Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ลุยแดนน้ำแข็งหาผลกระทบโลกร้อนต่อมหาสมุทร  

นักวิจัยเปลี่ยนดินแดนในที่ห่างไกล และไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของคนมากที่สุดในโลก ให้กลายเป็น “ห้องแล็บกลางแจ้ง” เพื่อศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยออสทรัลแห่งชิลี (Austral University of Chile) ลงเรือจากปันตา อารีนา (Punta Arenas) มุ่งหน้าสู่ฟยอร์ดซีโนบาเญนา (Seno Ballena fjord) อ่าวแคบๆ ที่อยู่ระหว่างหน้าผาสูงชัน ซึ่งอยู่ห่างไกลทางตอนใต้สุดของภูมิภาคปาตาโกเนียของชิลี ทั้งนี้ สภาพของฟยอร์ดดังกล่าวในปัจจุบันคือสภาพในอนาคตของนิเวศทางทะเลอื่นๆ ที่คาดว่าจะขึ้นอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ และการละลายของธารน้ำแข็ง “แหล่งนี้เหมือนเป็นห้องทดลองทางธรรมชาติ เพราะช่วยเราได้ทำการทดลองโดยไม่ต้องลงมือในห้องปฏิบัติ เพื่อให้เราทราบถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น โดยไม่ต้องคาดเดาถึงสิ่งนั้น” แมกซิมิเลียโน เวอร์การา (Maximiliano Vergara) นักชีววิทยาทางทะเล เผยแก่สำนักข่าวเอเอฟพี การเดินทางไปถึงฟยอร์ดดังกล่าวค่อนข้างทุลักทุเล เพราะทีมวิจัยต้องท่องทะเลนานประมาณวันครึ่งท่ามกลางสภาพที่ไม่อาจวางใจของช่องแคบแมกเจลแลน (Strait of Magellan) ซึ่งเชื่อมต่อมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก และต้องล่องไปบนแพขนาดเล็กที่ออกแบบเพื่องานวิจัย ขณะที่อยู่ท่ามกลางอยู่อุณหภมิหนาวยะเยือกของธารน้ำแข็ง และกระแสลมแรงที่มีความเร็วเกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในการสำรวจภาคสนามครั้งนี้ ทีมวิจัยจะได้รับข้อมูลจากระบบเซนเซอร์ที่ตรวจวัดตัวอย่างน้ำทุกๆ 3 ชั่วโมง พวกเขาจะวิจัยคุณสมบัติทางเคมี กายภาพแลชีวภาพของน้ำ ซึ่งแสดงระดับค่า pH ต่ำๆ ความเค็ม และแคลเซียม โดยเน้นเป็นพิเศษบริเวณที่เป็นน้ำตื้น ซึ่งเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ “สิ่งที่เราทำในชั่วขณะนั้นคือการสร้างฐานข้อมูล” เวอร์การากล่าว สำหรับชื่อซีโนบาเญนานั้นเป็นชื่อที่ตั้งตามวาฬหลังค่อม (humpback whale) ที่ลงมาหากินในละแวกนั้น ซึ่งเดินทางมาจากอเมริกากลางซึ่งเป็นแหล่งผสมพันธุ์ โดยกระแสน้ำเย็นจัดในฟยอร์ดนั้นเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ทางทะเลแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งพบปลาซาร์ดีนและกริลล์ได้ในจำนวนมหาศาล ทว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกลายเป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศของฟยอร์ดซีโนบาเญนา เนื่องจากการละลายของธารน้ำแข็งบนเกาะซานตาอินเนส (Santa Ines island) และมีฝนตกเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำจืดเพิ่มระดับขึ้น หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ก็จะส่งผลกระทบเลวร้ายต่อวาฬ เพราะแพลงก์ตอนที่เป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่นี้จะหมดไปด้วย ด้าน มาร์โค อันโตนิโอ พินโต (Marco Antonio Pinto) นักชีววิทยาทางทะเลบอกเอเอฟพีว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสาหร่ายจิ๋ว (microalgae) นั้น กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทุติยภูมิของระบบทางทะเล หรือสัตว์ที่กินสิ่งเหล่านี้เป็นอาหารได้ พินโตกล่าวว่า ภายใต้ภาวะปกติที่มีสาหร่ายจิ๋วอย่างอุดมสมบูรณ์นั้น สาหร่ายจิ๋วจะเป็นแหล่งอาหารให้แก่แพลงก์ตอนสัตว์ที่เป็นแหล่งโภชนาการในห่วงโซ่อาหารที่ตรงไปถึงวาฬ คณะสำรวจได้เก็บตัวอย่างจาก 8 จุดทดลองรอบๆ ซีโนบาเญนา เพื่อวัดผลกระทบจากการละลายของธารน้ำแข็งบนเกาะซานตาอินเนส ซึ่งพบว่าการละลายเป็นไปในอัตราเร่ง จนหินโผล่ออกมาให้คณะสำรวจได้เห็น ทั้งที่ก่อนหน้านั้นในการสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือน เม.ย.ปีที่ผ่านมาไม่มีอยู่ แมกซิโม แฟรงโกปูลอส (Maximo Frangopulos) หัวหน้าคณะสำรวจ และศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแมกเจลแลนส์ (University of Magellanes) กล่าวว่า ระดับน้ำที่ละติจูดสูงๆ ทั้งทางซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ให้ข้อมูลทางชีววิทยาและสรีรเคมี (physiochemical) ปริมาณมหาศาล ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลที่ใช้เพื่อการตัดสินใจที่สำคัญ สำหรับโครงการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์หวั่นว่าจะเกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (red tide) ปรากฏการณ์ที่มีจุลินทรีย์ปริมาณมากเกินซึ่งดูดซับเอาออกซิเจนปริมาณมหาศาลและผลิตสารพิษออก ที่จะส่งผลให้สิ่งมีชีวิตทางทะเลตายไปจำนวนมาก ถึงตอนนี้นักวิจัยเริ่มสังเกตเห็นจำนวนวาฬหลังค่อมที่ค่อยๆ ลดลง และปรากฏสิ่งมีชีวิตอื่น อย่างเช่น สิงโตทะเล ที่ไม่เคยพบมาก่อนในแถบบริเวณดังกล่าว รวมถึงจำนวนโลมาที่มากขึ้นด้วย อีกทั้งยังพบว่าแคลเซียมคาร์บอนเนตมีความเข้มข้นลดลง ซึ่งเป็นสิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อเปลือกแข็งของสิ่งมีชีวิตทางทะเลอย่างหอยและหมึก หรือกริลล์ได้ ซึ่งสัตว์เหล่านั้นเป็นอาหารหลักของวาฬ “นั่นเหมือนจิ๊กซอว์ที่เราพยายามต่อเข้าด้วยกัน เพื่อทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้นส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเลตั้งแต่ขั้นต้นไปจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบทั้งในเชิงสังคมและเศรษฐกิจต่อภูมิภาคดังกล่าวได้” พินโตกล่าว นอกจากนี้ปูที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจต่อภูมิภาครอบๆ ช่องแคบซีโนบาเญนานั้น อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศนี้ เนื่องจากจพเป็นต้องใช้แคลเซียมเพื่อสร้างกระดองที่แข็งแรง ทั้งนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ยังวางกำหนดที่จะกลับไปยังบริเวณช่องแคบนั้นในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกใต้ เพื่อเก็บตัวอย่างใหม่ๆ และเพื่อหาว่ามีความลับอื่นใดอีกบ้างอยู่ในน้ำของภูมิภาคปาตาโกเนียของชิลีที่รอการเปิดเผย Manager online 15.01.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร