Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

พลาสติกชีวภาพไทยทำ พร้อมลุยตลาดโลก  

นักวิจัย มช. ประสบความสำเร็จในการพัฒนาพลาสติกชีวภาพคุณภาพสูงสำหรับเครื่องมือแพทย์ พร้อมส่งต่อ ปตท. ทำตลาด หวังลดการนำเข้า เอื้อคนไทยเข้าถึงบริการการแพทย์ในราคาเอื้อมถึง ลุ้นต่อยอดไหมเย็บแผลละลายได้บุกตลาดเอเชียแบบคู่ขนาน ไทยต้องสั่งนำเข้า “เม็ดพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ” แล้วนำมาขึ้นรูปเป็นวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์พร้อมใช้ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมปลายน้ำของพลาสติกที่มีมูลค่าเพิ่มสูงมาก มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและคาดว่าจะต่อเนื่องไปในอนาคต นวัตกรรมทำน้อยได้มาก “เรามองเห็นโอกาสและต้องการเทคโนโลยีการผลิตพลาสติก และนวัตกรรมการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ ทีมวิจัยจึงพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพอลิเมอร์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพเกรดทางการแพทย์ โดยใช้วัตถุดิบชีวมวลทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นมูลค่าต่ำ เพื่อนำไปใช้เป็นเม็ดพลาสติกสำหรับผลิตวัสดุทางการแพทย์ที่สามารถย่อยสลายได้ในร่างกาย” ผศ.วินิตา บุณโยดม หัวหน้าศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าว การวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตพลาสติกชีวภาพได้เริ่มตั้งแต่ปี 2550 ก่อนจะขยับสู่พลาสติกชีวภาพที่ใช้ในทางการแพทย์ เนื่องจากพลาสติกชีวภาพเกรดใช้เชิงพาณิชย์นั้น มีบริษัทเอกชนทำและจำหน่ายแล้ว การที่มหาวิทยาลัยจะทำแข่งเป็นไปได้ยาก จึงมองหาตลาดใหม่ที่ทำน้อยแต่ได้มาก อย่างเกรดที่ใช้ในทางการแพทย์ที่มีกระบวนการผลิตที่ยากและซับซ้อนกว่า ม.เชียงใหม่ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้ร่วมทุนสนับสนุนโครงการผลิตพอลิเมอร์ดูดซึมได้คุณภาพสูงสำหรับเครื่องมือแพทย์ โดยสร้างห้องปฏิบัติการผลิตพลาสติกชีวภาพทางการแพทย์ที่ มช. เป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้การรับรอง ISO 13485 เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพลาสติกชีวภาพโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาใหม่ เม็ดพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพประเภทพอลิเอสเทอร์เกรดทางการแพทย์ ที่สามารถผลิตได้ในห้องปฏิบัติการจากวัตถุดิบชีวมวลที่เป็นพืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ผศ.วินิตา กล่าวว่า มีการศึกษาเทียบเคียงประสิทธิภาพกับของนำเข้า พบว่า เทียบเท่ากันแต่ราคาขายถูกกว่า 1 เท่าตัว โดยราคาที่มหาวิทยาลัยทำนั้นอยู่ราว 7.8-9 หมื่นบาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ของนำเข้าอยู่ที่ 1.2-2 แสนบาทต่อกิโลกรัม “เม็ดพลาสติกเกรดการแพทย์นี้สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับผลิตวัสดุทางการแพทย์ที่ย่อยสลายได้ในร่างกายมนุษย์ เช่น ไหมเย็บแผลที่ละลายได้ ท่อนำเส้นประสาท ตัวควบคุมการปลดปล่อยตัวยาภายในร่างกาย และ เครื่องมือแพทย์ เช่น วัสดุทางทันตกรรม สกรูและแผ่นดาม เป็นต้น โดยปัจจุบัน มีกลุ่มลูกค้าซึ่งเป็นนักวิจัยในประเทศซื้อไปใช้งานแล้ว” มาตรฐาน-ราคาแข่งได้ ปัจจุบัน ห้องปฏิบัติการผลิตพลาสติกชีวภาพทางการแพทย์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเม็ดพลาสติกชีวภาพในเบื้องต้น โดยมีกำลังการผลิต 1 กิโลกรัมต่อครั้งหรือ 120 กิโลกรัมต่อปี โดยในปี 2561 สามารถขายได้กว่า 60 กิโลกรัม และเตรียมที่จะยื่นของบเพื่อซื้อเครื่องมือในการขยายสเกลการผลิตเป็น 10 กิโลกรัมต่อครั้ง นอกจากนี้ ทีมวิจัยร่วมมือกับทีมแพทย์และสัตวแพทย์ ในการนำเม็ดพลาสติกชีวภาพดังกล่าวมาพัฒนาต่อยอดโดยการขึ้นรูปเป็น “ไหมเย็บแผลที่ละลายได้” ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ในร่างกาย จึงช่วยลดขั้นตอนในการรักษา ทำให้แพทย์ไม่ต้องทำการผ่าตัดซ้ำ ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและไม่ต้องเจ็บปวดหลายครั้ง อีกทั้งสามารถลดการนำเข้าจากต่างประเทศได้ 100% คาดว่าจะใช้เวลาอีก 3 ปีในการทดสอบระดับเซลล์ สัตว์ทดลองและทดสอบใช้ในโรงพยาบาลสัตว์ โดยมีเอกชนที่ร่วมวิจัยจะเป็นผู้ทำการตลาด มุ่งสู่ตลาดต่างประเทศ นำร่องในเอเชียทั้งกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว เวียดนามและเมียนมารวมถึงอินเดียและเกาหลีใต้ ที่เป็นผู้นำด้านวัสดุทางการแพทย์แต่ยังต้องนำเข้าเม็ดพลาสติกชีวภาพจากยุโรป ในส่วนการต่อยอดด้านเม็ดพลาสติกชีวภาพเพื่อใช้ทางการแพทย์นั้น ปตท. ที่เข้ามามีบทบาทหลักในการผลักดันผลงานวิจัยของโครงการนี้จากหิ้งไปสู่ห้างให้เกิดเป็นผลสัมฤทธิ์จริง อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายขนาดกำลังการผลิตจากโรงงานต้นแบบที่พัฒนาขึ้นมาจาก 4 ฝ่าย ทางกลุ่ม ปตท. ได้อยู่ในระหว่างการศึกษาร่วมกันเพื่อประเมินความสามารถในการขยายขนาดกำลังการผลิตของเรซินเกรดทางการแพทย์ ทั้งในด้านเทคนิค การตลาด รวมทั้งความคุ้มทุนในการผลิตเชิงพาณิชย์อีกด้วย Bangkokbiznews 24.012019

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร