Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิจัย มช.พัฒนาโครงสร้างนาโนให้ได้แก๊สเซนเซอร์ต้นทุนต่ำ-ประหยัดหลังงาน  

ทีมวิจัยมช.เร่งพัฒนาต้นแบบแก๊สเซนเซอร์โดยพัฒนาโครงสร้างของวัสดุนาโนในรูปแบบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาปัจจัยทางเซนเซอร์ให้การตรวจจับแก๊สเชิงการประยุกต์มีประสิทธิภาพและมีความจำเพาะสูง ภายใต้การสนับสนุนของ สกว. และทีมวิจัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันมีการพัฒนาแก๊สเซนเซอร์ให้ใช้งานได้หลากหลาย เพื่อประโยชน์ทั้งด้านอุตสาหกรรม สังคม สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และอื่นๆ ผศ.ดร.ชัยกานต์ เลียวหิรัญ เมธีวิจัย สกว. สังกัดภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าห้องปฏิบัติการเซนเซอร์เคมี ได้ศึกษาถึงกลไกการทำงานเชิงลึกในส่วนสมบัติของการตรวจจับแก๊สหลายรูปแบบด้วยลักษณะของการเปลี่ยนแปลงสมบัติเชิงไฟฟ้า โดยอาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการคิดค้นวัสดุนาโนโลหะออกไซด์ และระบบการเจือวัสดุด้วยโลหะตัวเร่งปฏิกิริยาหลายชนิด ด้วยกระบวนการสังเคราะห์โดยเทคนิคเฟลมสเปรย์ไพโรลิซิส ซึ่งมีความเร็วสูงมากในการสังเคราะห์วัสดุโครงสร้างระดับนาโนภายในเวลา 10 นาที ผศ.ดร.ชัยกานต์ ยังพัฒนาวัสดุผสมระดับนาโนชนิดใหม่ที่เน้นรูปแบบการสังเคราะห์ ระบบการวิเคราะห์สมบัติเชิงวัสดุทั้งทางด้านกายภาพและเชิงเคมี เช่น การวิเคราะห์ด้วยเทคนิครังสีเอกซ์ การวิเคราะห์เชิงพื้นผิววัสดุ และการดูดซับแก๊ส การวิเคราะห์สัณฐานวิทยาโครงสร้างวัสดุด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน และการวิเคราะห์สมบัติเชิงแสง ซึ่งนำไปสู่งานวิจัยเชิงการประยุกต์ใช้ ด้วยประสิทธิภาพของแก๊สเซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับแก๊สหรือไอทางเคมีได้หลากหลายประเภทกว่า 10 ปี ผศ.ดร.ชัยกานต์ ได้สร้างงานวิจัยเฉพาะทางที่มีคุณภาพสูงด้านแก๊สเซนเซอร์มาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักวิจัยได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ TRF-CHE Scopus Young Researcher Awards สาขาฟิสิกส์ จาก สกว. “งานวิจัยที่เราได้ทำมาจนถึงปัจจุบัน มีการนำผลงานวิจัยที่มีความโดดเด่นมาต่อยอด ด้วยการพัฒนาเซนเซอร์ที่สามารถการตรวจจับแก๊สได้อย่างจำเพาะภายใต้อุณหภูมิที่เหมาะสมจนถึงอุณหภูมิห้อง โดยแสดงค่าสภาพความไวต่อการตรวจจับแก๊สได้สูงและรวดเร็วมาก ซึ่งมีความน่าสนใจต่อการทำต้นแบบแก๊สเซนเซอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ยังสามารถแสดงประสิทธิภาพการทำงานได้ดี สู่การใช้ได้จริงในกลุ่มเป้าหมาย เหมาะแก่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ ด้วยความร่วมมือด้านงานวิจัยอย่างเข้มแข็งกับศูนย์นาโนอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.” ล่าสุดนักวิจัยและคณะยังได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยต่อเนื่องจากฝ่ายวิชาการ สกว. เพื่อทำต้นแบบแก๊สเซนเซอร์โดยพัฒนาโครงสร้างของวัสดุนาโนในรูปแบบโครงสร้างเพอร์รอฟสไกต์เชิงซ้อนเสริมฟังก์ชันด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาที่ถูกสังเคราะห์ด้วยเทคนิคเฟลมสเปรย์ไพโรลิซิสภายในขั้นตอนเดียว ซึ่งถือเป็นจุดเด่นสำคัญในการควบคุมโครงสร้างเชิงวัสดุนาโนที่ถูกสังเคราะห์ด้วยเทคนิคนี้ภายในขั้นตอนเดียว ช่วยลดระยะเวลาในการควบคุมการเกิดโครงสร้างเพอร์รอฟสไกต์เชิงซ้อนได้อย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการอื่น โครงสร้างดังกล่าวจะถูกนำไปพัฒนาประสิทธิภาพในการตรวจจับแก๊สเชิงการประยุกต์ เพื่อแก้ไขปัญหาปัจจัยทางเซนเซอร์ เช่น ความเสถียรภาพ การถูกทดสอบซ้ำได้ รวมถึงความคงตัวในการทำงานของเซนเซอร์ให้มีค่าที่สูงมากขึ้นและเชื่อถือได้ ขณะนี้คณะวิจัยได้พัฒนาต้นแบบเซนเซอร์ประหยัดพลังงานและต้นทุนต่ำร่วมกับ สวทช. ที่ได้ประดิษฐ์ชิพเซนเซอร์ขนาดเล็กภายใต้ชื่อ GASSET เพื่อรองรับการทำงานของวัสดุนาโนประสิทธิภาพสูงต่อการตรวจจับแก๊ส ซึ่งถูกสังเคราะห์ได้จากงานวิจัยยังห้องปฏิบัติการเซนเซอร์เคมี เพื่อทดสอบการนำไปใช้ได้จริงในกลุ่มเป้าหมาย โดยพัฒนาต้นแบบไฮโดรเจนซัลไฟล์แก๊สเซนเซอร์ เอทานอลแก๊สเซนเซอร์ ด้วยวัสดุเซนเซอร์เชิงซ้อนฐานดีบุกออกไซด์ที่ถูกเสริมด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาชั้นดีอย่างจำเพาะ อีกทั้งยังพัฒนาแก๊สเซนเซอร์ฐานโครงสร้างเพอร์รอฟสไกต์เชิงซ้อนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้เซนเซอร์ที่มีประสิทธิภาพและมีความจำเพาะสูงต่อไป “ด้วยการสนับสนุนทุนทำวิจัยจาก สกว. ส่งผลให้เกิดผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ เกิดการพัฒนาองค์ความรู้เชิงบูรณาการแขนงใหม่ นอกจากนี้นักวิจัยยังได้สร้างความร่วมมืองานวิจัยด้านแก๊สเซนเซอร์กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มีชื่อเสียงระดับสากลด้านแก๊สเซนเซอร์ ทั้งประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น อิตาลี และเยอรมนี ซึ่งเป็นผลพลอยได้ต่อการสร้างวิสัยทัศน์สำหรับงานวิจัยด้านแก๊สเซนเซอร์ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์และเชิงสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป” ผศ.ดร.ชัยกานต์กล่าวสรุป Manager online 28.11.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร