Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ทีมวิจัยจีนเพาะ “ลูกหนู” จากพ่อแม่เพศเดียวกัน  

ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์จีน ทดลองใช้กระบวนการสลับซับซ้อน ทั้งเทคโนโลยี เอ็มไบรโอนิค สเต็มเซลล์Ž และการตัดแต่งหน่วยพันธุกรรมหรือ ยีน เอดิทติงŽ ในการสร้างลูกหนูขึ้นมาจาก พ่อแม่ที่มีเพศเดียวกัน โดยลูกหนูที่เกิดจากพ่อ-แม่ที่เป็นเพศผู้เหมือนกัน มีชีวิตอยู่ได้เพียง 48 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ลูกหนูที่เกิดจากพ่อ-แม่ที่เป็นเพศเมียเหมือนกันสามารถรอดชีวิตได้จนเติบใหญ่และสามารถมีลูกของตัวเองได้ด้วยการผสมพันธุ์กับหนูตัวผู้ตามปกติ ผลงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ สเต็มเซลส์ ดังกล่าวนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเพื่อหาคำตอบให้คำถามสำคัญเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของมนุษย์ว่า ทำไมคนเราถึงต้องมีพ่อ-แม่ ที่มีเพศสภาพแตกต่างกัน พาร์เธโนเจเนซิสŽ หรือการขยายพันธุ์โดยไม่ผ่านกระบวนการผสมระหว่างอสุจิ กับไข่ สามารถเกิดขึ้นได้ในสัตว์บางประเภท อาทิ ปลาบางชนิด, แมลง, และแม้กระทั่งในสัตว์เลื้อยคลาน อาทิ ที่เคยพบในมังกร โคโดโม เป็นต้น แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หนูและมนุษย์เรา ธรรมชาติกำหนดให้จำเป็นต้องมีพ่อและแม่ที่มีสภาพทางชีววิทยาทางเพศแตกต่างกันจึงสามารถมีลูกอ่อนได้ และจำเป็นต้องมีกระบวนการให้ไข่ได้รับการผสมจากอสุจิเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบด้วยการทดลองและวิจัยมามากมายเพื่อหาคำตอบว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น โดยเฉพาะในการทดลองกับหนูทดลอง ริชาร์ด เบห์ริงเกอร์ นักพันธุวิทยาจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐอเมริกา (ซึ่งไม่เกี่ยวข้องการทดลองนี้) อธิบายเอาไว้ว่า การได้รับข้อมูลทางพันธุกรรมจากพ่อและแม่ถือเป็นความได้เปรียบอย่างหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เนื่องจากตัวอ่อนสามารถผสมผสานความหลากหลายจากพันธุกรรม 2 ชุดเข้าด้วยกันแล้วสามารถกำหนดการจัดเรียงเสียใหม่ (รีคอนฟิเกอเรชัน) แต่ก็มีข้อด้อยอยู่ในตัวเช่นกัน นั่นคือการมีลูกเพื่อสืบต่อสายพันธุ์จำเป็นต้องมีสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ที่มีเพศสภาพตรงกันข้ามกันคู่หนึ่งกระบวนการดังกล่าวจึงเป็นไปได้ แต่นักวิทยาศาสตร์เองไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งมนุษย์วิวัฒนาการมาเช่นนั้น แม้จะบอกได้ว่าเป็นเพราะมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหลาย ต้องการŽ ข้อมูลทางพันธุกรรมจากพ่อและแม่เท่านั้นจึงเติบโตได้ เมื่อปี 2004 ทีมนักวิจัยชาวญี่ปุ่นเป็นทีมแรกที่สามารถสร้างหนูทดลองที่ถูกปรับแต่งทางพันธุกรรมจากหนูเพศเมีย 2 ตัว ลูกหนูที่ได้เติบโตจนเต็มวัยและสามารถมีลูกในเวลาต่อมาได้ ทีมวิจัยญี่ปุ่นประสบผลสำเร็จด้วยการปรับเปลี่ยนยีน (หน่วยกำหนดคุณลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอ) ซึ่งเป็นยีนที่ทำหน้าที่จำเพาะที่สำคัญอย่างยิ่งที่เรียกว่ากระบวนการ อิมพรินติงŽ กลุ่มหนึ่ง อิมพรินติงŽ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ข้อมูลทางพันธุกรรมจากหนูเพศผู้ 2 ตัว หรือเพศเมีย 2 ตัว ไม่สามารถรวมกันเพื่อสร้างลูกหนูได้ถ้าไม่มีกระบวนการปรับแต่ง ทั้งนี้ แม้ว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพศผู้และเพศเมียจะมีโครโมโซม (หน่วยพันธุกรรมที่ใหญ่ที่สุด เป็นที่อยู่ของดีเอ็นเอและยีน) จำนวนเท่ากันก็ตาม แต่โครโมโซมจำเป็นต้องจับคู่เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมได้ เหมือน 2 ด้านของซิปที่สามารถรูดเข้าหากันได้สนิทเท่านั้นจึงทำให้ดีเอ็นเอสามารถสร้างโปรตีนที่ทำให้การมีชีวิตและการเติบโตเป็นไปได้ แต่พันธุกรรมของเพศเมียและเพศผู้แตกต่างกัน ยีนบางตัวที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน หรือทารก ถูก เปิดŽ ให้ทำงานในเพศเมียหรือ ปิดŽ การทำงานในเพศผู้ซึ่งทำให้จำเป็นต้องมีข้อมูลทางพันธุกรรมครึ่งหนึ่งจากเพศเมีย กับอีกครึ่งหนึ่งจากเพศผู้สำหรับการ อิมพรินติงŽ ที่จำเป็นต่อการทำให้พัฒนาการของตัวอ่อนในตอนแรกเริ่มทำงานได้ ส่วนการแยกเพศนั้นเกิดขึ้นในตอนหลังเท่านั้น งานวิจัยในช่วงทศวรรษ 1980 แสดงให้เห็นว่า โครโมโซมของเพศผู้และเพศเมียนั้นมีลักษณะ อสมมาตรŽ กล่าวคือ มีความต่างกันออกไป ดังนั้นเราจึงไม่สามารถใช้ชุดดีเอ็นเอ 2 ชุดจากเพศเมียด้วยกัน หรือ 2 ชุดจากเพศผู้ด้วยกัน เพื่อสร้างสิ่งที่จำเป็นต่อการเติบโตของตัวอ่อนได้ เพราะแม้จะมีข้อมูลทางพันธุกรรมเช่นกัน แต่มียีนที่ถูกปิดการทำงานแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเพศของพ่อแม่ ซึ่งทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า เจเนติค คอนฟลิคท์Ž หรือความขัดแย้งเชิงพันธุกรรมขึ้น ข้อมูลทางพันธุกรรม 2 ชุดจำเป็นต้องมีการเปิดทำงานยีนที่จำเป็นทั้งหมดในตัวอ่อน นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ตัวอ่อนหนูที่เกิดจากเพศเมีย 2 ตัวโดยที่ไม่มีการปรับแต่งพันธุกรรม สามารถเจริญเติบโตได้เพียง 10 วัน พัฒนาขึ้นได้เล็กน้อยแต่ล้มเหลวในที่สุด ในการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นที่สร้างลูกหนูจากหนูเพศเมียคู่หนึ่งนั้น ใช้วิธีการปรับแต่งยีนที่ทำหน้าที่อิมพรินติง ที่สำคัญ 2 ตัวให้เปิดทำงาน เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นเสมือนข้อมูลพันธุกรรมจากเพศชาย ในการวิจัยต่อๆ มามีการใช้วิธีเดียวกันกับหนูเพศผู้คู่หนึ่งอีกหลายครั้งแต่ล้มเหลว ทีมวิจัยของจีนใช้กรรมวิธีที่แตกต่างกันออกไป โดยการใช้สเต็มเซลล์ตัวอ่อน (เอ็มไบรโอนิค สเต็มเซลล์) ที่มีโครโมโซมชุดเดียวมาจัดการแก้ไขพันธุกรรมโดยใช้กรรมวิธีตัดแต่งพันธุกรรม แต่แทนที่จะปิดการทำงานของยีนตามเพศเหมือนในกรณีของทีมวิจัยญี่ปุ่น ทีมวิจัยของจีนกลับใช้วิธีการ ลบŽ ยีนที่เปิดหรือปิดตามเพศดังกล่าวนั้นทิ้งไป ในกรณีที่จะใช้พ่อแม่เป็นเพศเมียอย่างเดียว ก็จัดการตัดยีน 3 ตัวทิ้งไป ในกรณีที่เป็นเพศผู้ทั้งคู่ ต้องตัดทิ้งถึง 7 ตัว หลังจากนั้นก็นำนิวเคลียสจากเซลล์ต้นกำเนิดเหล่านั้นไปฉีดลงในไข่ หรือสเปิร์ม เพาะเลี้ยงจนเติบโตเป็นหนูมีชีวิตจากพ่อแม่ที่เป็นเพศเดียวกัน เอ็มไบรโอนิค สเต็มเซลล์ ทำงานได้ผลในกรณีนี้ เพราะตัวอ่อนที่ได้มีข้อมูลทางพันธุกรรมที่จำเป็นต้องใช้ในการเติบโตเพียงครึ่งเดียว และข้อมูลทางพันธุกรรมดังกล่าวถูกจัดการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมด้วย ศาสตราจารย์เบห์ริงเกอร์ แสดงความชื่นชมต่อความสำเร็จครั้งนี้มาก เพราะแม้ว่าจะยังไม่สามารถไขปริศนาว่าด้วยสมดุลทางพันธุกรรมระหว่างเพศผู้และเพศเมียในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ แต่ก็ปูทางไปสู่ความสำเร็จในการประยุกต์ใช้หลายด้าน ทั้งในด้านการโคลนนิง และการขยายพันธุ์ปศุสัตว์ รวมทั้งการสร้างทายาททางชีวภาพที่แท้จริงจากมนุษย์เพศเดียวกันในอนาคตอีกด้วย prachachat online 24.10.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร