Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สกว.โชว์สุดยอดวิจัยเด่น ยาจากล้วยไม้-สารตั้งต้นจากก๊าซ  

ยาต้านเซลล์มะเร็งต้นกำเนิดจากกล้วยไม้-ฟองน้ำทะเลสีน้ำเงิน และ สารตั้งต้นมูลค่าสูงจากคาร์บอนไดออกไซด์ เป็น 2 ใน 10 ผลงานวิจัยรางวัลจากสกว.และสกอ. ยาต้านเซลล์มะเร็งต้นกำเนิดจากกล้วยไม้-ฟองน้ำทะเลสีน้ำเงิน และ สารตั้งต้นมูลค่าสูงจากคาร์บอนไดออกไซด์ เป็น 2 ใน 10 ผลงานวิจัยรางวัล 2019 TRF-OHEC-Clarivate Analytics Research Excellence Award และ 2019 TRF-OHEC-Scopus Researcher Award จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รางวัลดังกล่าวเพื่อเชิดชูเกียรติแก่วุฒิเมธีวิจัย สกว. ตลอดจนนักวิจัยรุ่นกลางและนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีผลงานวิจัยจากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สกว. ดีเยี่ยม ทั้งคุณภาพของงานวิจัย ผลกระทบต่อวงวิชาการ และสังคม เพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจในการพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพสูงต่อไป ทั้งนี้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการมอบรางวัลได้กล่าวปาฐกถานำตอนหนึ่งว่า อยากจะเชิญชวนให้นักวิจัยร่วมให้ความรู้กับคนรุ่นใหม่ได้เกิดแรงบันดาลใจในการเข้าสู่เครือข่ายวิจัยให้มากขึ้น เรากำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายใน 2 ด้าน คือ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีงบประมาณวิจัยใกล้เคียงกับร้อยละ 1 ขึ้นไปของจีดีพี และจะทำอย่างไรให้ขยับเป็นร้อยละ 1.5 ภายใต้ความท้าทายว่างานวิจัยต้องมีผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดการต่อยอด บรรลุแผนแม่บทใน 5-10 ปีข้างหน้า โจทย์สำคัญคือจากนี้ไปต้องทำงานวิจัยหลักให้เกิดโอกาสและผลกระทบโดยบูรณาการความรู้ความสามารถ ทำงานเป็นทีม โดยต้องวางแผนวิจัยให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตีบทให้แตกและมองให้ออกว่าจะส่งธนูไปสู่เป้าหมายอย่างไรให้คนของเรามีสมรรถนะสูงและจัดการกับปัญหาโดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี เปลี่ยนก๊าซโลกร้อนให้เป็นเงิน ผลงานการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดย รศ.ธงไทย วิฑูรย์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดจากการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความว่องไวและมีเสถียรภาพในการแปรรูปก๊าซดังกล่าวให้เป็นสารเคมีที่มีมูลค่าสูง นักวิจัยดำเนินการร่วมกับสถาบันนวัตกรรม ปตท. ในการแปรรูปก๊าซดังกล่าวให้เป็นเอทิลีนเพื่อผลิตฟันปลอม เสื้อเกราะกันกระสุนแบบอ่อน ทั้งสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นลวดขยายหลอดเลือดหัวใจ ตลอดจนแปรรูปให้เป็นโพรพิลีนเพื่อทำกระดูกเทียมและชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น ขณะนี้ได้ยื่นจดอนุสิทธิบัตรและพัฒนาต่อยอด เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ ก่อนที่จะลงทุนตั้งโรงงานผลิตในประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถแปรรูปให้เป็นเมทานอนเพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล ทินเนอร์ รถไฟฟ้า และแปรรูปให้เป็นดีเอ็มอีเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกใช้แทนก๊าซแอลพีจี รศ.ธงไทย กล่าวว่า งานวิจัยดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยสู่บรรยากาศจากกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เข้าสู่กระบวนการแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากก๊าซเหลือทิ้ง ก่อนส่งเข้ากระบวนการกักเก็บให้มีความเข้มข้นสูงเพื่อนำไปใช้เป็น “สารตั้งต้น” ในการผลิตสารเคมีที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและพลังงานทดแทนในอนาคต จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศจากงานวิจัย มิติใหม่รักษามะเร็ง รศ.ปิติ จันทร์วรโชติ ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลงานการควบคุมเซลล์มะเร็งต้นกำเนิดเพื่อพัฒนายาจากกล้วยไม้-ฟองน้ำทะเลสีน้ำเงินซึ่งพบในอ่าวไทย เป็นการศึกษากลไกและปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมจำนวนและคุณสมบัติต่างๆ ของเซลล์มะเร็งต้นกำเนิด องค์ความรู้จะนำไปสู่การค้นพบกลไกและเป้าหมายของยารักษาโรคมะเร็งใหม่ รวมทั้งการพัฒนายาจากสารสำคัญที่แยกได้จากสมุนไพรไทย ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งต้นกำเนิดและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง เมื่อยับยั้งกลไกเหล่านั้นได้ก็จะสามารถทำลายเซลล์มะเร็งต้นกำเนิดได้ จากโครงการวิจัยนี้นำมาซึ่งการค้นพบสารสมุนไพรที่สามารถออกฤทธิ์ตามเป้าหมาย เช่น Gigantol สารจากกล้วยไม้พันธุ์เอื้องเงิน, Chrysotoxine สารจากกล้วยไม้พันธุ์เอื้องช้างน้าว, Vanillin สารจากกล้วยไม้พันธุ์วานิลลา รวมทั้ง Renieramycin M สารจากฟองน้ำทะเลสีน้ำเงิน “การค้นพบดังกล่าวจะนำไปสู่องค์ความรู้ใหม่ในการควบคุมความรุนแรงของโรคมะเร็งในระดับโมเลกุล ทำให้ทราบถึงปัจจัยภายในร่างกายที่กระตุ้นให้อาการมีความรุนแรง รวมถึงกลไกสำคัญที่ควบคุมเซลล์มะเร็งต้นกำเนิด ที่จะนำมาพัฒนายารักษาจากสมุนไพรไทยหลายชนิดในอนาคต ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางยาและสาธารณสุขไทยในการพึ่งพาตนเองจากพืชพื้นถิ่นไทย ล่าสุดได้รับการติดต่อจากบริษัทยาในญี่ปุ่นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์” Manager online 14.01.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร