Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

กระดาษสา “ป่านศรนายรายณ์” ทางเลือกลดใช้พลาสติก  

จากเศษเส้นใย “ป่านศรนารายณ์” ที่หลงเหลือระหว่างการปั่นเพื่อเย็บถักเป็นกระเป๋า นักวิจัยด้านสิ่งทอได้ช่วยส่งเสริมให้ชาวบ้านนำไปผลิตต่อเป็น “กระดาษสา” เพื่อใช้ผลิตถุงกระดาษและบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าชุมชน และเป็นอีกทางเลือกเพื่อลดใช้ถุงพลาสติก ดร.เกษม มานะรุ่งวิทย์ จากคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เล่าให้ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ฟังว่า ได้เข้าไปช่วยชาวบ้านในหมู่บ้านหุบกระพง ต.เขาใหญ่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเส้นใยป่านศรนารายณ์ที่ชาวบ้านในชุมชนปลูกเป็นอาชีพ หนึ่งในการช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเส้นใยป่านศรนารายณ์คือ การส่งเสริมให้ชาวบ้านได้นำเศษเส้นใยป่าน (ที่หลงเหลือจากการปั่นเส้นใยเพื่อถักและตัดเย็บเป็นกระเป๋า) มาผลิตเป็นกระดาษสา เพื่อใช้ทำถุงกระดาษและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งนอกจากช่วยชาวบ้านลดค่าใช้จ่ายแล้ว ดร.เกษม ระบุว่ายังเป็นอีกวิธีในการลดใช้ถุงพลาสติก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ด้วย สำหรับงานหลักๆ ที่ ดร.เกษมและคณะเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มชาวบ้านหุบกระพงคือการออกแบบกระเป๋าให้ทันสมัย โดยได้ช่วยชาวบ้านออกแบบกระเป๋าจากป่านศรนารายณ์กว่า 60 แบบ และช่วยพัฒนาให้เส้นใยที่ได้นุ่มนวลขึ้น เพื่อยกระดับและราคาของผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านหุบกระพงในโครงการตามพระราชประสงค์ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ผลิตขึ้นมาจำหน่าย “ชาวบ้านที่หุบกระพงเขาปลูกป่านศรนารายณ์เพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพอยู่แล้ว และภายในหมู่บ้านก็มีกลุ่มที่รับเอาป่านนั้นมาผลิตเป็นกระเป๋าอีกที ใครถนัดด้านใดก็ทำในด้านนั้น ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้แก่คนทุกกลุ่มในชุมชน” ดร.เกษมระบุ และบอกว่าในเบื้องต้นผลิตกระดาษได้ 200 และตอนนี้ชาวบ้านกำลังรวมตัวเป็นกลุ่มผลิตกระดาษ สำหรับเส้นใยป่านศรนารายณ์นั้นมีความเหนียวและคงทนสูง ไม่ขาดง่าย นิยมใช้เป็นเชือกสมอเรือ และเมื่อโดนน้ำจะยิ่งเหนียวและแข็งแรง แต่กระดาษสาที่ได้จากป่านศรนารายณ์นั้นมีคุณสมบัติเหมือนกระดาษสาทั่วไป เนื่องจากใช้เส้นใยเส้นสั้นๆ ที่หลงเหลือจากการปั่นมาผลิตเป็นกระดาษสา ส่วนกระเป๋าที่กลุ่มชาวบ้านผลิตขึ้นนั้นมีเส้นใยที่สากมือ ดร.เกษมจึงได้พัฒนากระบวนการผลิตให้เส้นใยนุ่มขึ้น และย้อมด้วยสีธรรมชาติ ส่วนแบบกระเป๋าที่ทีมวิจัยออกแบบนั้น ได้มอบให้แก่กลุ่มผลิตกระเป๋าเพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย งานช่วยเหลือกลุ่มผลิตกระเป๋าจากป่านศรนารายณ์นี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อเข้าร่วมในโครงการความร่วมมือระหว่าง วช.และกองทัพบก ในการขยายองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาเชิงพื้นที่ในระดับชุมชนและพื้นที่ สู่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของกองทัพบก ทั้งนี้กองทัพบกมีศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอยู่ทั้ง 4 ภูมิภาค ทั้งหมด 46 ศูนย์ อยู่ในภาคเหนือ 15 ศูนย์, ภาคกลาง 10 ศูนย์, ภาคอีสาน 10 ศูนย์, ภาคใต้ 10 ศูนย์ และเพิ่งเพิ่มขึ้นใหม่อีก 1 ศูนย์ โดยกองทัพบกจะคัดเลือกศูนย์ที่มีความพร้อม เพื่อรับการถ่ายทอดงานวิจัยและนวัตกรรมต่อไป ด้าน ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการ วช.ระบุว่า เบื้องต้นในปี 2562 จะจับคู่งานวิจัยเข้ากับศูนย์การเรียนให้ได้ 20 ศูนย์ โดยจะเน้นงานวิจัยที่ช่วยเพิ่มสินค้าการเกษตร ซึ่งทางกองทัพมีข้อมูลอยู่แล้วว่าแต่ละพื้นที่มีจุดแข็งหรือปัญหาในเรื่องใด และความร่วมมือระหว่าง วช.และกองทัพบกนี้ จะทำให้การพิจารณาคัดเลือกงานวิจัยให้ตรงความต้องการชุมชนนั้น "ตัวอย่างบางชุมชนที่ผลิตกล้วยเหลือ เราก็จะนำงานวิจัยเรื่องการแปรรูปไปให้ ถ้าช่วงไหนที่มีผลผลิตล้นตลาด เราก็จะนำมาแปรรูป ซึ่งก็มีตัวอย่างงานวิจัยที่แปรรูปกล้วยให้เป็นแป้งที่สามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปี ช่วยให้เก็บผลผลิตไว้ได้นานขึ้น" ศ.นพ.สิริฤกษ์กล่าว Manager online 18.12.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร