Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

วัคซีนผึ้งเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน  

ที่มณฑลเสฉวนของจีน ชาวบ้านมีอาชีพหลักคือทำสวนแอปเปิลและสวนแพร์ แต่ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมานี้ เกษตรกรจีนต้องว่าจ้างคนจำนวนมากให้ทำหน้าที่ผสมเกษรดอกแอปเปิลและดอกแพร์ เพราะได้พบว่าการผลิตผลไม้ทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ลดต่ำกว่าเป้ามาก อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการไม่มีผึ้ง และแมลงปีก ในจำนวนที่มากเพียงพอเพื่อทำหน้าที่ผสมเกษรนั่นเอง ความจริงนักกีฎวิทยาได้สังเกตเห็นมาเป็นเวลานานแล้วว่า สัตว์ปีกของโลกได้ลดจำนวนลงมาก เช่น ในปี 2014 นักกีฎวิทยาได้พบว่า ตลอดเวลา 35 ปีที่ผ่านมานี้ จำนวนผึ้ง แมลงเต่าทอง ผีเสื้อ ฯลฯ ได้ลดลงถึง 45% และในปี 2016 ก็ได้พบหลักฐานเพิ่มว่า กว่า 40% ของสัตว์ที่มีหน้าที่ผสมเกษรดอกไม้ ได้ลดลงจนใกล้ถึงระดับสูญพันธ์เต็มที รวมถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง เช่น นกขนาดเล็กและค้างคาวที่สามารถผสมเกษรดอกไม้ได้เช่นกัน ก็มีสิทธิ์ถูกกระทบกระเทือน ลุถึงปี 2018 มีรายงานในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ฉบับเดือนตุลาคมว่า ทางอเมริกาก็กำลังประสบปัญหาจำนวนแมลงปีกได้ลดจำนวนลงมากเหมือนกัน ในการอธิบายสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า สภาพโลกร้อนได้ทำให้ดินฟ้าอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปมากภายในเวลาสั้นๆ ดังนั้นเมื่อสัตว์ปีกปรับตัวไม่ได้ และไม่ทัน มันจึงต้องเสียชีวิตไป ส่วนสาเหตุที่สอง คือ สารพิษที่เกษตรกรนิยมใช้ในการปราบศัตรูพืช ซึ่งยังติดค้างและหลงเหลืออยู่ตามดอก ใบ และลำต้นของพืช ได้ทำให้แมลงปีกที่บินมาดอมดม และสูดหาน้ำหวานจากดอกไม้ได้ติดตัวมันไป แล้วฆ่ามันกับเพื่อนๆ ในรัง หลังจากที่ได้เข้ามาสัมผัสสารพิษเหล่านั้น มนุษย์ได้รู้จักผึ้ง และบริโภคน้ำผึ้งมาเป็นเวลานานกว่า 7,000 ปีแล้ว ภาพวาดที่ปรากฎบนผนังถ้ำ Altamira ในเมือง Santillana del Mar ของสเปนเป็นรูปคนกำลังปีนต้นไม้ เพื่อเก็บน้ำผึ้งจากรังผึ้ง โดยใช้กิ่งไม้ตีฝูงผึ้งให้บินออกจากรัง ฟาโรห์ Menes แห่งอียิปต์เมื่อ 5,000 ปีก่อน ทรงโปรดให้ฝึ้งเป็นสัตว์สัญลักษณ์แห่งอาณาจักรอียิปต์ เพราะผึ้งช่วยผสมเกษรดอกไม้ ทำให้ชนชาวอียิปต์มีอาหารเพื่อการบริโภคอย่างอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ก็ยังเป็นสัตว์ที่ขยันขันแข็งและมีพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่มีความเป็นระบบ และระเบียบมาก ชาวอียิปต์จึงเป็นชนชาติแรกที่นิยมเลี้ยงผึ้ง เทพตำนานกรีกกล่าวถึงเทพ Jupiter ว่า ในวัยทารกพระองค์ทรงดื่มน้ำผึ้งเป็นพระกระยาหาร กวีกรีกชื่อ Pinder แห่งเมือง Thebes ก็โปรดปรานน้ำผึ้ง เพราะเชื่อว่า ความหวานของน้ำผึ้งจะทำให้บทกลอนที่เขียนมีความไพเราะอ่อนหวาน ด้านนักปรัชญากรีกชื่อ Plato เล่าว่า เมื่อครั้งที่ยังเป็นทารกได้มีผึ้งฝูงหนึ่งบินมาเกาะที่ปาก เหตุการณ์นั้นได้ทำให้ Plato เป็นนักปราชญ์ที่มีความคิดหลักแหลม สังคมกรีกยังเชื่ออีกว่าเวลาใครเสียชีวิต วิญญาณของคนตายทุกคนจะรวมกลุ่มกันลอยขึ้นสวรรค์เหมือนฝูงผึ้ง นคร Athens ของกรีซ นอกจากจะมีชื่อเสียงว่า เป็นนครแห่งปราชญ์แล้ว ยังเป็นที่ร่ำลืออีกว่า น้ำผึ้งที่ได้จากเมืองนี้มีรศดีเลิศ และที่มหาวิหาร Delphi ก็มีผึ้งไปทำรังอยู่ภายในมากมาย ที่ภูเขา Eryx ใน Sicily มี Butes เป็นคนเลี้ยงผึ้งที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งอ้างว่า เวลาฝูงผึ้งป่วยและตายยกรัง คนเลี้ยงผึ้งต้องฆ่าวัว 4 ตัวเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพื่อถวายเป็นการบูชาแด่เทพธิดา Cyrene เทพนิยายกรีกได้กล่าวถึง Hercules ว่า เวลาสัตว์เช่นแกะ แพะตาย ถ้าถูกนำไปฝัง จะมีฝูงผึ้งบินออกมาจากซากศพของสัตว์นั้น คนกรีกยังมีความเชื่ออีกว่า เวลาใครมีความโศกเศร้าให้นำผ้าสีดำไปผูกที่รังผึ้ง แล้วจะรู้สึกดีขึ้น และเวลาดีใจก็ให้นำผ้าสีแดงไปผูกที่รัง เพื่อขอบคุณผึ้งที่นำความสุขมาให้ ถ้าไม่ทำ ฝูงผึ้งจะตายยกรัง หรือเวลาสตรีใดถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มด ซึ่งจะถูกนำไปเผาทั้งเป็น ถ้าเธอคนนั้นได้กลืนกินราชินีผึ้ง แม้จะถูกทรมานสักเพียงใด เธอก็ไม่ตาย ในวงการศาสนา โดยเฉพาะในคัมภีร์ไบเบิลได้กล่าวถึง ดินแดนในฝันของ Moses ว่าเป็นพื้นที่ๆ มี ความอุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำนมและน้ำผึ้ง ด้านนักบุญ St. Ambrose แห่งเมือง Milar ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถเทศน์ได้อย่างไพเราะจับใจ จนทำให้คนฟังรู้สึกอิ่มเอิบเสมือนได้ดื่มน้ำผึ้ง ตัวนักบุญเองได้เปรียบเทียบโบสถ์ในคริสต์ศาสนาว่าเป็นเสมือนรังผึ้ง และคริสตศาสนิกชนทุกคนทำหน้าที่ของตน เสมือนผึ้งที่รู้จักหน้าที่ดี ในฝรั่งเศสเมื่อจักรพรรดิ Napoleon จะเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นฝูงผึ้งบินมาเกาะที่ฝังพระศพของกษัตริย์ Childeric ที่ 1 จึงทรงโปรดให้ช่างฉลองพระองค์ปักลวดลายเป็นผึ้ง 300 ตัว เพื่อแสดงความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความมั่นคงของบ้านเมืองภายใต้การปกครองของพระองค์ สำหรับคนไทยเราก็รู้จักผึ้งในฐานะแมลงที่มีเหล็กใน สามารถทำให้คนที่ถูกผึ้งต่อยรู้สึกเจ็บปวด และมักนึกถึงน้ำผึ้งเดือนห้าว่ามีรสหวาน สด และเป็นอาหารที่ให้พลังงาน ชาวบ้านยังนิยมใช้น้ำผึ้งทำเครื่องสำอาง และใช้เป็นยาสมานแผลด้วย อีกทั้งรู้ว่า สังคมผึ้งเป็นสังคมการดำรงอยู่อย่างไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เพราะผึ้งทุกตัวตระหนักรู้หน้าที่ของตน และมีความรับผิดชอบโดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือโองการใดๆ จากฝึ้งตัวอื่นๆ ผึ้งที่มีพบในไทยมี 4 สปีชีส์ คือ สปีชีส์แรกเป็นผึ้งมิ้ม หรือผึ้งแมลงวัน (Apis florea) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าแมลงวันเล็กน้อย ชอบตอมสิ่งที่มีรสหวาน มีท้องเป็นปล้องสีดำสลับขาว สปีชีส์ที่ 2 คือ ผึ้งหลวง (Apis dorsata) มีขนาดใหญ่ที่สุดและต่อยเจ็บที่สุด มีท้องเป็นปล้องสีดำสลับเหลือง ผลิตน้ำผึ้งได้มากที่สุดและชอบสร้างรังในที่โล่งแจ้ง สปีชีส์ที่ 3 คือ ผึ้งโพรง (Apis cerana) เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงในหีบเลี้ยง มีขนาดเล็กกว่าผึ้งหลวง ชอบสร้างรังในโพรงไม้ และชนิดสุดท้ายคือ ผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) มีต้นกำเนิดจากยุโรปและแอฟริกา มีขนาดใหญ่กว่าผึ้งโพรง ชอบสร้างรังตามโพรงไม้ และไม่ดุร้ายเท่าผึ้งหลวง ผึ้งเป็นสัตว์สังคมที่ชอบอยู่รวมกันในรัง สังคมผึ้งมีการแบ่งชั้นวรรณะเป็นนางพญา ผึ้งงาน และผึ้งตัวผู้ โดยนางพญามีหน้าที่วางไข่ตั้งแต่ 1,000 – 2,000 ฟอง มีอายุยืน 2-3 ปี ตามปกติจะหลั่งสาร pheromone ออกมาควบคุมการทำงานของผึ้งอื่นๆ ทุกตัวในรัง ด้านผึ้งงานมีหน้าที่ปรนนิบัติรับใช้นางพญา เป็นผึ้งเพศเมีย มีหน้าที่ซ่อมแซมรัง ทำความสะอาด เลี้ยงดูตัวอ่อน ปกป้องรัง เฝ้ายาม และหาน้ำหวานจากดอกไม้ ชีวิตของผึ้งงานค่อนข้างสั้นคือ 7-8 สัปดาห์เท่านั้นเอง สำหรับผึ้งตัวผู้นั้นไม่มีหน้าที่ใดๆ นอกจากสืบพันธุ์กับนางพญา และหลังจากที่ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ผึ้งงานจะหยุดป้อนอาหารให้มัน ซึ่งจะทำให้มันอดอาหารตาย เพราะหาอาหารเองไม่เป็น ศัตรูที่สำคัญของผึ้ง คือ มดที่คอยแย่งน้ำหวาน ตัวต่อที่ชอบจับมันกิน รวมถึงแมงมุมที่ชอบชักใยดักมัน และสารพิษที่เกษตรกรใช้ฆ่าศัตรูพืช แม้จะเป็นสัตว์ที่สร้างแต่คุณประโยชน์ แต่เมื่อถึงวันนี้ ผึ้งกำลังเป็นสัตว์ที่กำลังก้าวเข้าสู่สภาพสูญหายไปจากโลกยิ่งขึ้นทุกวัน เมื่อ Bradford Lister ซึ่งเป็นนักชีววิทยาแห่ง Rensselaer Polytechnic Institute ที่ New York ได้ศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของแมลงปีกในป่าฝนของประเทศ Puerto Rico เมื่อ 40 ปีก่อน แล้วได้หวนกลับไปเยือนป่าเดียวกันอีกครั้งหนึ่งและได้พบว่า จำนวนนก กบ และผีเสื้อได้ลดลงอย่างน่าใจหาย โดยเฉพาะผีเสื้อซึ่งแทบไม่มีให้เห็นเลย Lister ยังได้พบอีกว่า ชีวมวล (biomass ซึ่งเป็นมวลของสัตว์หลังจากที่ถูกรีดน้ำออกจากตัวหมดแล้ว) ได้ลดลงตั้งแต่ 1/8 ถึง 1/4 ในช่วงปี 1977-2013 ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลที่ Timothy Schowalter แห่ง Lousiana State University ได้รับเมื่อปีกลายนี้ โดยนักวิจัยทุกกลุ่มมีความเห็นพ้องกันว่า จำนวนประชากรผึ้งได้ลดลงมาก เพราะโลกกำลังร้อนขึ้นตลอดเวลา โดยได้เพิ่มกว่า 1 องศาเซลเซียส ในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมา และเมื่อระบบอวัยวะภายในตัวมันไม่สามารถปรับการทำงานได้ ผึ้งจึงเสียชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามันทำรังไกลจากเส้นศูนย์สูตรมากเท่าใด โอกาสการเสียชีวิตก็ยิ่งสูง ในวารสาร Science ฉบับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้ Scott Merrill แห่งมหาวิทยาลัย Vermont ในอเมริกา ได้พยากรณ์ว่า จำนวนผึ้งที่อาศัยในป่าเขตร้อนจะลด เพราะเวลาโลกร้อนขึ้น ศัตรูพืชจะกินแมลงปีกมากขึ้น ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากระบบการสร้างพลังงาน (metabolism) ของร่างกายทำงานมากขึ้น และถ้าอุณหภูมิยิ่งเพิ่ม จนถึงระดับหนึ่ง แมลงปีกต่างๆ จะหยุดการวางไข่ ถ้าการคาดการณ์นี้ ถูกต้องและเป็นจริง ก็จะเป็นเรื่องที่น่าวิตกมาก เพราะ 35% ของพืช ต้องอาศัยผึ้ง ผีเสื้อ ตัวต่อ ฯลฯ ในการผสมเกษร และกัดกินซากศพสัตว์ ดังนั้น ถ้าสัตว์ปีกลดจำนวน การขาดอาหารและทุพภิกขภัยก็จะเกิดในเร็ววัน ซึ่งคงไม่มีใครต้องการให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นเราจึงต้องหาทางปกป้องผึ้ง โดยการสร้างวัคซีนให้ผึ้ง เพื่อป้องกันตัวให้มัน เทคโนโลยีการฉีดวัคซีนให้แมลงในอดีตเคยเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็คิดว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะแมลงไม่มี antibody เหมือนคนและสัตว์ที่มี เพื่อใช้ในการป้องกันโรค โดยในปี 2014 นักกีฏวิทยาได้พบว่า ผีเสื้อกลางคืนเวลาบริโภคแบคทีเรียบางชนิดเข้าไป สามารถถ่ายทอดภูมิคุ้มกันสู่ลูกหลานของมันได้ ความก้าวหน้าในการสร้างวัคซีนผึ้งนี้ เกิดจากการทำงานของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Finland ซึ่งได้ช่วยให้ผึ้งรอดตายจากการโจมตีของจุลินทรีย์ได้ เมื่อเขาได้พบว่า เวลาให้ผึ้งกินโปรตีน vitellogenin ผึ้งจะรอดพ้นจากการเป็นโรค American foulbrood ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงได้ ดังนั้นเขาจึงให้นางพญาผึ้งกินโปรตีนนี้เข้าไป แล้วนางพญาจะถ่ายทอดภูมิคุ้มกันสู่ลูกหลานของมันทุกตัวในรัง แล้ววัคซีนจะช่วยรักษาจำนวนผึ้งมิให้ลดลงจนโลกเป็นอันตราย โครงการนี้จะสามารถนำออกใช้ในอีก 5 ปีข้างหน้า และในเวลาเดียวกัน รัฐบาลแคนาดาและรัฐบาลของสหภาพยุโรปก็ได้หาทางป้องกันการลดประชากรผึ้ง โดยห้ามเกษตรกรใช้ยาฆ่าแมลงที่มีสาร neocotinoid เป็นองค์ประกอบหนึ่ง เพราะได้พบว่า เวลาผึ้งได้รับสารนี้เข้าในตัว มันจะสืบพันธุ์ไม่ได้ ถ้ามาตรการทั้งหลายที่กล่าวมานี้ เช่น ลดยาฆ่าแมลง สร้างวัคซีน และให้คนมาช่วยผสมเกสร ยังไม่ให้ผล ขั้นต่อไป คือการใช้ผึ้ง drone ทำงานแทนผึ้งจริง อ่านเพิ่มเติมจาก Buzz: The Nature and Necessity of Bees โดย Thor Hanson จัดพิมพ์โดย Basic Books ปี 2018 Manager online 04.01.18

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร