Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าถ่ายภาพในปี 2019  

สำหรับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจในปี 2562 นี้ โดยส่วนมากจะเกี่ยวกับดวงจันทร์เสียส่วนใหญ่ แต่ก็เข้ากับธีมของดาราศาสตร์ ที่ถือเป็นปีที่ครบรอบ 50 ปี ของการไปเยือนดวงจันทร์ โดยปรากฏการณ์ที่น่าสนใจเริ่มกันตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม คือปรากฏการณ์ Super Moon ติดต่อกันถึง 3 เดือน และตามด้วยจันทรุปราคาบางส่วน Micro Moon และสุริยุปราคาบางส่วน แต่สำหรับปรากฏการณ์ฝนดาวตกนั้นก็ยังมีให้ตามถ่ายภาพกันได้ แต่ฝนดาวตกใหญ่ๆ เช่น ลีโอนิดส์ เจมีนิดส์ นั้นในวันดังกล่าวมีดวงจันทร์รบกวน ช่างสมกับเป็นปีแห่งดวงจันทร์จริงๆ ครับ เอาหล่ะเรามาดูกันว่าปีนี้เราจะถ่ายอะไร ถ่ายยังไงกันบ้าง ติดต่อต่อในคอลัมน์ได้เลยครับ สำหรับปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกในปีนี้ เกิดขึ้นทั้งหมด 3 ครั้งด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ครั้งที่ 1 วันที่ 21 มกราคม ครั้งที่ 2 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ และครั้งสุดท้าย วันที่ 21 มีนาคม “โดยที่ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี จะตรงกับวันที่ 19 กุมภาพันธ์” ในวันดังกล่าวดวงจันทร์จะปรากฏในตำแหน่งใกล้โลก ที่ระยะห่าง 365,836 กิโลเมตร ทำให้ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดวงจันทร์เต็มดวงปกติ ประมาณ 6.3 เปอร์เซนต์ สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ช่วงเวลา 18.10 น. โดยประมาณ ทางทิศตะวันออกเป็นต้นไป Super Full Moon หรือ ดวงจันทร์เต็มดวงในตำแหน่งใกล้โลก ที่ทำให้คนบนโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์มีขนาดใหญ่กว่าปกติ สำหรับช่วงปกตินั้นดวงจันทร์จะมีระยะห่างเฉลี่ย 382,000 กิโลเมตร โดยเราให้คำกำจัดความของคำว่า Super Moon นั้นเมื่อดวงจันทร์มีระยะห่างจากศูนย์กลางโลกตั้งแต่ 360,000 กิโลเมตรลงมา และ Micro Moon หรือดวงจันทร์ไกลโลกมากที่สุด เมื่อดวงจันทร์มีระยะห่างจากศูนย์กลางโลกตั้งแต่ 400,000 กิโลเมตรขึ้นไป (รายละเอียดการถ่ายภาพ ตามลิงก์ : https://goo.gl/uAxJhz) ฝนดาวตก (Meteor shower) : 6 พฤษภาคม 2562 ฝนดาวตก (Meteor shower) : 6 พฤษภาคม 2562 สำหรับปรากฏการณ์ฝนดาวตก ในปีนี้ก็มีให้ชมกันตลอดทั้งปี แต่ที่น่าจับตาได้แก่ ฝนดาวตกควอดรานติดส์ ฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ และฝนดาวตกเดลต้า- อควอริดส์ เนื่องจากช่วงวันที่ตรงกับปรากฏการณ์ฝนดาวตก ไม่มีแสงจันทร์รบกวน โดยมีช่วงเวลาในการสังเกตดังนี้ ฝนดาวตกควอดรานติดส์ : 3-4 มกราคม (เฉลี่ย 120 ดวงต่อชั่วโมง) สามารถสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 02.30 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 4 มกราคม ศูนย์กลางการกระจายอยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ และกลุ่มดาวมังกร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ฝนดาวตกอีต้า-อควอริดส์ : 6-7 พฤษภาคม (เฉลี่ย 50 ดวงต่อชั่วโมง) สามารถสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 03.00 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 7 พฤษภาคม ซึ่งมีอัตราการตก 50 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ฝนดาวตกเดลต้า- อควอริดส์ : 30-31 กรกฎาคม (เฉลี่ย 25 ดวงต่อชั่วโมง) สามารถสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 21.00 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 31 กรกฎาคม ซึ่งมีอัตราการตก 25 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (รายละเอียดการถ่ายภาพ ตามลิงก์ : https://goo.gl/MRVuXN) ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน เกิดขึ้นในวันที่ 17 กรกฎาคม สามารถสังเกตได้ทุกภูมิภาคของไทย ตั้งแต่เวลาประมาณ 01:44 - 06:00 น. (ตามเวลาประเทศไทย) จะสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวงค่อย ๆ เว้าแหว่งไปทีละน้อย โดยเงาโลกบังมากที่สุดประมาณร้อยละ 65 ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ ในเวลาประมาณ 04.30 น. ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเกิดจากดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีโลกอยู่กลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ หากดวงจันทร์โคจรเข้าไปในเงามืดของโลกแค่บางส่วน เรียกว่า “จันทรุปราคาบางส่วน” สำหรับปรากฏการณ์นี้นอกจากการถ่ายภาพแล้วเรายังสามารถนำเอาภาพถ่ายปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน ไปใช้ในการหาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโลกได้อีกด้วย (รายละเอียดการถ่ายภาพ ตามลิงก์ : https://goo.gl/mey2zE) ปรากฏการณ์ไมโครมูน (Micro Moon) ซึ่งเป็นวันที่ดวงจันทร์ “เต็มดวงและโคจรอยู่ห่างจากโลกที่สุด” เกิดขึ้นในวันที่ 14 กันยายน 2562 ที่ระยะห่างประมาณ 406,365 กิโลเมตร ให้คืนดังกล่าวดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏเล็กที่สุดในรอบปี และหากเปรียบเทียบขนาดของดวงจันทร์เต็มดวงขณะโคจรมาใกล้โลกกับไกลโลกที่สุด ช่วงไกลโลกที่สุดจะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าประมาณ 14% และมีความสว่างน้อยกว่าถึง 30% (รายละเอียดการถ่ายภาพ ตามลิงก์ : https://goo.gl/Swkm9u) ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน 26 ธันวาคม สังเกตได้ทุกภูมิภาคของไทย ตั้งแต่เวลาประมาณ 10:18 - 13:57 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ดวงอาทิตย์ถูกบังมากที่สุดบริเวณภาคใต้ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ประมาณร้อยละ 81 ซึ่งการถ่ายภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้ถึงแม้ ดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บังมากถึงร้อยละ 81 แต่แสงสว่างของดวงอาทิตย์ยังมีความเข้มสูง จึงจำเป็นต้องถ่ายภาพผ่านแผ่นกรองแสงดวงอาทิตย์ เช่น แผ่นไมล่า หรือ เป็นวัสดุโพลีเมอร์สีดำ ที่ให้แสงดวงอาทิตย์เป็นสีแดงอมส้ม (รายละเอียดการถ่ายภาพ ตามลิงก์ : https://goo.gl/PSWC9v) นอกจากปรากฏการณ์ที่กล่าวในข้างต้นแล้ว ในปีนี้ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เราก็ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับใครที่ชื่นชอบการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ คือ “การถ่ายภาพดาราศาสตร์ มาราธอน Astrophotography Marathon 2019” โดยกิจกรรมนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 9-10 มีนาคม 2562 เริ่มรับสมัครกันได้ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ใครที่อยากไปร่วมทริปก็สมัครกันได้เลยครับ รายละเอียดตามลิงก์ : https://goo.gl/vLjsNz เกี่ยวกับผู้เขียน ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ปัจจุบันเป็นหัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร., เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร.ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย” “คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย” อ่านบทความ "มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์" โดย ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน Manager online 07.01.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร