Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ม.มหิดลพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3 สมุนไพร "ลูกซัด-ขิง-ขมิ้น" เพิ่มน้ำนมแม่สูงเกือบ 5 เท่า  

ม.มหิดล พัฒนาตำรับ 3 สมุนไพร ลูกซัด ขิง ขมิ้น วิจัยพบช่วยเพิ่มน้ำนมแม่สูงเกือบ 5 เท่า แต่ไม่ควรกินขณะตั้งครรภ์ เหตุลูกซัดส่งผลการบีบตัวมดลูก อาจทำคลอดก่อนกำหนดได้ ได้ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ระดับโลก ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้าคณะวิจัย สมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่ กล่าวว่า ทีมได้วิจัยทดสอบประสิทธิภาพของตำรับสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ ลูกซัด ขิง และขมิ้น ภายใต้สิทธิบัตรแบรนด์ “ฟีนูแคปพลัส” จากบริษัท สมุนไพรบ้านอาจารย์ จำกัด โดยทำการทดสอบในกลุ่มแม่ให้นมบุตร รูปแบบเป็นการวิจัยแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุมและปกปิดทั้งสองทาง และศึกษาในกลุ่มมารดาที่ให้นมบุตรมาแล้ว 1 เดือน น้ำนมจึงค่อนข้างคงที่ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับสมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่ ส่วนอีกกลุ่มได้รับยาหลอก ทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งทางทีมวิจัย ได้มีการตรวจประเมินร่างกาย วิเคราะห์เลือดทางชีวเคมี และมีการเก็บตัวอย่างน้ำนมทั้งก่อนและหลังการรับประทาน ตลอดจนมีการบันทึกอาหารที่แม่ทานในแต่ละวัน เพื่อศึกษาปัจจัยด้านอาหารร่วมด้วย ผศ.ดร.เอกราช กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนมมารดาก่อนการทดลอง ในกลุ่มที่ได้รับสมุนไพร อยู่ที่ 710 มล. /วัน และในกลุ่มยาหลอกอยู่ที่ 736 มล./วัน ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่หลังจากการทดลองในสัปดาห์ที่ 2 พบว่า ปริมาณน้ำนมในกลุ่มมารดาที่ทานสมุนไพรฯ เพิ่มขึ้น 49% และเพิ่มสูงขึ้นถึง 103 % ในสัปดาห์ที่ 4 อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ สูงขึ้นเกือบ 5 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ที่เพิ่มขึ้นเพียง 11% และ 24% ในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ตามลำดับ สำหรับวิธีรับประทานสมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่ ทีมวิจัยแนะนำว่า สามารถทานได้ทันทีหลังคลอดลูก ก่อนอาหาร 3 มื้อ มื้อละ 3 แคปซูล แต่ไม่ควรทานระหว่างการตั้งครรภ์ เนื่องจาก ส่วนผสมของลูกซัดมีผลต่อการบีบตัวของมดลูก อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ นอกจากนี้ ยังพบเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของวิตามินเอในน้ำนมแม่ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีปริมาณวิตามินเอลดลง รวมถึง การทำงานของตับและไตทั้งก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน และไม่พบรายงานใดๆ ถึงผลข้างเคียงในทารก รวมทั้งผลงานวิจัยตำรับสมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่ ถือเป็นครั้งแรกของไทยที่ได้มีการตีพิมพ์ในวรสาร การแพทย์ระดับโลก “Breastfeeding Medicine” นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้รับการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้าน ผศ.ดร.พัชราณี ภวัตกุล อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ภาวะหญิงให้นมบุตรต้องการสารอาหารต่างๆ มากขึ้น เช่นเดียวกับหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งต้องการพลังงานในการสร้างและหลั่งน้ำนมด้วย โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนเด็กอายุ 6 เดือน การเลือกกินอาหารที่ดีถูกต้องตามหลักโภชนาการจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ พบว่าประเทศไทยมีแม่ที่ให้นมบุตรจนเด็กอายุถึง 6 เดือน เพียงแค่ 15 เปอร์เซ็น ขณะที่สปป.ลาว 40 เปอร์เซ็น อินโดนีเซีย 42 เปอร์เซ็น โดยเหตุผลที่แม่คนไทยไม่สามารถให้นมได้ถึง 6 เดือน จากการสำรวจพบว่าร้อยละ45.5 คือแม่คิดว่า น้ำนมแม่มีไม่เพียงพอ อย่างไรก็ดี แม่ที่ให้นมบุตรที่อายุไม่ถึง 6 เดือน แต่ให้ทานนมผงแทน จะมีผลต่อพัฒนาการของเด็ก และให้พลังงานสูง อาจทำให้เด็กเกิดภาวะโรคอ้วนได้ ส่วนแม่ที่ให้นมบุตร 6 เดือน หรือมากกว่า จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการ สุขภาพที่ดี รวมทั้งมีพัฒนาการทางสมองดี เป็นเด็กฉลาด Manager online 18.01.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร