Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ก.วิทย์ลงพื้นที่ “บึงกาฬ – หนองคาย” ทำหมันแมลงวันผลไม้ 7 พันไร่  

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ ครม.สัญจร “บึงกาฬ – หนองคาย” จับมือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำหมันแมลงวันผลไม้ 7 พันไร่ ที่ ”หนองวัวซอ” จ.อุดรฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ส่งออกมะม่วงคุณภาพไปต่างประเทศ สั่ง สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ใช้ “รังสี” ควบคุมตั้งแต่ในแปลงปลูกไม่ให้กระทบการส่งออก พร้อมติดตามโครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรมที่วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู เตรียมสร้างให้ได้ 150 แห่งทั่วประเทศ เพื่อสร้างนวัตกร 15,000 คน เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) พร้อมผู้บริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)สัญจร จ.บึงกาฬ - หนองคาย เพื่อปฎิบัติราชการ โดยจุดแรกได้เดินทางไปยังวิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภู เพื่อเยี่ยมขม “โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เข้าไปดำเนินงาน เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทยทั้งระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาตามนโยบาย “วิทย์สร้างคน” รวมทั้งนำแนวคิดสะเต็มศึกษา ซึ่งประกอบด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสต์และคณิตศาสตร์ มาใช้ในการเสริมสร้างความเข้าใจของศาสตร์ต่างๆ ตลอดจนพัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้ศาสตร์สะเต็มศึกษาในการแก้ปัญหาจริงผ่านการเรียนรู้แบบผ่านการตั้งโจทย์และลงมือปฎิบัติจริง "โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรมเป็นสถานที่ฝึกการเรียนรู้ ทดลองและลงมือสร้างชิ้นงานต่างๆ อันจะนำไปสู่ความเขาใจในศาสตร์ต่างๆ และการสร้างนวัตกรรมต่อไป โดยโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม หรือ ห้องเรียนเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ตั้งเป้าจะสร้างให้ได้ 150 แห่งทั่วประเทศในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ทั่วประเทศ เพื่อสร้างนวัตกรให้ได้ 15,000 คน โดยโรงประลองฯ จะมีมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง 10 แห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เชียงใหม่, สงขลานครินทร์,บูรพา,ลาดกระบัง,พระจอมเกล้าพระนครเหนือ,พระจอมเกล้าธนบุรี จะสร้างรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่าง สวทช. มหาวิทยาลัย วิทยาลัยเทคนิค โรงเรียน ให้มีการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อขยายผลสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรในอนาคต ที่สำคัญโรงประลองฯ จะเกิดการสร้างงานใหม่ให้กับวิศวกรผู้ช่วย จำนวน150 คนเพื่อส่งไปประจำสถานศึกษาทั่วประเทศและจะกลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพทางเลือกใหม่ในอนาคตได้” ดร.สุวิทย์ กล่าว จากนั้น ดร.สุวิทย์ พร้อมคณะ ได้เดินทางไปลงพื้นที่ไปหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี และพบกับเกษตรกรผู้เพาะปลูกมะม่วงและผลไม้อื่น พร้อมรับฟังแนวทางการดำเนินการของเกษตรกรพร้อมปัญหาศัตรูพืชจากเกษตรกร จำนวน10 กลุ่ม กว่า 250 คน มีเกษตรกรเครือข่าย 450 หลังคาเรือน โดยพื้นที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ ประมาณ 7000 ไร่ เป็นมะม่วงน้ำดอกไม้ที่มีคุณภาพสำหรับการส่งออก ทั้งนี้ ในพื้นที่พบปัญหาแมลงวันทองหรือแมลงผลไม้ ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของผลไม้ในประเทศไทย นอกจาก หนอนแมลงวันผลไม้ที่ฟักตัวออกมาจะกัดกินภายในผลไม้ทำให้เน่าเสียแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาที่ต่างประเทศกีดกันไม่ให้นำผลไม้จากประเทศไทยผ่านเข้าประเทศปลายทางได้ ยกเว้นผลไม้ที่ผ่านการกำจัดแมลงทางกักกันพืช เช่น การอบไอน้ำ การฉายรังสี การรมด้วยสารเคมี หลังรับฟังปัญหา ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า ตนได้มอบให้สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(สทน.) เข้าไปทำหมันแมลงวันทองในพื้นที่ อ.หนองวัวซอ ให้เป็นพื้นที่นำร่องทำหมันด้วยรังสี ซึ่งเป็นวิธีการควบคุมแมลงเชิงรุกตั้งแต่ในแปลงปลูกที่ใช้ได้ผลในหลายประเทศและในประเทศไทยมีการนำเทคนิคนี้มาใช้ในหลายพื้นที่ โดยการปล่อยแมลงวันผลไม้สายพันธุ์หลังขาวที่เป็นหมันร่วมกับวิธีอื่น ในพื้นที่ควบคุมแมลงวันผลไม้ พบว่า จำนวนแมลงวันผลไม้สายพันธุ์ปกติจะลดลง 96.02% เพราะจำนวนดักแด้ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการควบคุมแมลงวัน และการใช้แมลงวันสายพันธุ์หลังขาวในการตรวจสอบติดตามประชากรแมลงวัน พบว่า มีความถูกต้องในการจำแนกแมลงที่เป็นหมันออกจากแมลงในธรรมชาติมากกว่า ใช้เวลา และต้นทุนวัสดุน้อยกว่า "วิธีการนี้ ใช้ได้ผลในหลายประเทศมาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา (ฟลอริดา) เม็กซิโก ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา เปรู ชิลี อิสราเอล และในประเทศไทยมีการนำเทคนิคนี้มาใช้ในหลายพื้นที่เช่นเดียวกัน ได้แก่ ดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่ อ.ปากช่อง จ.นครราช สีมา อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี อ.บ้านฉาง จ.ระยอง อ.สามเหล็ก จ.พิจิตร อ.ขลุง จ.จันทบุรี และ อ.ลอง จ.แพร่ พบว่าสามารถลดความเสียหายผลไม้ของเกษตรกรที่ถูกทำลายโดยแมลงวันผลไม้ ในธรรมชาติได้มาก โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะนำผู้ส่งออกผัก ผลไม้สดไปยังต่างประเทศ จัดทำเกษตรพันธะสัญญากับเกษตรกรผู้เพาะปลูกมะ ม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออกทันทีถ้าทำสำเร็จ" Manager online 13.12.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร