Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

แมลงสาบ = “อาหารแห่งอนาคต” นักกีฏวิทยา ชี้ “เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี”  

อาหารสุดแปลก! แหล่งโปรตีนชั้นเลิศเหมือนกับแมลงทั่วไป ไม่เป็นพาหะนำโรคเหมือนยุง ประเทศจีนยกเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ด้านนักวิจัยใช้เป็นส่วนผสมขนมปัง อ้างคุณค่าทางอาหารสูง และเชื่อว่าแมลงสาบสามารถพัฒนาเป็นอาหารสำหรับอนาคตได้เป็นอย่างดี เลือกให้ถูก “แมลงสาบเพาะเลี้ยง” - “แมลงสาบตามบ้าน” กรณีจีนทำฟาร์มแมลงสาบ อ้างว่าแมลงสาบมีประโยชน์ทางการแพทย์ แปรรูปแมลงสาบนำไปผสมยาแก้หวัด ยาแก้ปวดท้อง และยังเตรียมผลิตเป็นยาลดน้ำหนักกับยารักษาผมร่วงอีกด้วย โดย ผู้บริหารฟาร์มแมลงสาบ เผยว่า ในความเป็นจริงแล้ว ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของแมลงสาบล้วนมีประโยชน์ในทางการแพทย์ แต่ผู้คนส่วนใหญ่ไม่รู้ และมองข้ามแมลงที่น่าขยะแขยงชนิดนี้ ซึ่งบริษัทมีการแปรรูปแมลงสาบ นำไปผสมเป็นยาแก้หวัด รวมถึงยาแก้ปวดท้องหลายชนิด และขณะนี้ทีมนักวิจัยของบริษัทกำลังศึกษาเพื่อนำชิ้นส่วนของแมลงสาบไปผลิตเป็นยาเม็ดลดน้ำหนัก รวมถึงผลิตภัณฑ์แก้ปัญหาผมร่วงอีกด้วย เพื่อไขข้อสงสัยทีมข่าว MGR Live จึงติดต่อไปขอสัมภาษณ์ ดร.วิถี เหมือนวอน อาจารย์ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ในกลุ่มของแมลง ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวของเราว่า แมลงสาบถือเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ถ้าเลี้ยงดีๆ ก็ไม่ได้ต่างอะไรกับแมลงทั่วไป และแมลงสาบเองก็ไม่ได้มีพาหะนำโรคเหมือนกับแมลงชนิดอื่นๆ “ถ้าเลี้ยงให้สะอาดก็เหมือนตั๊กแตน เหมือนจิ้งหรีด ก็จะเป็นแหล่งโปรตีนได้ แต่ไขมันในตัวแมลงสาบก็จะมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ถ้าจะเอามากินจริงๆ ถ้าเทียบกับแมลงอื่นก็ไม่น่ากิน แต่ถ้าเป็นอาหารสัตว์ก็สามารถทำได้ เทียบปริมาณโปรตีนกับเนื้อสัตว์คือสูงมาก ถือเป็นแหล่งโปรตีนคือเป็นโปรตีนชั้นดี คุณค่าทางยา ทางอาหารบ้านเรายังไม่มีข้อมูลแน่ชัด แต่ทางจีนมีอยู่แล้ว มีการเพาะเลี้ยงเป็นเหมือนสัตว์เศรษฐกิจ เหมือนกับบ้านเราที่เลี้ยงจิ้งหรีดส่งขายออกนอกประเทศ จีนก็เช่นเดียวกันเขาก็ลี้ยงเป็นอาหาร เลี้ยงเป็นแหล่งโปรตีน คนเกลียดแมลงสาบเพราะตามแหล่งที่อยู่ บางทีอยู่ตามท่อระบายน้ำ อยู่ในที่ที่คนรังเกียจ ตัวก็อาจจะสกปรก คนจึงมองว่าน่ารังเกียจแต่ความจริงตัวของแมลงสาบสะอาด พฤติกรรมในการทำความสะอาดตัวของแมลงเองเขาก็มีในตัวอยู่แล้ว พูดง่ายๆ เหมือนกับคนหากไปอยู่ในแหล่งเชื้อโรคก็จะมีเชื้อโรคติดมาด้วย ส่วนจะสกัดแมลงสาบมาเป็นยาลดน้ำหนักและยาแก้ผมร่วงนั้น ก็ต้องมองว่ามีสารสำคัญอะไรหรือไม่ แต่เป็นแหล่งโปรตีน เป็นอาหารสัตว์ได้แน่นอน แต่ถ้าสรรพคุณทางยาอื่นๆ คงต้องศึกษาต่อไปหรือต้องมีการทำรายงานต่อไป” ดร.วิถี ยังท้ายอีกว่าแมลงสาบมีพฤติกรรมในการรักษาความสะอาดในตัวเองอยู่แล้ว แม้ว่าแหล่งที่อยู่อาจจะใกล้กับแหล่งเชื้อโรค แต่ถ้าเป็นเชื้อโรคจะเรียกว่าเชื้อโรคพาหะแบบกลไกล คือเชื้อโรคมันสามารถติดไปที่ตัวแมลงไม่ใช่เชื้อโรคที่มาจากแมลงโดยกำเนิด เนื่องจากแมลงสาบยังไม่มีรายงานว่า เป็นพาหะนำโรค แต่ถ้าเป็นพวกยุง พวกยุงลาย ยุงก้นปล่อง อันนี้นำไข้เลือดออก นำโรคมาลาเรีย ซึ่งเป็นแหล่งพาหะนำโรค แต่แมลงสาบไม่มีพาหะนำโรคเหมือนกับยุง ไม่ได้เป็นพาหะนำโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่ว่าอาจจะมีจุลินทรีย์ในลำไส้ อาจจะทำให้มีพายาธิได้ ไม่เพียงเท่านี้ ปิติ มงคลางกูร นักกีฏวิทยา สำนักโรคติดต่อกรมควบคุมโรค ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อถึงเรื่องนี้ว่า ต้องทำความเข้าใจว่า แมลงสาบบ้านกับแมลงสาบที่เพาะเลี้ยงเพื่อทดลองมีความแตกต่างกัน อีกทั้งแมลงสาบบางชนิดก็มีความปลอดภัยมากกว่า ในการนำแมลงสาบมารักษาอาการผมร่วงนั้น เชื่อว่าไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผมเป็นเรื่องของฮอร์โมนในร่างกาย ส่วนเรื่องของการลดความอ้วนก็อาจทำได้ “คล้ายกับการบริโภคแมลงอื่น เพื่อนำโปรตีนในแมลงมาทดแทน แต่จะสามารถลดความอ้วนได้หรือไม่ยังเคยเห็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ก็เหมือนกับประเทศที่ขาดแคลนอาหาร มีการบริโภคแมลงแทนการบริโภคเนื้อสัตว์ อย่างไรก็ตาม การบริโภคแมลงสาบบ้านหรือตามธรรมชาติ เสี่ยงได้รับอันตรายจากเชื้อโรคนานาชนิด และเป็นสิ่งไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะแมลงสาบบ้านเป็นสัตว์ที่กินไม่เลือก และมีเชื้อโรคอยู่ตามปีกและขา อาจทำให้ติดเชื้อได้” เปิดเมนู “แมลงสาบผสมยาจีน” ด้าน “หมอแล็บแพนด้า” ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อความถึงเรื่องนี้ว่า ในข่าวไม่ได้ลงรายละเอียดว่าเป็นแมลงสาบบ้าน หรือแมลงสาบพันธุ์ไหน แต่จากงานวิจัยที่ผ่านมา ยังไม่ได้มีสรรพคุณทางการแพทย์ขนาดนั้น โดยเฉพาะยาลดความอ้วน ซึ่งพูดบ่อยว่าไม่มีอะไรทำให้น้ำหนักเราลดได้ นอกจากออกกำลังกายและควบคุมอาหาร “ถ้าปรุงสุกจนเชื้อโรคตาย แมลงสาบบ้าน แมลงสาบท่อ จะมีกลิ่นฉุนอยู่ดี การที่เราค้นพบโปรตีนและสารอาหารต่างๆ ในแมลงสาบหรือแมลงต่างๆ ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะคนไทยกินประจำ แมลงกินได้ ได้แก่ แมลงกินูน แมลงกุดจี่ แมลงดานา ตัวอ่อนผึ้ง มดแดง ตัวอ่อนของต่อ จิ้งโกร่ง จิ้งหรีด ตั๊กแตน แมลงกระชอน แมลงเหนี่ยง แมลงตับเต่า แมลงมัน แมลงเม่า แมลงค่อมทอง หนอนและดักแด้ไหม แต่ละชนิดก็จะให้โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต แตกต่างกัน จากการศึกษาแมลง 38 ชนิด ของหมอแล็บแพนด้า นำเอามาวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ โดยคำนวณจากน้ำหนักแมลงสด 100 กรัม พบว่า ตั๊กแตนปาทังกาให้โปรตีนมากที่สุด 25.88 กรัม หนอนรถด่วนมีไขมันมากที่สุด 19.17 กรัม ตั๊กแตนหญ้าคาให้พลังงานมากที่สุด 237.26 กิโลแคลอรี หนอนนกมีแคลเซียมมากที่สุด 0.59 กรัม แมลงทับขาแดงมีฟอสฟอรัสมากที่สุด 0.34 กรัม นอกจากมีโปรตีนและไขมันแล้ว แมลงยังให้สารอาหารประเภท แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินบางชนิดอีกด้วย” นอกจากนี้ เว็บไซต์สมุนไพรจีนยังระบุว่า แมลงสาบใช้ผสมยาจีนได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะมูลเพื่อช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร หากผสมกับดอกไม้เงินดอกไม้ทองและชะเอมเทศจะช่วยขับพิษ ยาสมุนไพรบางชนิดใช้ส่วนผสมของแมลงสาบย่างทั้งตัว สรรพคุณแก้โรคตานขโมย พุงโลก้นปอด หรือนำไปย่างให้เกรียมแล้วป่นละเอียดจนเป็นผง ก่อนนำมาเป่าลงไปในคอแก้โรคลำคออักเสบหรือเป็นฝีในคอ โดยแมลงสาบ มีการเจริญเติบโต 3 ระยะ คือ ไข่, ตัวอ่อน, ตัวเต็มวัย ชอบวางไข่ตามซอกมุมหรือในดิน หรืออาจวางติดกับฝาผนังบ้าน เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ จำนวนไข่แต่ละกระเปาะไม่เท่ากัน ทั่วไปมีประมาณ 16-18 ฟอง ออกไข่ครั้งหนึ่งได้หลายชุดตั้งแต่ 10-90 ชุด เมื่อก่อนเคยมีนักวิทยาศาสตร์ชาวอินเดียได้วิจัยเรื่องแมลงสาบ และค้นพบผลึกโปรตีนที่มีคุณค่าสูงในแมลงสาบ แต่ไม่ใช่แมลงสาบบ้าน แต่เป็นแมลงสาบเต่าทองแปซิฟิก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diploptera punctata ออกลูกเป็นตัว พบว่า มีสารอาหารจำพวกโปรตีนสูง และมีไขมัน น้ำตาล สารอาหารอื่นๆ ไม่ใช่แมลงสาบตามท่อ ตามบ้านที่ออกลูกเป็นไข่ ซึ่งแมลงสาบเต่าทองแปซิฟิก เป็นแมลงสาบชนิดเดียวในโลกที่ออกลูกเป็นตัว และผลิตผลึกโปรตีนนี้เพื่อเลี้ยงตัวอ่อนขณะอยู่ในท้อง โดยจากการศึกษา พบว่า ผลึกโปรตีนชนิดนี้เป็นอาหารที่สมบูรณ์ ที่ประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน และน้ำตาล พร้อมด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยรวมแล้วนับว่ามีสารอาหารมากกว่านมวัวถึง 4 เท่า อีกทั้ง ในวารสารอินเตอร์เนชั่นแนล ยูเนียน ออฟ คริสตอลโล-กราฟี ยังระบุผลการค้นพบว่า นมแมลงสาบสามารถนำมาพัฒนาเป็นอาหารแห่งอนาคตของคนในสังคมโลกที่มีประชากรมากขึ้นเรื่อยๆ ได้ และยังมีนักวิจัยชาวบราซิล เอาแมลงสาบมาผสมในขนมปัง ปกติขนมปังจะมีโปรตีนไม่สูง แต่ถ้าผสมแมลงสาบเข้าไปจะมีโปรตีน 22.6 กรัม แต่ใช้ "แมลงสาบลอบสเตอร์" Nauphoeta cinerea ซึ่งเติบโตง่ายและเร็วในที่เลี้ยงแบบปิด ไม่ใช่แมลงสาบบ้านเช่นกัน แต่ไม่ใช่ว่าแมลงสาบบ้านจะไม่มีโปรตีน พวกแมลงมีโปรตีนอยู่แล้ว แต่คนไม่นิยมกินกัน เพราะเป็นแหล่งเชื้อโรค Manager online 13.12.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร