Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ชุดตรวจฟอร์มาลิน เทคโนฯจากแล็บสู่ห้าง  

ชุดตรวจฟอร์มาลินในอาหาร พกพาสะดวก ใช้งานง่ายและราคาถูก ผลงานวิจัยขานรับโครงการอาหารปลอดภัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ล่าสุด “ซีพี” ติดต่อขอรับการถ่ายเทคโนโลยี หวังนำไปตรวจสอบคุณภาพพักผลไม้จากซัพพลายเออร์ ทั้งนี้ การวิเคราะห์ตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารมีความจำเป็น ซึ่งในปัจจุบันมีหลายเทคนิคที่นิยมใช้ แต่พบว่ายังมีข้อจำกัดคือ ต้องใช้ปริมาณของสารตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณมากในบางเทคนิค อุปกรณ์มีราคาสูง ขั้นตอนซับซ้อน จำเป็นต้องมีผู้มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือและใช้เวลาในการวิเคราะห์นาน นักวิจัยจึงได้พัฒนาอุปกรณ์ตรวจที่บุคคลทั่วไปสามารถนำไปใช้ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีความชำนาญ อีกทั้งขนาดของอุปกรณ์นั้นมีขนาดเล็กสามารถพกพาไปใช้ตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ง่ายออกมานำเสนอเป็นทางเลือกในการทำให้ผู้บริโภคสามารถคัดสรรอาหารที่มีความปลอดภัยไปบริโภค แก้ปัญหาด้วยงานวิจัย รศ.อารีย์ ชูดำ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าวว่า ปัจจุบันมีการนำฟอร์มาลินมาใช้เพื่อการรักษาความสดของอาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ ในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะ จ.ภูเก็ต แหล่งอาหารทะเลและการท่องเที่ยว จึงได้พัฒนาชุดตรวจวัดฟอร์มาลินที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาใหม่ ทางทีมนักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ความรู้จากผลงานวิจัยสำหรับการตรวจปริมาณฟอร์มาลินในอาหารให้กับพื้นที่และชุมชน รวมทั้งนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ระบบตรวจปริมาณฟอร์มาลินในอาหารภาคสนามราคาประหยัด ให้กับผู้ประกอบการด้านโรงแรม ร้านอาหาร อุตสาหกรรมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับอาหารสด อาหารทะเล ผักและผลไม้ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และประชาชนในจังหวัดภูเก็ต เป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม สามารถใช้ระบบตรวจฟอร์มาลินในอาหารภาคสนามราคาประหยัดได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ทั้งนี้เพราะต้องการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแก่ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยว หลังจากนั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) สนใจติดต่อเข้ามา เพื่อนำวิธีการดังกล่าวไปใช้ตรวจสอบวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ที่ส่งเข้ามา ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาถึงรูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อไป เนื่องจากมหาวิทยาลัยไม่มีความสามารถที่ผลิตชุดตรวจได้ในจำนวนมาก คงต้องอาศัยโรงงานที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตเป็นผู้ดำเนินการต่อไป “อนาคตมีความเป็นไปได้ที่ผลิตชุดตรวจวัดฟอร์มาลินออกสู่เชิงพาณิชย์ ตามร้านค้า ร้านสะดวกซื้อเพื่อให้สามารถนำไปใช้ตรวจสอบ อาหารที่ซื้อมาว่ามีการปนเปื้อนฟอร์มาลินหรือไม่ เพื่อได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น” นอกจากนี้ ยังได้เตรียมพัฒนาชุดตรวจอาหารหลายชนิดมีสารเคมีอันตรายปนเปื้อนอยู่ เช่น ไนไตรท์ และไนเตรท หรือดินประสิว ที่นิยมใช้กันมากในการแปรรูปเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อหมัก เพื่อป้องกันการเน่าเสีย ช่วยให้เนื้อสัตว์มีสีแดง เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ที่มีปฏิกิริยาตอบสนองไวต่อสารนี้ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด ปวดศีรษะ ไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ จุดเด่นของชุดตรวจนี้ คือ ขนาดเล็กพกพาสะดวก ใช้งานง่าย ไม่ใช้สารเคมีในรูปของเหลว ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน มีประสิทธิภาพในการตรวจวัดสูง สามารถใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน เพื่อระบุปริมาณฟอร์มาลินได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น ใช้ปริมาณตัวอย่างน้อย ผลิตจากแผ่นฟิล์มธรรมชาติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีอายุการใช้งานนาน ชุดตรวจดังกล่าวเป็นชุดตรวจแบบวัดสี จะมีฟิล์มบางสีเหลืองอ่อนเคลือบไว้บนฝาหลอดพลาสติกขนาด 1.5 มิลลิเมตร ทำหน้าที่กักน้ำยาเคมีไว้เพื่อทำปฏิกิริยากับฟอร์มาลิน ฟิล์มบางที่เคลือบไว้นั้นสังเคราะห์มาจากแป้งมันสำปะหลัง สารอะซิติอะซิโตน สารแอมโมเนียอะซิติก กรดอะซิติก การใช้งานโดยการนำตัวอย่างน้ำที่แช่อาหารที่ต้องการทราบปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ เติมลงในหลอดพลาสติกและเขย่า สารเคมีที่ถูกกักเก็บอยู่ในโครงข่ายพอลิเมอร์ จะออกมาทำปฏิกิริยากับสารฟอร์มาลดีไฮด์ หากมีฟอร์มาลดีไฮด์ปนเปื้อนในระดับที่เป็นอันตราย หรือมากกว่า 2,500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม น้ำที่แช่อาหารจะเกิดเป็นสีเหลืองเข้ม หากไม่มีการปนเปื้อนจะไม่เกิดปฏิกิริยาทางเคมี จะไม่เกิดสีเหลือง หรือมีสีเหลืองออกมาเล็กน้อยแสดงว่า พบ100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม Bangkokbiznews 06.12.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร