Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิจัยม.อ.พัฒนาเทสต์คิตสกัดวัยรุ่นเสพยาทรามาดอล  

นักวิจัย ม.สงขลาฯ พัฒนาชุดตรวจหาสารทรามาดอลทดแทนการนำเข้า ระบุใช้ง่าย รู้ผลเร็ว ราคาถูก เล็งต่อยอดผลิตใช้ตรวจปัสสาวะและน้ำลาย นักวิจัย ม.สงขลาฯ พัฒนาชุดตรวจหาสารทรามาดอลทดแทนการนำเข้า ระบุใช้ง่าย รู้ผลเร็ว ราคาถูก ตรวจพบทั้งที่ผสมในเครื่องดื่มและชนิดแคปซูล เล็งต่อยอดผลิตใช้ตรวจปัสสาวะและน้ำลายเพิ่มความสะดวกในทางปฏิบัติงาน จากปัญหาการใช้ยารักษาโรคผิดวัตถุประสงค์หรือการใช้ยาในทางที่ผิดของกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษาในประเทศไทยทวีความรุนแรงมากขึ้นและเป็นสาเหตุหลักของการเริ่มใช้ยาเสพติดชนิดอื่นๆ ล่าสุด ยาทรามาดอลหรือ ยาแคปซูลเขียว-เหลือง มาผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่างๆ อาทิ เครื่องดื่มชูกำลัง หรือน้ำอัดลม จนกลายเป็นของมึนเมา เป็นสารเสพติดชนิดใหม่ที่พบมากที่สุดในพื้นที่ภาคใต้ โดยทำให้มีอาการเคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลายและมึนเมา หากใช้ในปริมาณมากจะส่งผลให้มีอาการขาแขนอ่อนแรง ชักเกร็ง หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ นายอภิชัย พลชัย อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) พัฒนาชุดตรวจสอบยาทรามาดอลที่ใช้ง่าย พกพาสะดวก รู้ผลรวดเร็วภายใน 5 นาที เหมาะกับการตรวจวิเคราะห์เบื้องต้นที่ใช้ตัวอย่างจำนวนมาก โดยสามารถตรวจทั้งที่ผสมในเครื่องดื่มและชนิดแคปซูล เพื่อใช้เป็นหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในกรณีที่พบการเสียชีวิตจากการเสพยาเกินขนาด หรือใช้ตรวจพิสูจน์ยาที่ถูกยึดจากผู้ลักลอบจำหน่าย รวมทั้งใช้ในการป้องกัน ป้องปรามและควบคุมการใช้ยาในทางที่ผิดของกลุ่มวัยรุ่น ชุดตรวจนี้มีราคาถูกกว่าการนำเข้าซึ่งมีราคา 2,000-3,000 บาท ขณะที่ชุดตรวจสอบยาทรามาดอลที่ผลิตได้มีต้นทุนหลัก 100 บาท สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งตัวอย่างเครื่องดื่ม สูตรผสมและยาชนิดแคปซูล เพื่อใช้เป็นหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ สนับสนุนการสืบสวนสอบสวนการเสียชีวิตที่เกิดจากการใช้ยาในทางที่ผิด อีกทั้งนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในรายวิชาการวิเคราะห์ยาเสพติดเบื้องต้นและนิติวิทยาศาสตร์เบื้องต้นในระดับปริญญาตรี รวมทั้งในรายวิชานิติเคมีและการวิเคราะห์สารเสพติดในระดับปริญญาโท วิธีการทดสอบจากตัวอย่างเครื่องดื่มจะหยดสารตัวอย่างจำนวน 5 หยด หากเป็นตัวอย่างเม็ดยาจะใช้ตัวอย่างประมาณ 10 มิลลิกรัม จากนั้นหยดน้ำยาเคมี A และ B จำนวน 5 หยด ตามด้วย น้ำยาเคมี C 10 หยด ตั้งทิ้งไว้ 5 นาที และสังเกตการเปลี่ยนแปลงสีของสาร หากสารละลายเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำเงิน แปลผลได้ว่า พบสารทรามาดอลในตัวอย่าง ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงสี แปลผลได้ว่า ไม่พบสารดังกล่าวในตัวอย่าง ในช่วงที่ผ่านมาได้นำชุดตรวจดังกล่าวไปให้หน่วยงานต่างๆ ใช้ประโยชน์ อาทิ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรงเรียนและสถานบันการศึกษา ในอนาคตอาจต่อยอดเชิงพาณิชย์ในรูปแบบการผลิตเพื่อป้อนให้กับหน่วยงานที่ต้องการนำไปใช้ป้องกันและปราบปราม รวมถึงในโรงงานและสถาบันการศึกษา นอกจากนี้ยังมีแผนที่ต่อยอดงานวิจัยให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้มากขึ้น โดยการพัฒนาชุดตรวจปัสสาวะหรือน้ำลายจากกลุ่มผู้ที่ต้องสงสัยว่าจะเสพยา ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและทดลองในห้องปฏิบัติการ ก่อนทำเป็นต้นแบบนำมาใช้งานจริงว่า ควรจะตรวจจากปัสสาวะหรือน้ำลายที่จะให้ผลแม่นยำ รวดเร็วและสะดวกใช้งานมากที่สุด หากเป็นไปได้น่าจะเป็นน้ำลายเพราะสะดวกในทางปฏิบัติงาน แต่ต้องรอดูผลการทดสอบก่อนจึงจะนำมาผลิตเป็นต้นแบบ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นทำให้การตรวจสอบทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น Bangkokbiznews 27.12.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร