Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

มธ.พัฒนายารักษาหอบหืดจาก “ไพล” เร่งวิจัยเฟส 3 ก่อนยื่น อย.ด้าน อภ.หนุน 10 ล้าน เชื่อ 2 ปี ผลิตเชิงพาณิชย์  

ทีมวิจัย ม.ธรรมศาสตร์ คิดค้นยารักษาอาการภูมิแพ้-หอบหืด จาก “ไพล” เดินหน้าวิจัยเข้าสู่ระยะ 3 ในกลุ่มคนไข้ ก่อนยื่นขึ้นทะเบียนกับ อย. เผยให้ผลดีลดอาการคัดจมูก ไอ จาม คันตา ผื่นแพ้ผิวหนัง หอบหืด ด้าน อภ. ให้ทุนหนุนกว่า 10 ล้านบาท ลุยขยายกำลังผลิตเป็นกึ่งอุตสาหกรรม เชื่อไม่เกิน 2 ปี ผลิตเชิงพาณิชย์ ส่งออกต่างประเทศ วันนี้ (18 ธ.ค.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) เพื่อต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมยาสมุนไพรชนิดแคปซูลที่ได้จาก “ไพล” ซึ่งมีสรรพคุณรักษาอาการโรคภูมิแพ้และหอบหืด โดย ศ.พญ.​อรพรรณ​ โพชนุกูล​ รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มธ. และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า นวัตกรรมยาสมุนไพรจาก “ไพล” เกิดขึ้นจากการพบผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และหอบหืดในประเทศไทยจำนวนมาก แต่ยาที่มีประสิทธิภาพกลับต้องนำเข้าจากต่างประเทศในราคาแพง ทีมวิจัย ม.ธรรมศาสตร์ จึงริเริ่มนำจุดเด่นของสมุนไพรไทยมาผลิต เพื่อให้คนไทยเข้าถึงยาในราคาถูกลง และพบว่า “ไพล” ซึ่งมีแหล่งปลูกในไทยเพียงประเทศเดียว มีคุณสมบัติลดอาการภูมิแพ้ได้ดี จึงคิดค้นร่วมกับนักวิจัยจากหลายสถาบันและโรงพยาบาล อาทิ โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลวชิระ รวมระยะเวลาการพัฒนายาสมุนไพรชนิดนี้ถึง 12 ปี ​“การลงนาม MOU ระหว่าง มธ. และ อภ. ครั้งนี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตยาสมุนไพรจากไพลให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น โดย อภ. มอบทุนสนับสนุนต่อยอดงานวิจัยจำนวนมากกว่า 10 ล้านบาท เพื่อดำเนิน 4 โครงการให้ครบสมบูรณ์ นำไปสู่การผลิตตัวยาที่คิดค้นโดยคนไทย เพื่อคนไทย รวมถึงคนทั่วโลก ได้ใช้ยาคุณภาพดี ราคาถูก จากสมุนไพรที่ทุกคนยอมรับ” ศ.พญ.อรพรรณ กล่าวและว่า ขณะนี้งานวิจัยยาสมุนไพรจากไพล ได้ก้าวเข้าสู่ระยะที่ 3 แล้ว โดยมีการทดลองในคนไข้กลุ่มใหญ่ประมาณ 400-500 คน เพื่อสร้างความมั่นใจและนำไปสู่การขึ้นทะเบียนกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต่อไป ซึ่งจากการทดสอบในเบื้องต้นได้ผลดีมากสามารถลดอาการภูมิแพ้ทั้งอาการคัดจมูก ไอจาม คันตา ผื่นแพ้ผิวหนัง และ หอบหืด นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผอ.อภ. กล่าวว่า จากนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการพัฒนาพืชสมุนไพรไทยให้เป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์สมุนไพร อภ. จึงได้กำหนดให้มียุทธศาสตร์ด้านสมุนไพร เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐโดยมุ่งเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สารสกัดสมุนไพรที่มีการควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานสากล มีผลการศึกษาวิจัยทางพรีคลินิกและทางคลินิกรองรับเพื่อยืนยันประสิทธิผลและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สมุนไพร สามารถมีข้อมูลขึ้นทะเบียนเป็นยาพัฒนาจากสมุนไพรแผนปัจจุบัน อีกทั้งยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้เป็นที่ยอมรับของบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป โดยองค์การเภสัชกรรมมีการพัฒนาและเตรียมความพร้อมตลอดเวลา ทั้งในด้านบุคลากร เทคโนโลยีการสกัดสารสำคัญจากสมุนไพร การควบคุมคุณภาพ ตลอดจนโรงงานผลิตยาได้การรับรองมาตรฐาน PIC/S GMP นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่า อภ. จะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยาแคปซูลสารสกัดไพลในการรักษาโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และโรคหอบหืด จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจะขยายกำลังการผลิตสู่ระดับกึ่งอุตสาหกรรมภายใต้มาตรฐานการผลิตที่ดี (GMP) เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาทางคลินิก โดยองค์การเภสัชกรรมพร้อมที่จะให้การสนับสนุนทุนการศึกษาวิจัยทางคลินิกแบบสหสถาบันให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และความร่วมมือในครั้งนี้จะสามารถพัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยให้สามารถขึ้นทะเบียนเป็นยาพัฒนาจากสมุนไพรแผนปัจจุบัน และผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของแพทย์และประชาชนทั่วไปในการรักษาโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และในอนาคตจะศึกษาวิจัยทางคลินิกเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคหอบหืดต่อไป “การร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายมุ่งหวังที่จะก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายและยกระดับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมีข้อมูลทางวิชาการรองรับทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิผลและความปลอดภัย ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศที่มีราคาสูงและประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาให้กับประเทศ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติต่อไป” ผอ.อภ. กล่าวและว่า ปัจจุบันการคิดค้นผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรที่ได้จากไพล มีการจดสิทธิบัตรยาเรียบร้อยแล้ว นับเป็นยาตัวแรกและตัวเดียวที่ใช้สมุนไพรเป็นตัวยาหลักไม่ใช่ตัวยาผสม โดยเชื่อว่า อีกไม่เกิน 2 ปีจะสามารถผลิตเชิงพาณิชย์ และส่งออกไปต่างประเทศในอนาคต Manager online 18.12.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร