเสงอาทิตย์ที่ใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์ในการส่งยานผ่านอวกาศ นักวิจัย ไบลีย์ กับ โลบ ยังเสนอความคิดอีกอย่างหนึ่งที่เป็นไปได้ว่า โอมัวมัว อาจเป็นยานอวกาศที่ทำงานเต็มรูปแบบที่ถูกส่งอย่างจงใจมายังบริเวณใกล้กับโลกโดยมนุษย์ต่างดาว อย่างไรก็ตาม เราต้องตระหนักว่าผลการวิจัยชิ้นนี้ยังไม่ได้รับการตรวจทานชิ้นงานโดยผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทุกชิ้นต้องผ่านก่อนการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ เบนนิสเตอร์ กล่าวว่า กาเเลคซี่เต็มไปด้วยก้อนหินอวกาศนับล้านล้านชิ้น ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันตั้งเเต่ขนาดเท่าตึกสูงระฟ้าจนถึงขนาดเท่ากับดาวเคราะห์ เเละวัตถุเหล่านี้น่าจะเดินทางไปทั่วกาเเลคซี่ เเละหากโชคดี นักดาราศาสตร์น่าจะมองเห็นวัตถุชนิดนี้อีกอย่างน้อยปีละครั้ง นี่พูดได้ว่าโลกเรามีผู้มาเยือนจากต่างดาวก็ว่าได้ แม้ว่าจะเป็นเพียงก้อนหินอวกาศที่เดินทางผ่านมาเเล้วผ่านไปเท่านั้น ซึ่งสร้างความตื่นเต้นเเม้ว่าจะยังไร้เงาของมนุษย์ต่างดาวก็ตาม Voice of America 13.11.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร