Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ทีมนักวิจัยอังกฤษทดสอบ 'เครื่องวิเคราะห์ลมหายใจ' ตรวจหามะเร็ง   

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า โรคหลายๆ โรคสร้างกลิ่นกายเฉพาะตัวที่ออกมาจากร่างกายของผู้ป่วย อาทิ ไข้รากสาดน้อยที่ทำให้ผู้ป่วยมีกลิ่นตัวเหมือนขนมปังอบ กับกลิ่นของสารเเอซิโทนที่ใช้ในน้ำยาล้างเล็บ เช่นเดียวกับกลิ่นแอปเปิ้ลเน่าที่เกิดจากโรคเบาหวาน ผลการวิจัยชิ้นล่าสุดยังพบว่า ลมหายใจของคนเราอาจช่วยบอกได้ด้วยว่ากำลังเป็นโรคมะเร็ง และเพื่อทดสอบสมมุติฐานนี้ ศูนย์การวิจัยมะเร็งแห่งสหราชอณาจักร (Cancer Research UK) ได้เริ่มต้นการทดสอบเครื่องวิเคราะห์ลมหายใจตรวจมะเร็งที่เรียกว่า the Breath Biopsy กับคนเป็นเวลานาน 2 ปี เพื่อตรวจหาโมเลกุลที่ออกมากับลมหายใจ ซึ่งใช้ในการตรวจหามะเร็ง ในกระบวนการเผาผลาญพลังงานของร่างกายที่ทำงานเป็นปกติ ร่างกายจะผลิตโมเลกุลที่ออกมากับละอองลมหายใจที่เรียกว่า VOC (volatile organic compounds) และผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามะเร็งจะสร้างโมเลกุล VOC เช่นกัน แต่มีลักษณะเเตกต่างออกไปจากร่างกายคนปกติ ซึ่งนักวิจัยหวังว่าเครื่องวิเคราะห์ลมหายใจจะช่วยแยกความแตกต่างนี้ได้ Billy Boyle ผู้ร่วมก่อตั้งเเละซีอีโอของบริษัท Owlstone Medical ที่คิดค้นเเละพัฒนาเครื่องวิเคราะห์ลมหายใจนี้ กล่าวกับ CNN ว่าเป้าหมายของการทดลองนี้คือการค้นหาความเเตกต่างระหว่างโมเลกุล VOC ปกติกับชนิดที่ไม่ปกตินี้ให้ได้ การทดลองกับคนนี้ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยมะเร็งแห่งสหราชอณาจักรในเมืองเเคมบริดจ์ (Cancer Research UK Cambridge Centre) และกำลังรับสมัครอาสาสมัครจำนวน 1,500 คน รวมทั้งคนที่มีสุขภาพเเข็งเเรงดีเพื่อเป็นกลุ่มควบคุม ทีมนักวิจัยวางเเผนที่จะเริ่มต้นการทดลองกับกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารเเละมะเร็งหลอดอาหารเป็นกลุ่มเเรก ตามมาด้วยกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งไต มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งตับเเละตับอ่อน ผู้เข้าร่วมในการทดลองจะต้องเป่าลมหายใจออกเข้าไปในเครื่องวิเคราะห์ลมหายใจนาน 10 นาที เพื่อให้ได้ตัวอย่างโมเลกุลที่อยู่ในละอองลมหายใจ ซึ่งจะถูกนำไปวิเคราะห์โดยทีมนักวิจัยในห้องทดลองของบริษัท Owlstone Medical ในเมืองเเคมบริดจ์ ทีมงานมุ่งหาทางระบุให้ได้ว่า โรคมะเร็งมีกลิ่นหรือโมเลกุลในละอองลมหายใจที่แตกต่างไปอย่างไร เเละสามารถค้นพบมะเร็งได้ในระยะเริ่มเเรกได้เร็วแค่ใหน และหากผู้ป่วยจะกลายเป็นมะเร็งจริงๆ ตัวอย่างลมหายใจของผู้ป่วยจะใช้เปรียบเทียบกับตัวอย่างจากคนที่ไม่เป็นมะเร็งได้หรือไม่ ศาสตราจารย์ Rebecca Fitzgerald หัวหน้าทีมนักวิจัยที่ศูนย์วิจัยมะเร็งแห่งอังกฤษ ที่เมืองเเคมบริดจ์ กล่าวในแถลงการณ์ว่า จำเป็นอย่างมากที่ต้องเร่งพัฒนาอุปกรณ์ใหม่ๆ อย่างเช่น เครื่องวิเคราะห์ลมหายใจนี้ ซึ่งช่วยตรวจหาเเละวินิจฉัยมะเร็งได้ตั้งเเต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิต ศูนย์วิจัยมะเร็งแห่งอังกฤษชี้ว่า มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่มากกว่า 360,000 คนทุกปีในอังกฤษ และองค์การอนามัยโลกหรือ WHO รายงานว่า ในระดับโลก มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ราว 18 ล้าน 1 เเสนคนในปีที่ผ่านมา หากการทดลองกับคนครั้งนี้ได้ผลสำเร็จ ทั้้งบริษัท Owlstone Medical เเละศูนย์วิจัยมะเร็งหวังว่า แพทย์จะสามารถนำเครื่องวิเคราะห์ลมหายใจเครื่องนี้ไปใช้ในการตรวจร่างกายผู้ป่วย เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าควรเเนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเพิ่มเติมหรือไม่ ศาสตราจารย์ Fitzgerald กล่าวว่า ทีมงานหวังว่าการทดลองครั้งนี้จะช่วยให้ค้นพบสัญญาณของโรคมะเร็งได้ตั้งเเต่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจมะเร็งโดยใช้ลมหายใจ Voice of America 07.01.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร