Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สเต๊กเอ็มเทค วัสดุศาสตร์ตอบโจทย์สูงวัย  

“เนื้อสดเคี้ยวนุ่ม” องค์ความรู้จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์ ในการพัฒนาตัวปรับเนื้อสัมผัสอาหารโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สร้างโอกาสธุรกิจตอบเทรนด์สูงวัยและผู้ที่มีปัญหาการบดเคี้ยว ส่งต่อเอกชนศึกษาตลาดพรีเมียม พร้อมต่อยอดเมนูอาหารไทยบดเคี้ยวง่ายด้วยเหงือกหรือใช้ลิ้นกด (ระดับความนุ่ม 2 และ 3 ตามมาตรฐาน Universal Design Food ของญี่ปุ่น) รวมถึงสามารถคงรูปร่างได้เพื่อให้มีลักษณะปรากฏที่ดี กลุ่มลูกค้าหรือผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมายคือ อุตสาหกรรมอาหาร ทั้งคาดว่าจะช่วยส่งเสริมการลงทุนในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่า 1 ล้านบาท และสร้างส่วนแบ่งการตลาดของอาหารผู้สูงอายุ ที่ในอนาคตจะมีมูลค่าถึง 5,000 ล้านบาท ปรับเนื้อเพื่อสัมผัสนุ่ม อศิรา เฟื่องฟูชาติ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยโพลิเมอร์ กล่าวว่า ในสังคมยังมีกลุ่มคนที่ต้องการอาหารที่บดเคี้ยวง่าย ขณะที่เมนูอาหารบางอย่าง เช่น สเต๊ก แม้อยากกินแต่ก็ไม่สามารถกินได้เพราะเคี้ยวยาก จึงเป็นโจทย์ในการพัฒนาโซลูชั่นบางอย่างที่แก้ปัญหาให้คนกลุ่มนี้ ในชื่อโครงการวิจัย “ตัวปรับเนื้อสัมผัสอาหารสำหรับอาหารบดเคี้ยวง่ายประเภทเนื้อสัตว์” เป็นการพัฒนาตัวปรับเนื้อสัมผัสของอาหารด้วยศาสตร์ด้านรีโอโลยี ตอบเงื่อนไขหลักคือ ต้องน่ากิน มีรูปทรงเป็นชิ้นเนื้อสัตว์ แต่นุ่ม ใช้เวลาเคี้ยวไม่นาน ศาสตร์ด้านรีโอโลยีเป็นสาขาย่อยในวัสดุศาสตร์ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนรูปร่างและการไหลของวัสดุ มีความสำคัญอย่างมากในวิทยาการอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ความหยาบความละเอียด ความมัน ความฉ่ำ ความลื่น ความเปราะ ความนุ่มเหนียว ล้วนเป็นสมบัติทางรีโอโลยี ทั้งนี้ ในงานวิจัยมีการนำความรู้ด้านวัสดุศาสตร์มาเพื่อพัฒนาโครงสร้างสามมิติ ส่งผลให้ชิ้นเนื้อหมูสามารถคงรูปร่างได้ ตัดเป็นชิ้นได้ แต่มีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม สามารถกดให้เป็นชิ้นเล็กลงได้ด้วยเหงือกและลิ้น “เดิมการทำให้เนื้อนุ่มมีตั้งแต่การหมัก ต้ม ตุ๋น ปั่น ทำให้อาหารไม่น่ากิน รวมถึงให้ความรู้สึกไม่เหมือนมื้ออาหารเพราะไม่ได้อรรถรสในการเคี้ยว ซึ่งเอ็มเทคได้พัฒนาตัวปรับเนื้อสัมผัสอาหารสำหรับสเต๊กเนื้อนุ่มพร้อมอุ่นร้อน จากเนื้อหมูหรือเนื้อวัวบดหยาบ” นวัตกรรมนี้เป็นส่วนผสมที่ทำหน้าที่เป็นทั้งตัวยึดเกาะ ตัวปรับเนื้อสัมผัสและตัวทดแทนไขมันในคราวเดียวกัน เพื่อใช้กับสเต๊กเนื้อแบบบดหยาบที่มีปริมาณเนื้อสัตว์มากกว่า 70% ของน้ำหนัก และมีไขมันน้อยกว่า 5% ทำให้สเต๊กมีเนื้อสัมผัสคล้ายเนื้อชิ้นแต่นุ่มและบดเคี้ยวได้ง่ายกว่า ช่วยลดอุปสรรคในการบริโภคของผู้ที่มีปัญหาในการบดเคี้ยว เช่น ผู้ที่จัดฟัน ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพฟัน หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุที่มีจำนวนฟันเหลือมากกว่า 20 ซี่ ที่ยังพอเคี้ยวได้ เอ็มเทคได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัทเอกชน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งสำหรับบุคคลทั่วไปและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับผู้สูงอายุ โดยออกแบบให้เป็นลักษณะของเนื้อสดที่สามารถสไลด์บาง เนื่องจากพฤติกรรมคนไทยยังชอบทำอาหารเอง รวมถึงตอบความต้องการของแนวโน้มสังคมผู้สูงอายุในอนาคตอันใกล้ อีกทั้งขณะนี้ได้นำงานวิจัยไปศึกษาต่อยอดด้านการตลาดเพิ่ม 4 เมนูโชว์เคสนวัตกรรม หลังจากความสำเร็จในเบื้องต้น การใช้เทคโนโลยีโพลิเมอร์มาช่วยปรับโครงสร้างและคุณสมบัติของเนื้อ ก็ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย “นิสภา ศีตะปันย์” นักวิจัยห้องปฏิบัติการฟิสิกส์โพลิเมอร์ เอ็มเทค ใช้ฐานความรู้จากงานวิจัยข้างต้นพัฒนาเป็นต้นแบบอาหารพร้อมรับประทานที่ปรับเนื้อสัมผัสให้นุ่มเหมาะกับผู้สูงอายุที่มีฟันเหลือน้อยกว่า 20 ซี่ ซึ่งไม่สามารถเคี้ยวได้แล้ว อาศัยการใช้เหงือกบด หรือกินอาหารอ่อน อาหารเหลวที่ไม่ต้องเคี้ยว “อาหารประเภทนี้ ต้องการการปรับเนื้อสัมผัสให้ง่ายต่อการบดด้วยเหงือกหรือลิ้น และมีการทดสอบพัฒนาเป็นอาหารพร้อมรับประทานเมนูไทยๆ เหมาะกับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ หรือผู้มีปัญหาบดเคี้ยวที่จะได้รับประทานอาหารไทยที่คุ้นเคย แทนอาหารเหลว” ทั้งนี้ คั่วกลิ้ง ลาบหมู มัสมั่นหมูและหมูกระเทียม เป็น 4 เมนูต้นแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นโชว์เคสนวัตกรรมที่สามารถนำไปประกอบอาหารที่หลากหลาย ทำได้มากกว่าเมนูอาหารอ่อนหรืออาหารเหลวที่ปกติผู้สูงวัยจะต้องบริโภค โดยความแตกต่างจากเนื้อธรรมดาคือ ความนิ่มที่ต้องเบามือในการจัดเตรียมวัตถุดิบ และเวลาในการปรุงน้อยลง อาหารสุกเร็วขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ยังเกิดผลข้างเคียงในลักษณะของบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้สูงอายุ ที่กำลังแขนน้อยกว่าคนทั่วไป ทีมวิจัยได้ต่อยอดพัฒนาฟิล์มปิดหน้าถาดอาหารที่ลอกออกได้ง่ายและไม่เกิดฝ้า กลายเป็นนวัตกรรมแบบวันสต็อปเซอร์วิสสำหรับผู้ประกอบการที่มองหาโอกาสสำหรับตลาดใหม่ในอนาคต Bangkokbiznews 24.12.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร