Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ขยายผลงานวิจัยเครื่องเอกซเรย์ฟันสามมิติให้ 2 รพ.ในกรุงเทพฯ  

กทม.จับมือ สวทช. ส่งเสริมนวัตกรรมไทย ใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติทางทันตกรรม “เดนตีสแกน” กรุงเทพมหานคร โดย สำนักการแพทย์ (สนพ.) และ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการขยายผลงานวิจัย DentiiScan เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย” เพื่อส่งเสริมและผลักดันนวัตกรรมไทย สู่การใช้งานเครื่องเดนตีสแกนรุ่น 2.0 ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ จำนวน 2 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และโรงพยาบาลสิรินธร เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตสู่ประชาชน นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายแพทย์พิชญา นาควัชระ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการขยายผลงานวิจัย DentiiScan เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย” วันที่ 14 ม.ค.32 เวลา 13.00 น. ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ภายในงานมี ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโสสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและผู้อำนวยการโครงการวิจัยพัฒนาเครื่องเดนตีสแกน นายแพทย์สมชาย จึงมีโชค ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ และคณะผู้บริหารทั้งสององค์กร เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนาม นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คุณภาพชีวิต การดูแลประชาชน สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ เพื่อดำเนินการพัฒนางานวิจัยทางด้านทันตกรรม โดย สวทช. ได้พัฒนาผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาอย่างต่อเนื่อง และเล็งเห็นความสำคัญของประชาชนกรุงเทพมหานคร โดยนำเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติทางทันตกรรมหรือเดนตีสแกน และผลักดันเทคโนโลยีทางทันตกรรมรากฟันเทียมแบบครบวงจรด้วยนวัตกรรมไทย มาใช้ในโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายของประชาชนได้เป็นอย่างดี เช่น ความสะดวกของประชาชนที่มาใช้บริการด้านทันตกรรมในโรงพยาบาล “ในอนาคตจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลด้านทันตกรรม ระหว่างโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ช่วยให้ทันตแพทย์มองเห็นโครงสร้างช่องปากและขากรรไกรของผู้ป่วยแบบ 360 องศา ลดความผิดพลาดในการผ่าตัดในช่องปากของผู้ป่วย และเพิ่มประสิทธิภาพในการฝังรากฟันเทียม ที่สำคัญคือ เป็นนวัตกรรมที่ผลิตโดยคนไทย โดยมีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากลผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยทางปริมาณรังสีจากสำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ มีปริมาณรังสีต่ำใกล้เคียงกับเครื่องที่ผลิตจากต่างประเทศ ผ่านความปลอดภัยทางระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์” สำหรับเครื่องเดนตีสแกน และการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรมที่จะนำไปให้บริการประชาชนในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ทั้ง 2 แห่ง จะช่วยให้ประชาชนในกรุงเทพมหานคร ได้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีนวัตกรรมซึ่งเกิดจากฝีมือนักวิจัยที่เป็นคนไทย ที่ช่วยลดค่าใช้จ่าย และยังทำให้ประเทศไทยสามารถลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูง ดร.ณรงค์ กล่าวว่า เครื่องเดนตีสแกนเป็นผลงานวิจัยพัฒนาของ สวทช. โดยโครงการนี้ได้เริ่มวิจัยพัฒนาอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มี ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ เป็นผู้อำนวยการโครงการในการพัฒนาเครื่องดังกล่าว เครื่องเดนตีสแกนเป็นตัวอย่างผลงานวิจัยไทยที่มีคุณสมบัติและมาตรฐานระดับสากล ซึ่งพิสูจน์ว่าใช้งานได้จริง และได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการผลิตเชิงพาณิชย์ให้แก่บริษัทเอกชนแล้ว “ปัจจุบันเครื่องเดนตีสแกน มีจำนวนการใช้งานทั้งสิ้น มากกว่า 5,000 ครั้ง เครื่องเดนตีสแกนจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการก้าวสู่ยุคดิจิทัลทางทันตกรรม จากการใช้ข้อมูล 3 มิติ ซึ่งจากข้อมูล 3 มิติที่ได้ จะทำให้สามารถนำเทคโนโลยีอื่นๆ เข้ามาสนับสนุนการทำงานของทันตแพทย์ อย่างเช่น การวางแผนผ่าตัด, การใช้อุปกรณ์นำร่องสำหรับเจาะช่วยในการผ่าตัด เป็นต้น ทำให้การฝังรากฟันเทียมมีประสิทธิภาพแม่นยำ และปลอดภัย นำไปสู่การเกิดเป็น “แพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม” ความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร และ สวทช. ในวันนี้ ดำเนินงานภายใต้โครงการ Big Rock ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในส่วนของนโยบาย “วิทย์เสริมแกร่ง” ซึ่งเป็นการตอบโจทย์การสร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับประเทศไทย โดยมีเป้าหมายในการติดตั้งเครื่องเดนตีสแกนในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของรัฐ จำนวน 50 แห่งทั่วประเทศ พร้อมการฝึกอบรมการใช้งาน ให้กับบุคลากรทางทันตกรรม อาทิ ทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ จำนวน 500 คน ให้มีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทางทันตกรรม “การร่วมลงนามความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ให้เกิดการขับเคลื่อนและบูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริม ผลักดันในกลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเทคโนโลยีที่และอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ สร้างสังคมที่เปี่ยมสุข ประชาชนมีสุขภาพที่ดี นำสู่ความเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยอย่างยั่งยืนในอนาคต” Manager online 14 มกราคม 2562

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร