Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

พัฒนาเตาเผาเซรามิกระบบอัตโนมัติ วัดอุณหภูมิแม่นยำ  

ITAP-สวทช. หนุนผู้เชี่ยวชาญพัฒนาเตาเผาเซรามิกระบบอัตโนมัติ วัดอุณหภูมิแม่นยำ แสดงผลได้ทุกที่ เพิ่มประสิทธิภาพการเผาและคุณภาพสินค้า สร้างศักยภาพการแข่งขันให้อุตสาหกรรมเซรามิกไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) หรือไอแทป ให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ทวีเดช ศิริธนาพิพัฒน์ และคณะวิจัย ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการวิจัยพัฒนาและช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ SME ถึงในโรงงาน ในโครงการ “การออกแบบและพัฒนาระบบวัดและแสดงผลอุณหภูมิเตาเผาเซรามิก” แก่ฆ้อนทองเซรามิกส์ ผู้ประกอบการเซรามิกในจังหวัดลำปาง เพื่อพัฒนาไปสู่การปรับปรุงเตาเผาเซรามิกในรูปแบบระบบอัตโนมัติ ที่สามารถวัดอุณหภูมิได้แม่นยำมากขึ้น ทำให้คุณภาพสินค้าดีขึ้น และลดความเสี่ยงการเสียหายระหว่างการเผา พร้อมนำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) มาใช้ นำค่าอุณหภูมิของเตาเผาขึ้นบน Cloud ทำให้เห็นค่าได้จากทุกแห่งในโลก จึงประเมินคุณลักษณะการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นและปรับปรุงกระบวนการได้ทันท่วงที ส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้นและทันเวลานัดส่งสินค้า ตอบโจทย์การยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซารามิกไทยด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม นางสาววลัยรัตน์ จังเจริญจิตต์กุล ที่ปรึกษาเทคโนโลยีอาวุโส โปรแกรม ITAP สวทช. เปิดเผยว่า สวทช. โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ITAP ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการฆ้อนทองเซรามิกส์ ในการจัดหาผู้เชี่ยวชาญให้ตรงกับโจทย์ความต้องการของลูกค้า ช่วยออกแบบและพัฒนาระบบวัดและแสดงผลอุณหภูมิเตาเผาเซรามิก ให้มีประสิทธิภาพและตรงตามมาตรฐาน และสนับสนุนค่าใช้จ่ายของโครงการ 50 % เช่น ค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญ ค่าวัสดุทดสอบทดลอง และค่าวิเคราะห์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันจังหวัดลำปางมีโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผากว่า 200 - 300 โรง ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็กหรืออุตสาหกรรมครัวเรือน ส่วนโรงงานขนาดใหญ่มีเพียง 20 กว่าโรงเท่านั้น อุตสาหกรรมเซรามิกไทยอยู่ในช่วงขาลงเพราะสินค้าจากประเทศจีนเข้ามาขายตัดราคา จึงต้องปรับตัวด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานเซรามิกใหม่ๆ เช่น ของตกแต่งบ้านรูปร่างแปลกตา เครื่องประดับสวยงาม หรือแม้แต่ลวดลายเซรามิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมกับทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย ผศ.ทวีเดช ศิริธนาพิพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP สวทช. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ทางตนได้รับทราบปัญหาจากผู้ประกอบการและข้อจำกัดที่ทางบริษัทพบในการผลิต เพื่อนำไปศึกษาปรับองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับการผลิตในระดับ SME แนะแนวทางใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต โดยในขั้นตอนและแนวทางการออกแบบและพัฒนาระบบวัดและแสดงผลอุณหภูมิเตาเผาเซรามิก เริ่มจากการรับทราบช่วงอุณหภูมิที่ต้องการวัดในกระบวนการเผาเซรามิก ในที่นี้ช่วงอุณหภูมิเตาเผาสูงสุดที่ต้องการวัดคือ 1200 - 1300 องศาเซลเซียส จึงเลือกเซนเซอร์ที่เรียกว่า Thermocouple Type S ที่สามารถทนทานต่อการวัดในอุณหภูมิช่วงนี้ได้ และได้สร้างวงจรอิเลคทรอนิคส์เพื่อรับค่าจากเซนเซอร์ Thermocouple มาแสดงผลเป็นตัวเลขอุณหภูมิของเตาเผา รวมถึงนำเทคโนโลยี Internet of Things มาใช้ในการนำค่าอุณหภูมิของเตาเผาขึ้นบน Cloud ทำให้เห็นค่าอุณภูมิเตาเผาได้จากทุกแห่งในโลกผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้ Cloud service ที่เป็นของ ThingSpeak “ผลที่ได้รับจากการพัฒนาระบบและเทคโนโลยี ทำให้ทราบถึงความถูกต้องของการวัดอุณหภูมิเตาเผา ซึ่งของเดิมที่ใช้มาหลายปีแล้วเกิดความคลาดเคลื่อน คุณภาพชิ้นงานที่เผาออกมาด้อยลง ผู้ปฏิบัติงานต้องคอยใช้ความรู้สึกของตนเองตัดสินว่าอุณหภูมิของเตาเป็นเท่าไหร่จากค่าอุณหภูมิที่วัดแล้วเกิดความคลาดเคลื่อน ซึ่งการนำอุปกรณ์แสดงผลอุณหภูมิที่ได้จาก Thermocouple รวมถึงนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทำงานเตาเผา สามารถประเมินคุณลักษณะการเผาไหม้ที่เกิดขึ้น ทำการปรับปรุงกระบวนการเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที” ผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP ระบุ ด้านผู้ประกอบการเซรามิก นายวีระวัฒน์ สุทธิศาล ผู้จัดการร้านฆ้อนทองเซรามิกส์ กล่าวเสริมว่า บริษัทมีปัญหาหรือโจทย์วิจัยที่อยากให้ ITAP สวทช. ช่วยเหลือคือ การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต เช่น การลดการใช้แรงงานคน เนื่องจากแรงงานฝีมือมีน้อย หายาก และค่าจ้างสูง รวมถึงอยากให้ช่วยสนับสนุนเทคโนโลยีการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อช่วยลดปริมาณของเสีย ลดต้นทุนต่างๆ โดยผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการคือ การได้รับการพัฒนาเครื่องมือการวัดอุณหภูมิที่มีความแม่นยำมากขึ้น ทำให้คุณภาพสินค้าดีขึ้น ลดความเสี่ยงการเสียหายระหว่างการเผา และช่วยให้ผมมีเวลาเพิ่มขึ้นจากการไม่ต้องมาคอยเฝ้าเตาเพื่อคอยเช็คกราฟตลอดเวลา เพราะทางคณะวิจัยสามารถทำให้ผมเช็คครับการเผาผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ขณะที่ผลทางการตลาดที่ได้คือ ทำให้ลูกค้าได้สินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้นและทันเวลานัดส่งสินค้า Manager online 30.01.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร