Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ภูเขาไฟปะทุ ส่งผลต่อสภาพอากาศอย่างไร ?  

ช่วงปลายเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2018 นี้ มีข่าวภูเขาไฟปะทุใหญ่ๆ 2 แห่ง แห่งแรกคือ ภูเขาไฟอานัคกรากระตัว (Anak Krakatau) ที่อินโดนีเซีย ซึ่งเชื่อกันว่าการปะทุเมื่อวันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม ทำให้เกิดดินถล่ม ซึ่งส่งผลให้เกิดสึนามิมรณะ ดูภาพที่ 1 ครับ ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือ ภูเขาไฟเอ็ตนา (Mount Etna) ที่เกาะซิซิลี อิตาลี ซึ่งปะทุเมื่อวันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม ได้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างน้อย 130 ครั้ง โดยครั้งที่มีพลังมากที่สุดมีขนาด หรือแม็กนิจูด 4 แต่นอกจากแผ่นดินไหวและสึนามิแล้ว ภูเขาไปที่ปะทุขึ้นยังปลดปล่อยสสารในรูปแบบต่างๆ ออกมามากมาย โดยเฉพาะแก๊สและฝุ่นควันซึ่งจะล่องลอยไปตามกระแสลมเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ คำถามก็คือแก๊สและฝุ่นควันเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างไร? ประเด็นนี้นักวิทยาศาสตร์สงสัยมานานแล้ว เช่น เมื่อราว 200 ปีก่อน เบนจามิน แฟลงคลิน (Benjamin Franklin) ได้เสนอว่า สสารที่ปลดปล่อยออกมาจากการปะทุของภูเขาไฟในไอซ์แลนด์สามารถสะท้อนแสงอาทิตย์กลับออกไป และอาจเป็นสาเหตุหลักของฤดูหนาวที่เย็นยะเยือกแบบผิดปกติในช่วงปี ค.ศ. 1783-1784 ก็เป็นได้ อีกปรากฏการณ์หนึ่งที่น่าสนใจคือ “ปีที่ไม่มีฤดูร้อน” ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการปะทุครั้งมโหฬารของภูเขาไฟแทมโบรา (Mount Tambora) ในอินโดนีเซียในช่วงวันที่ 7-12 เมษายน ค.ศ. 1815 การประทุของภูเขาไฟแทมโบราปลดปล่อยสสารราว 100 ลูกบาศก์กิโลเมตร เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ และเชื่อกันว่าเป็นต้นเหตุของความแปรปรวนของภูมิอากาศในซีกโลกเหนือในปีถัดมา เช่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดามีสภาพหนาวเย็นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน มีหิมะตกหนักในเดือนมิถุนายน แถมอุณหภูมิบนพื้นดินยังเย็นจัดจนต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เรียกว่า ฟรอสต์ (frost) ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ส่วนทางยุโรปฝั่งตะวันตกก็เกิดสภาพหนาวเย็นผิดปกติเช่นกัน อย่างไรก็ดี กรณีที่ยกมานี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่ฟังดูเข้าเค้าเท่านั้น เพราะนักวิทยาศาสตร์เพิ่งเก็บข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์เพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างการปะทุของภูเขาไฟกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมาได้เมื่อไม่กี่สิบปีนี้นี่เอง ในที่นี้ ผมขอยกตัวอย่างการปะทุของภูเขาไฟที่สำคัญ 3 ลูก ได้แก่ เซนต์เฮเลนส์, เอล ชิชอง และพินาตูโบ กรณีแรก: ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ (Mount Saint Helens) ในรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ภูเขาไฟลูกนี้ปะทุขึ้นในปี ค.ศ. 1980 และปลดปล่อยสสารออกมากว่า 1 ลูกบาศก์กิโลเมตร ฝุ่นควันและแก๊สพุ่งสูงกว่า 25 กิโลเมตร แม้ว่าการปะทุครั้งนั้นได้ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศในบริเวณใกล้เคียงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่หากมองโดยภาพรวมทั้งโลกแล้วกลับพบว่า หลังจากการปะทุ อุณหภูมิของโลกลดลงต่ำกว่า 0.1 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเล็กน้อยขนาดนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วย ทำให้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่าการปะทุของเซนต์เฮเลนส์มีผลกระทบต่ออุณหภูมิของโลก ชมคลิปแสดงภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ได้ที่ กรณีที่สอง : ภูเขาไฟเอล ชิชอง (El Chichón) ในเม็กซิโก ในปี ค.ศ. 1982 นักวิทยาศาสตร์ก็ได้มีโอกาสศึกษาการปะทุของภูเขาไฟเอล ชิชอง ในภาพที่ 3 หลังจากที่ได้เฝ้าติดตามผลกระทบอยู่ถึง 2 ปี คราวนี้พบหลักฐานที่เชื่อได้ว่า การประทุของเอล ชิชอง ได้ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกลดลงประมาณ 0.3-0.5 องศาเซลเซียส ปริศนาชวนฉงนก็คือ ภูเขาไฟเอล ชิชอง ปลดปล่อยปริมาณเถ้าภูเขาไฟน้อยกว่าภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ แต่เหตุใดการปะทุจึงส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิของโลกมากกว่า? คำตอบคือ แม้เซนต์เฮเลนส์จะปลดปล่อยเถ้าภูเขาไฟออกมาในปริมาณมาก แต่ฝุ่นผงของเถ้าภูเขาไฟเหล่านี้ได้ตกลงสู่พื้นในเวลาไม่นานนัก ส่วนเอล ชิชอง ปลดปล่อยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (แก๊สกำมะถัน) ออกมามากกว่าภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ถึง 40 เท่า แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์นี้เองที่รวมตัวกับไอน้ำในบรรยากาศชั้นสแตรโทสเฟียร์ (อยู่สูงประมาณ 10-50 กิโลเมตรจากพื้นโลก) เกิดเป็นหยดอนุภาคกรดซัลฟิวริกขนาดเล็กจิ๋วประมาณ 1 ไมโครเมตร เรียกว่า ละอองลอย (aerosol) ละอองลอยเหล่านี้ค่อนข้าง “ดื้อ” กล่าวคือ กว่าจะตกลงสู่พื้นก็กินเวลานานหลายปี แถมระหว่างที่ยังล่องลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ มันจะสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์กลับออกไปสู่อวกาศ ทำให้บรรยากาศที่อยู่ติดผิวโลก (ชั้นโทรโพสเฟียร์) มีอุณหภูมิลดลง นั่นคือ หากคิดถึงผลกระทบต่อภูมิอากาศ ปริมาณแก๊สที่ภูเขาไฟปลดปล่อยออกมาจะมีผลกระทบมากกว่าฝุ่นผง กรณีสุดท้าย: ภูเขาไฟพินาตูโบ (Pinatubo) ในฟิลิปปินส์ ภูเขาไฟลูกนี้ปะทุขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1991 ปลดปล่อยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์เข้าสู่บรรยากาศชั้นสแตรโทสเฟียร์ราว 25-30 ล้านตัน ในปีถัดมา นักวิทยาศาสตร์ทำการทดลองที่เรียกว่า Earth Radiation Budget Experiment ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ละอองลอยของกรดซัลฟิวริกทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกลดลงราว 0.5 องศาเซลเซียส นอกจากเรื่องอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่ลดลงแล้ว ละอองลอยของกรดซัลฟิวริกยังทำให้ท้องฟ้ายามรุ่งอรุณและยามตะวันลับฟ้ามีสีสันสวยงาม ทั้งนี้เพราะขนาดของละอองลอยราว 1 ไมโครเมตรนี้กระเจิงแสงสีแดงได้ดีกว่าสีอื่นๆ ในกรณีการปะทุของพินาตูโบนี้ ท้องฟ้ามีสีส้มแดงยาวนานถึง 2-3 เดือนเลยทีเดียว! ดูตัวอย่างสีสันของท้องฟ้าหลังภูเขาไฟปะทุได้ในภาพที่ 5 และชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ dewbow ข่าวสดออนไลน์ 25.12.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร