Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ผลการศึกษาชี้มนุษย์ต้องลดทานน้ำตาลเเละเนื้อเเดงเพื่อสุขภาพเเละโลก  

ทีมนักวิจัยที่มีสมาชิกมากกว่า 30 คน ได้สรุปผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ เดอะแลนเซ็ท (The Lancet) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า คนเราจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและกินอาหาร โดยต้องลดการรับประทานน้ำตาลและเนื้อเเดงลงมาราวครึ่งหนึ่ง เเละรับประทานผัก ผลไม้ และถั่วเพิ่มขึ้นเท่าตัว ทิม เลง (Tim Lang) หนึ่งในผู้ร่างรายงานผลการศึกษาเเละศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย University of London เเละหัวหน้านโยบายของคณะกรรมการเอเอที-แลนเซ์ท (EAT-Lancet Commission) ที่รวบรวมการศึกษายาว 50 หน้านี้ กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า คนเรากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่จะสร้างหายนะ ในปัจจุบัน มีคนเกือบหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกที่หิวโหย และคนอีกสองพันล้านคนที่กินอาหารที่ไม่ดีต่อร่างกายมากเกินไป คนจำนวนมากเป็นโรคอ้วน โรคหัวใจ เเละโรคเบาหวาน ทำให้มีคนเสียชีวิตก่อนวัยถึงเกือบ 11 ล้านคนทุกปี ในขณะเดียวกัน การผลิตอาหารทั่วโลกเป็นแหล่งสร้างแก๊สเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุด เเละการเกษตรกรรมซึ่งได้ปรับโฉมหน้าพื้นที่ดินเกือบครึ่งหนึ่งบนโลก ยังเป็นกิจกรรมที่ใช้น้ำในปริมาณมากเกือบร้อยละ 70 ของแหล่งน้ำจืดทั่วโลก โจฮัน ร็อคสตรอม (Johan Rockstrom) ผู้อำนวยการแห่งสถาบันพอทสแดมเพื่อการวิจัยผลกระทบจากภาวะโลกร้อน (Potsdam Institute for Climate Change Impact Research) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมร่างผลการวิจัย กล่าวว่า หากต้องเลี้ยงคนที่จะเพิ่มขึ้นไปเป็น 10,000 ล้านคนบนโลกภายในปี ค.ศ. 2050 หรือในอีก 32 ปี โดยคำนึงถึงขีดจำกัดของทรัพยากรบนโลกเป็นหลัก คนเราต้องปรับเปลี่ยนไปกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดขยะอาหาร เเละลงทุนในเทคโนโลยีที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม เขากล่าวกับเอเอฟพีว่า เรื่องนี้ทำได้ แต่ต้องปฏิวัติการเกษตรกรรมในระดับทั่วโลก นอกจากนี้ การวิจัยนี้ยังเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนอาหารที่เรากิน โดยบอกว่าคนเราควรได้รับพลังงานจากอาหารไม่เกินวันละ 2,500 แคลอรี่ ศาสตราจารย์เลงกล่าวว่า นี่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องกินเหมือนกันหมด เเต่คนในชาติร่ำรวย ควรลดปริมาณเนื้อสัตว์เเละผลิตภัณฑ์นมลงและกินผักผลไม้เพิ่มขึ้น ปริมาณอาหารที่เเนะนำต่อวันนี้กำหนดว่า คนเราควรกินเนื้อเเดงเพียงวันละราว 7 กรัมจนถึง 14 กรัม หากเทียบเเล้ว เนื้อแฺฮมเบอร์เกอร์หนึ่งชิ้นมีเนื้อแดงราว 125 ถึง 150 กรัม เนื้อวัวเป็นตัวปัญหาหลัก เพราะนอกจากปศุสัตว์จะสร้างแก๊สมีเทนปริมาณมหาศาลซึ่งเป็นหนึ่งในแก๊สเรือนกระจกเเล้ว ในหลายประเทศโดยเฉพาะบราซิล มีการตัดต้นไม้ในพื้นที่ป่าจำนวนมากซึ่งช่วยดูดซับเเก๊สเรือนกระจกเพื่อใช้เป็นพื้นที่เลี้ยงปศุสัตว์ ร็อคสตรอมเปรียบเทียบว่า ถ่านหินเป็นต้นเหตุหลักของแก๊สเรือนกระจกที่กระทบต่อภาวะโลกร้อน เช่นเดียวกับเนื้อวัวที่เลี้ยงด้วยธัญพืช เขากล่าวว่าต้องใช้ธัญพืชถึง 5 กิโลกรัมเพื่อให้ได้เนื้อสัตว์หนึ่งกิโลกรัม และเมื่อเนื้อสเต็กหรือเนื้อเเกะถูกเสริฟเป็นอาหาร และราว 30 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่เสริฟถูกทิ้งลงถังขยะเพราะกินไม่หมด นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังจำกัดด้วยว่า คนเราควรบริโภคผลิตภัณฑ์นมลดลง โดยควรดื่มนมสดหนึ่งแก้วหรือ 250 กรัมต่อวันเท่านั้น และหากเป็นชีสหรือโยเกิร์ต ก็ต้องไม่เกิน 250 กรัมต่อวัน เเละควรกินไข่เพียงสัปดาห์ละ 1-2 ฟองเท่านั้น รายงานชิ้นนี้เจอกับคำวิจารณ์อย่างหนักจากภาคอุตสาหกรรมเลี้ยงปศุสัตว์และโคนม ตลอดจนจากผู้เชี่ยวชาญบางคน อเล็กซานเดอร์ แอนตัน (Alexander Anton) เลขาธิการสมาคมผลิตภัณฑ์โคนมแห่งยุโรป (European Dairy Association) ชี้ว่ารายงานชิ้นนี้พยายามอย่างมากในการดึงความสนใจ เเต่ควรระมัดระวังอย่างมากหากออกคำเเนะนำใดๆ เกี่ยวกับปริมาณอาหารที่คนควรรับประทาน เขาย้ำว่าผลิตภัณฑ์นมชนิดต่างๆ เต็มไปด้วยสารอาหารเเละวิตามิน คริสโตเฟอร์ สโนวดัน (Christopher Snowdon) แห่งสถาบันด้านกิจการเศรษฐกิจ (Institute of Economic Affairs) ในกรุงลอนดอน กล่าวว่า รายงานนี้เเสดงให้เห็นถึงความพยายามของกลุ่มนักรณรงค์ที่ต้องการควบคุมวิธีการใช้ชีวิตของคนทั่วโลก ด้านศาสตราจารย์ ทิม เลง หัวหน้าผู้ร่างผลการวิจัย กล่าวว่า เขาคาดอยู่ เเล้วว่าจะเจอกับคำโจมตีเเบบนี้ เเต่บริษัทผลิตอาหารที่ต่อต้านผลการวิจัยนี้ตระหนักดีว่าพวกเขาอาจไม่มีอนาคตหากไม่ปรับตัว และว่า คำถามในตอนนี้คือเราจะรอให้เกิดวิกฤติก่อน หรือจะเริ่มวางแผนเพื่อรับมือกับปัญหาในตอนนี้หรือไม่ Voice of America 22.01.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร