Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เทคโนฯนาโน คืนชีพผงหมึกเลเซอร์ คมชัดเหมือนแกะกล่องใหม่  

นักวิจัยศูนย์นาโนฯ รับโจทย์เอกชนใช้เทคโนโลยีจิ๋ว ปรับปรุงประสิทธิภาพขยะหมึกพิมพ์เลเซอร์ ฟื้นคุณสมบัติเพิ่มความคมชัดเทียบเคียงของใหม่ ช่วยผู้ประกอบการสร้างรายได้จากขยะอุตสาหกรรม ปัจจุบันการใช้เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์เป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากมีความเร็วในการพิมพ์สูง เสียงเบาและที่สำคัญใช้หมึกผงที่สามารถละลายติดกระดาษได้โดยตรง งานพิมพ์จึงมีความคมชัด กันน้ำและไม่รางเลือน อีกทั้งผู้ประกอบการที่จัดจำหน่ายก็รับหน้าที่ในการทำลายหมึกพิมพ์เก่า ทำให้เห็นโอกาสจากขยะอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าได้ ลัพธ์พร วยาจุต นักวิจัยห้องปฏิบัติการวัสดุนาโนเฉพาะทางและโครงสร้างพื้นผิว ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) กล่าวว่า หมึกผงสำหรับเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ เมื่อใช้งานได้ระยะหนึ่งประสิทธิภาพจะลดลง สีหมึกจะซีดจาง ไม่คมชัดเหมือนเริ่มเปิดใช้ใหม่ๆ บริษัทที่จำหน่ายและรับกำจัดขยะเหล่านี้จะนำผงหมึกออกมาเผาทำลาย ขณะที่บ่อยครั้งพบว่า ปริมาณหมึกผงในตลับที่รับมากำจัดยังเหลืออยู่มาก จึงน่าจะมีวิธีที่ช่วยให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง ผู้ประกอบการมีความพยายามนำหมึกพิมพ์ที่คงค้างในตลับกลับมาใช้ซ้ำ แต่พบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของการพิมพ์ จึงต้องนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดทิ้ง เช่น เกิดสีดำบนพื้นหลังของชิ้นงาน ทำให้ความคมชัดและสีที่ได้ผิดเพี้ยนไป และมีความเข้มสีต่ำ “เมื่อ 3 ปีก่อนทางนาโนเทคได้รับการติดต่อจากผู้ประกอบการที่อยากจะนำของที่ต้องทำลายทิ้งมาแก้ไขเพื่อสร้างรายได้จากเศษเหลือทิ้ง ในขณะเดียวกันก็ลดขยะ จึงติดต่อมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาโดยมีโจทย์หลักคือ การนำกลับมาใช้ใหม่ มีต้นทุนไม่สูงมากและคุณภาพเทียบเคียงหมึกใหม่” ลัพธ์พร กล่าว ทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการฯ มุ่งการวิจัยที่ขับเคลื่อนควบคู่ไปกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยประยุกต์ใช้วัสดุใหม่ให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตระดับปลายน้ำ ปัจจุบันมุ่งเน้นการพัฒนาวัสดุให้สีและวัสดุที่ตอบสนองต่อไฟฟ้า การห่อหุ้ม และการตรวจวัดเชิงเคมีและชีววิทยา ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาวัสดุควบคุมการปลดปล่อย ที่สามารถปรับสมบัติได้ตามต้องการและอุปกรณ์ตรวจวัดเพื่อการดำรงชีวิตแบบอัจฉริยะ โครงการ “ปรับปรุงประสิทธิภาพหมึกพิมพ์เลเซอร์ ด้วยเทคโนโลยีนาโน” จึงเริ่มขึ้นโดยแบ่งการวิจัยเป็น 3 เฟส เริ่มจากการศึกษาวิเคราะห์หมึกผงเชิงลึก เพื่อพิสูจน์ไอเดียว่าจะสามารถแก้โจทย์ให้ผู้ประกอบการได้หรือไม่ โดยใช้ความเชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นผิว เฟส 2 เป็นการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ ทั้งกระบวนการผลิตและการทดสอบประสิทธิภาพ และ เฟส 3 เป็นการอัพสเกลการผลิตระดับอุตสาหกรรมขนาด 200 ลิตร ที่ต้องคำนึงถึงศักยภาพในการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีของผู้ประกอบการเป็นหลัก และสามารถผลิตหมึกพิมพ์รีไซเคิลที่ราคาถูกกว่าของใหม่ โดยมีคุณภาพเทียบเคียงกัน งานวิจัยชิ้นนี้ นอกจากจะเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าแล้ว ยังเป็นการเปลี่ยนจากขยะที่สร้างปัญหามลพิษให้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ปัจจุบันหมึกพิมพ์ที่ได้จากงานวิจัยนี้ได้ผ่านการทดสอบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC19752:2004 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้ควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ตลับหมึกพิมพ์ คาดการณ์ว่า จะสามารถนำมาใช้แทนหมึกใหม่ได้มากขึ้น และทำให้ผู้ประกอบการสามารถเดินตามแนวทางของ Zero Waste นวัตกรรมรีไซเคิลหมึกพิมพ์แบบเลเซอร์นั้น ทำให้ขยะเหลือน้อยที่สุดและกำจัดที่เหลือด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผล Bangkokbiznews 15 มกราคม 2562

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร