Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สาวๆเตรียมเฮ! แผ่นแปะนาโนลดไขมันจากจุฬามาแล้ว  

แผ่นแปะลดไขมันใต้ผิวหนัง ผลงานวิจัยจากแล็บจุฬาฯ ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการลดไขมันเฉพาะส่วน ดึงเทคโนโลยีนาโนมาช่วยนำส่งสารสมุนไพรที่มีฤทธิ์สลายไขมันเข้าสู่ผิวหนัง แผ่นแปะลดไขมันใต้ผิวหนัง ผลงานวิจัยจากแล็บจุฬาฯ ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการลดไขมันเฉพาะส่วน ดึงเทคโนโลยีนาโนมาช่วยนำส่งสารสมุนไพรที่มีฤทธิ์สลายไขมันเข้าสู่ผิวหนัง เริ่มจากส่วนแขน หน้าท้อง เตรียมขยายไลน์ส่วนต้นขา สะโพก เล็งส่งต้นแบบทดสอบตลาดก่อนผลิตสู่เชิงพาณิชย์ ผลงานวิจัยได้รับรางวัลทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวนมาก อีกทั้งได้รับการติดต่อจากผู้ประกอบการหลายรายที่ขออนุญาตใช้สิทธิ ล่าสุดได้รับทุนในโครงการดำเนินกิจกรรมผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (Research Gap Fund-TED Fund) เพื่อผลิตสินค้าต้นแบบออกมาทดลองตลาด ก่อนที่จะผลิตออกสู่เชิงพาณิชย์กับบริษัทที่เข้ามาขออนุญาตใช้สิทธิ จากสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาจุฬาฯ นาโนฟอร์มแก้ปัญหาเฉพาะจุด ผศ.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แนวคิดในการพัฒนาแผ่นแปะลดไขมันใต้ผิวหนังเกิดจากองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาจนกระทั่งเป็นอาจารย์สอนในคณะแพทยศาสตร์เกี่ยวกับชีววิทยาของไขมัน ซึ่งพบว่า ไขมันแต่ละประเภททำงานไม่เหมือนกัน หรือทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคต่างกัน อีกทั้งสนใจศึกษาวิจัยยาลดไขมันหรือยาลดความอ้วน ซึ่งส่วนใหญ่มักมีผลข้างเคียง จึงเกิดความคิดที่จะพัฒนายาจากสมุนไพร อาทิ สารสกัดจากผิวองุ่นแดงที่มีฤทธิ์ลดไขมันช่วยเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหลอดเลือด, กรดไลโปอิกในพืชผักใบสีเขียวเข้ม คาเฟอีน และสารสกัดสมุนไพรอื่นๆ ที่ช่วยลดไขมันใต้ผิวหนังมาพัฒนาเป็นสูตรเฉพาะ ซึ่งเป็นสิทธิบัตรของสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาจุฬาฯ ทั้งกระบวนการผลิตและรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่จะออกมาสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นผลงานที่ ผศ.โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ นางสาวสโรชา เชิดโฉม และทีมวิจัย เป็นผู้พัฒนา ปัจจุบันยาลดไขมันส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดรับประทานอาจส่งผลข้างเคียง ส่วนผลิตภัณฑ์ครีมหรือเจล ต้องอาศัยการถูและนวดเพื่อให้ตัวยาซึมเข้าสู่ผิวหนังและออกฤทธิ์เฉพาะจุด ผู้ใช้บางคนอาจไม่สะดวกที่จะทาถูนวดอย่างสม่ำเสมอ ทำให้การใช้ผลิตภัณฑ์ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงสร้างความแตกต่างด้วยการนำนาโนเทคโนโลยีมาช่วยนำส่งยาที่มีฤทธิ์สลายไขมันเข้าสู่ผิวหนัง ด้วยความสามารถในการขนส่งยาที่ดีของอนุภาคนาโนจะช่วยให้การออกฤทธิ์ของยามีประสิทธิภาพขึ้น ทำให้เกิดการสลายไขมันยาวนานขึ้น อีกทั้งรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นแปะ จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ไม่ต้องเสียเวลาในการทาหรือนวด “เราพัฒนาเป็นนาโนฟอร์ม ทำให้สารสกัดจากธรรมชาติสามารถซึมผ่านผิวหนังได้เร็วและมีผลเฉพาะจุดตามต้องการ จึงสามารถใช้ได้ทั้งกับคนอ้วนและคนไม่อ้วน แต่ต้องการขจัดไขมันส่วนเกินเฉพาะจุด ที่สำคัญตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ไม่อยากรับประทานยา” แผ่นแปะนี้จะเป็นการลดไขมันจากใต้ผิวหนังส่วนบน เช่น แขน หน้าท้อง จากการทดลองในอาสาสมัครเป็นเวลา 2 สัปดาห์เห็นผลเป็นที่น่าพอใจ คาดว่า ไตรมาส 2 นี้จะเห็นตัวผลิตภัณฑ์ออกมาวางจำหน่ายให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้หญิงอายุ 25 ปีขึ้นไป แต่ผู้ชายก็สามารถใช้ได้ ในอนาคตอาจจะผลิตเฉพาะของผู้ชายแยกออกมาอีกเซกเมนต์หนึ่ง ส่วนไขมันส่วนล่าง เช่น ต้นขา สะโพก จะเป็นผลิตภัณฑ์ถัดไปเช่นเดียวกับใบหน้า เพราะปัจจุบันไม่มีนวัตกรรมอะไรที่สามารถใช้ได้กับทุกคน หรือทุกส่วนของร่างกาย นวัตกรรมต้องใช้เวลา &ผู้รู้ ทีมงานใช้เวลา 2 ปีครึ่งในการพัฒนาแผ่นแปะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปริญญานิพนธ์ของ นางสาวสโรชา ที่เพิ่งได้รางวัลประกวดผลงานวิจัยปริญญาเอก ระดับดีเด่นประจำปี 2561 และล่าสุด มีบริษัทติดต่อเข้ามาเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ โดยให้ทางนิสิตร่วมเป็นโคฟาวเดอร์ เพื่อทำหน้าที่ต่อยอดนวัตกรรมออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ เพราะงานวิจัยที่ออกสู่เชิงพาณิชย์จนประสบความสำเร็จเป็นเรื่องยาก เนื่องจากต้องผ่านหุบเหวหลายขั้นตอน สถาบันการศึกษาไม่เก่งในเชิงพาณิชย์ ส่วนภาคธุรกิจไม่สามารถพัฒนาต่อยอดได้โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กและกลาง แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาแพลตฟอร์มสนับสนุนให้นำบุคลากรภาควิจัยไปทำงานร่วมกับภาคธุรกิจเพื่อให้สามารถต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง ไม่ใช่แค่การขายไลเซนส์ "เราพยายามผลักดันให้นิสิตที่ทำงานวิจัยออกตั้งบริษัทตนเอง เป็นสตาร์ทอัพที่โฟกัสที่สินค้า 2-3 ชิ้นแต่มีความพิเศษเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร มีสิทธิบัตรคุ้มครองและสามารถพัฒนาสินค้านั้นไปสู่ระดับโลกได้ เป็นการพัฒนาผลงานวิจันไปสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์” ผศ.นพ.อมรพันธุ์ กล่าวว่า รูปแบบการทำธุรกิจปัจจุบันแตกต่างจากเดิม เทคโนโลยีเข้ามาดิสรัปความเชื่อความคิดแบบเดิมให้เปลี่ยนไปเกิน 20 ปีต่อจากนี้วงการแพทย์จะเปลี่ยนไปจะเป็นการแพทย์แบบแม่นยำ อนาคตอาจต้องตรวจดีเอ็นเอของผู้ป่วยก่อน เพื่อดูว่ายาตัวไหนได้ผล ตัวไหนไม่ได้ผล เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น Bangkokbiznews 22.01.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร