Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เปิดตัว “ศูนย์วิจัยด้านดิน” แห่งแรกของโลก บนพื้นที่ 800 ไร่ อ.ปากช่อง  

ไทยเปิดตัวศูนย์ความเป็นเลิศศึกษาวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย บนพื้นที่ 800 ไร่ อ.ปากช่อง ในวันดินโลก 2561 ชี้ เป็นแห่งแรกของโลก หลังภาคีดินโลกหนุนให้จัดตั้งในไทย หวังส่งเสริมการจัดการดินยั่งยืน วิจัยแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านดิน วันนี้ (5 ธ.ค.) ที่พิพิธิภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี มีการจัดงาน วันดินโลก 2561 “น้อมนำศาสตร์พระราชา พัฒนาที่ดินอย่างยั่งยืน คืนชีวิตให้แก่ดิน คืนความสุขให้แก่เรา” ภายในงานมีการเสวนาวิชาการนานาชาติในหัวข้อ “ดินสุขภาพดี สู่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน” ดำเนินรายการโดย นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับผู้แทนด้านดินจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) และ ผู้แทนด้านดินจากประเทศต่างๆ นายระพีภัทร์ กล่าวว่า งานวันดินโลกปีนี้ มีความสำคัญยิ่ง เพราะประเทศไทยได้รับเกียรติจากประเทศสมาชิกภาคีดินโลก (Global Soil Partnership) ซึ่งประกอบไปด้วย หน่วยงานภาครัฐ ฝ่ายวิชาการ องค์กรเอ็นจีโอ หน่วยงานจากสหประชาชาติและผู้ให้ทุนจากนานาประเทศ รวมทั้งสมาชิก 24 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ให้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านการศึกษาวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย (CESRA) โดยกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นผู้ดูแลศูนย์ความเป็นเลิศดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ 800 ไร่ ที่อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา ศูนย์ความเป็นเลิศดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการดินอย่างยั่งยืน รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพควบคู่ไปกับศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับดินทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค “การจัดตั้งศูนย์วิจัยฯ ยังเป็นอีกหนึ่งแนวทางการจัดการดินซึ่งตรงกับหัวข้อ “ร่วมคิดร่วมทำแต่วันนี้ เพื่อปฐพีไร้มลพิษ” ของวันดินโลกประจำปีนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากภาคีประเทศสมาชิกสหประชาชาติ และ 24 ประเทศในเอเชียให้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย นับเป็นศูนย์วิจัยด้านดินแห่งแรกของโลก” นายระพีภัทร์ กล่าว นายโรนัลด์ วากัส ผู้เชี่ยวชาญด้านดินและที่ดินจากเอฟเอโอ ในฐานะเลขาธิการประเทศสมาชิกภาคีดินโลก กล่าวว่า จะมีการสรุปแนวทางการทำงานเพื่อเดินหน้ากิจกรรมของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชียอย่างเป็นทางการ ในเวทีประชุมสมัชชาภาคีดินแห่งภูมิภาคเอเชียในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2562 ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ต่อไป องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO และ องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ได้ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานวันดินโลก ในวันที่ 5 ธันวาคม เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชา และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาดิน สำหรับงานวันดินโลกปี 2561 ยังมีพิธีมอบรางวัล วันดินโลก (World Soil Day Award) ให้แก่ผู้ที่มีผลงานและกิจกรรมที่เป็นประจักษ์ในการส่งเสริมและสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพยากรดินเพื่อความมั่นคงอาหารโลกอย่างยั่งยืน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมผลักดันวันดินโลก ร่วมกับสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย และ FAO จนประสบความสำเร็จ นับเป็นปีแรกที่มีการมอบรางวัลดังกล่าว โดยผู้ได้รับรางวัล คือ องค์กร Practical Action จากบังกลาเทศ ซึ่งทำงานด้านการดูแลปัญหาดินเค็มในพื้นที่สูงและพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ประสบปัญหาดินเค็มและปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง องค์กรเอกชนดังกล่าวได้รับการคัดเลือกจากผู้เข้าชิงรางวัล 39 ราย รวมทั้งสองหน่วยงานประเทศไทย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการจัดนิทรรศการดินดี โดยใช้เทคโนโลยีการแสดงภาพ แสง สี เสียง เต็มรูปแบบ นำเสนอแนวคิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เผยแพร่ความรู้ทางด้านดินให้เห็นภาพอย่างชัดเจน และ ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม เขาชะงุ้ม จากการจัดงานวันดินโลกประจำปี 2560 ในหัวข้อ “รักษ์โลก เริ่มจากรักษ์ดิน สู่ความยั่งยืน” กิจกรรมประกอบด้วย การจัดนิทรรศการและการให้โซเชียลมีเดียเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม นายจง จิน คิม รองผู้แทนระหว่างประเทศ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) สำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กล่าวว่า หนึ่งในสามของดินทั่วโลกมีสภาพเสื่อมโทรม และที่เหลือกำลังเผชิญกับภาวะเสื่อมโทรมในระดับน่าตกใจ ปัญหามลภาวะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่กำลังคุมคามสภาวะดิน ขยะจำนวนมากที่มาจากการเติบโตของชุมชนเมือง ถูกนำไปทิ้งใต้ผืนดินโดยไม่ได้รับการจัดการรีไซเคิลอย่างเหมาะสม การป้องกันมลภาวะปนเปื้อนในผืนดินเป็นปัญหาหลักที่ทั่วโลกต้องรีบแก้ไข โดยให้การศึกษาและความตระหนักรู้เพื่อดินที่ดีและอาหารที่ปลอดภัยของประชากรโลก ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 15 และเป้าหมายที่ 2 รวมทั้งขจัดความหิวโหย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีทรงดำรงตำแหน่งทูตพิเศษผู้ขจัดความหิวโหยทั้งในไทยและภูมิภาค Manager online 05.12.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร