Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

กัญชาทางการแพทย์ต้องสมประโยชน์ทุกฝ่าย  

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาวิชาการ เรื่อง การใช้กัญชาทางการแพทย์ ประสบการณ์ของประเทศออสเตรเลีย แคนาดา และเนเธอร์แลนด์ พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ตำรับแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้นำกัญชามาใช้รักษาโรคและใช้ในชีวิตประจำวันมานานแล้ว แต่ด้วยเหตุที่กัญชามีผลต่อจิตประสาท ทำให้กัญชาต้องควบคุมและกำหนดเป็นพืชเสพติดและยาเสพติด ผู้ผลิต ครอบครอง และใช้มีความผิดทางอาญา ปัจจุบันยอมรับว่ากฎหมายยาเสพติดที่กระจายอยู่ในกฎหมาย 7 ฉบับ ไม่ทันสมัย ไม่เป็นที่ยอมรับ และจำเป็นต้องปรับปรุง กระทรวงยุติธรรม สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ร่วมกันยกร่างกฎหมายยาเสพติด 2 ฉบับ เพื่อให้ผู้ป่วยเป็นผู้เสพต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างครอบคลุม โดยสถิติในปี 60 พบว่า ประชากรเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 1.3 ล้านคน ขณะที่ศักยภาพในการบำบัดรักษามีเพียง 2.5 - 3.0 แสนคนต่อปี ส่วนที่เหลือต้องไปบำบัดรักษาตัวเอง และพบว่ากัญชามีสัดส่วนการเสพเพียง 5 - 10% การนำมาใช้ประโยชน์จึงมีโอกาสสูงกว่ายาเสพติดประเภทอื่น แต่ต้องไม่ขัดกับข้อตกลงระหว่างประเทศ และพันธสัญญาที่ไทยทำกับ UNODC ซึ่งหลักการ คือ ไม่ทำให้ยาเสพติดผิดกฎหมายกลายเป็นสิ่งถูกกฎหมาย แค่ยินยอมให้ดำเนินการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ภายใต้ข้อกำหนด ไม่ใช่เปิดเสรี มีการควบคุมตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ การปลูก ผลิต ควบคุมปริมาณ พล.อ.อ.ประจิน กล่าวอีกว่า แม้เราจะมีความรู้และการวิจัยเกี่ยวกับกัญชา แต่สิ่งที่ต่างประเทศวิจัยไว้ก่อนหน้า ทำให้เขามีสูตรยาและสิทธิบัตร เขาคงไม่ให้เราทั้งหมด ประเด็นคือจะทำอย่างไรที่จะนำสูตรยาของต่างประเทศมารวมกับภูมิปัญญา และเพื่อไม่ให้การวิจัยกัญชาในไทยติดขัดด้วยข้อกฎหมาย รัฐบาลได้เร่งรัดเต็มที่ คาดว่าไม่เกิน 60 วัน หรือปลายเดือน ธ.ค. นี้ กฎหมายเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์จะมีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ นายกฯ ได้อนุมัติตั้งอนุกรรมการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชาทางการแพทย์ 2 ชุด ให้ทำงานคู่ขนานกัน ชุดแรก จะดูแลการศึกษาวิจัย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพ ชุดที่ 2 ดูแลเรื่องกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบ คาดว่าสัปดาห์หน้าจะเสนอชื่อกรรมการให้ ครม. อนุมัติ จากนั้นจะเดินหน้าทุกเรื่องโดยไม่รอให้กฎหมายแล้วเสร็จ โดยประเด็นสิทธิบัตรยาจะต้องหารือร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว ไม่เกิน 2 สัปดาห์ หลักการคือ ต้องการให้ประเทศและคนไทยได้ประโยชน์ 100% แต่ถ้ามีข้อจำกัดเรื่องสูตรยาอาจให้ต่างชาติเข้ามาร่วมในรูปแบบของการร่วมทุนหรือหุ้นส่วน โดยไม่ให้ต่างชาติได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว รองนายกฯ กล่าวต่อว่า สำหรับการอนุมัติปลูก รัฐบาลยืนยันว่าไม่ได้เอื้อประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่โดยละเลยกลุ่มเกษตร แผนการดำเนินงานที่เตรียมไว้คือ เปิดให้เกษตรกรรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือวิสาหกิจชุมชน ปลูกเป็นเป็นแปลงใหญ่ มีโรงเรือนที่เหมาะสม ควบคุมอุณหภูมิ เมล็ดพันธุ์ น้ำ ดิน และความชื้น ขณะนี้ได้จัดหาอาสาสมัครและทีมวิจัยออกแบบโรงเรือนต้นแบบราคาถูกให้กับเกษตรกร คล้ายกับโรงเรือนพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้ผลิตกล้วยตาก หรือโรงเรือนปลูกพืชปลอดสารพิษและป้องกันแมลง เพราะการลงทุนสร้างโรงเรือน 100 ล้านบาท ไม่คุ้มทุนสำหรับเกษตรกรแน่นอน การผลิตเพื่อส่งออกจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับเกษตรกรไทย แต่ต้องเกิดขึ้นเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม คือ มีมาตรการควบคุมที่ชัดเจนไม่ให้กัญชาในระบบหลุดออกไปใต้ดิน และไม่ให้กัญชานอกระบบถูกนำเข้ามาสกัดเป็นยา ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเริ่มดำเนินการได้ช่วงกลางปี 62 "เราขอพูดให้เข้าใจง่ายๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสบายใจและกลับมาสนับสนุน ไม่สงสัยว่าเรากำลังตัดสินใจในสิ่งที่ผิด ขอให้มั่นในว่าสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่นั้น คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศและคนไทยเป็นลำดับแรก สิ่งที่จะออกมาต้องสมประโยชน์ทุกฝ่าย" พล.อ.อ.ประจิน กล่าว พล.อ.อ.ประจิน กล่าวถึงการนำกัญชาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ว่า จะเป็นในรูปแบบ 3 ประสาน รัฐบาลไม่ได้มองไปที่แพทย์แผนปัจจุบันอย่างเดียว ยังมีการระดมความรู้จากแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ที่นำพืชเสพติดมาเป็นสมุนไพรทำอาหารเสริมและยารักษาโรค แต่อยากให้รวมตัวเป็นกลุ่มวิสาหกิจเพื่อควบคุมได้อย่างเป็นระบบ ยกตัวอย่างจากรงพยาบาลอภัยภูเบศร ที่สกัดสมุนไพรมาเป็นยารักษาโรคและอาหารเสริมที่มีมาตรฐานรับรอง ทั้งนี้ ภายหลัง สนช. ผ่านร่างกฎหมายกัญชาทางการแพทย์ ยังต้องมีกฎหมายลูก อาจออกมาเป็นกฎกระทรวงหรือระเบียบ เพื่อควบคุมการกำหนดพื้นที่ปลูก การผลิต และการส่งยาไปให้ถึงมือผู้ป่วย ควบคุมปริมาณการใช้ให้ชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนกัญชาจากยาเสพติดประเภท 5 มาเป็นประเภท 2 และยืนยันไม่ปลดกัญชาพ้นจากบัญชียาเสพติด กัญชายังเป็นพืชเสพติดผิดกฎหมาย แค่ผ่อนปรนเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ส่วนข้อเรียกร้องให้ผู้ป่วยสามารถปลูกกัญชาในกระถางเพื่อนำมาใช้บำบัดรักษาตัวเองนั้น ยังทำไม่ได้ เพราะกัญชาที่ปลูกเองไม่ผ่านการทดลองทางคลินิก ไม่มีผู้ควบคุมว่าใช้แล้วจะไม่เกิดอาการโอเวอร์โดสและผลข้างเคียง และไม่ทราบว่าสารที่สกัดได้มีคุณค่าทางการรักษาหรือไม่ และหากเกิดข้อผิดพลาดใครจะรับผิดชอบ Bangkokbiznews 22.11.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร