Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

โลกทุบสถิติร้อนที่สุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 4  

สหประชาชาติยืนยันว่า ในช่วง 4 ปีหลังนี้โลกร้อนสูงสุดต่อเนื่องติดต่อกัน นับตั้งแต่เราเริ่มบันทึกอุณหภูมิของโลก ชี้เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” นั้นจะเดินหน้าต่อไปอีกเป็นระยะเวลายาวนาน รายงานจากเอเอฟพีเผยว่า องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meterological Organization) ขององค์การสหประชาชาติ ได้ระบุไว้เมื่อเดือน พ.ย.ปีที่ผ่านมา ปี ค.ศ.2018 ถูกจัดให้เป็นปีที่ร้อนสูงสุดเป็นอันดับ 4 นับตั้งแต่มีบันทึกอุณหภูมิโลก พร้อมทั้งเน้นย้ำว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องลงมือควบคุมภาวะโลกร้อนที่กำลังเร่งเครื่องขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดองค์การอุตุนิยมวิทยายังได้น้ำข้อมูลอุณหภูมิโลกช่วงสัปดาห์ท้ายๆ ของปี 2018 ที่ผ่านมาเข้าไปร่วมคำนวณในแบบจำลองทางภูมิอากาศ และได้ข้อสรปว่า อุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยเมื่อปี 2018 นั้นสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม 1 องศาเซลเซียส ส่วนปีที่ร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์คือปี 2016 ซึ่งได้แรงหนุนจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) ที่ทำให้ปีดังกล่าวร้อนมากขึ้น อีกทั้ง 20 ปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ยังเกิดขึ้นในช่วง 22 ปีหลังมานี้ด้วย เพตเตอรี ตาลัส (Petteri Taalas) เลขาธิการทั่วไปขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก กล่าวว่าแนวโน้มของอุณหภูมิระยะยาวนั้นมีความสำคัญมากกว่าอันดับอุณหภูมิรายปี และแนวโน้มระยะยาวคืออุณหภูมิจะสูงขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งบอกด้วยว่าอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานั้นผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด ทั้งบนบกและในมหาสมุทร ทางด้านองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ระบุว่าอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นยังก่อให้เกิดสภาพอากาศที่วิปริตหลายๆ อย่าง เช่น พายุเฮอริเคน ภัยแล้ง และน้ำท่วมฉับพลัน โดยตาลัสกล่าวว่า สภาพอากาศรุนแรงหลายอย่างนั้นมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เราคาดว่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และเป็นเรื่องจริงที่เราจำเป็นต้องเผชิญหน้า ทางด้านสหประชาชาติระบุด้วยว่า ปี ค.ศ.2019 นี้ยังรับเอาสิ่งที่ปี ค.ศ.2018 หลงเหลือไว้ ตัวอย่างเช่นออสเตรเลียที่เผชิญอากาศเดือน ม.ค.ที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเตือนด้วยว่า คลื่นความร้อนที่รุนแรงนั้นจะเกิดถี่ขึ้นมาก เนื่องจากผลพวงของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ นอกจากนี้ยังมีรายงานที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับภูมิอากาศ ที่เผยแพร่โดยองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) และองค์การบริหารมหาสมุทรศาสตร์และบรรยากาศสหรัฐฯ (NOAA) ยืนยันว่าปี 2018 ที่ผ่านมาคือปีที่โลกร้อนที่สุดเป็นอันดับ 4 ในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่ อีกทั้งมีรายงานสังเกตการณ์ว่าทะเลน้ำแข็งที่ปกคลุมอาร์กติกและแอนตาร์กติกนั้น ทำสถิติลดเหลือต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ด้านโนอาแถลงด้วยว่ามีภัยพิบัติจากสภาพอากาศเลวร้าย 14 เหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุของการสูญเสียคิดเป็นมูลค่ามากกว่าพันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยระบุว่า เหตุการณ์เหล่านั้นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้คนอย่างน้อย 247 ราย และคิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 9.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 3 ล้านล้านบาท ส่วนปรากฏการณ์ลมหมุนขั้วโลก หรือ โพลาร์วอร์เทกซ์ (polar vortex) ที่เกิดขึ้นในภาคตะวันตกตอนกลางของสหรัฐฯ จนทำให้อุณหภูมิลดต่ำถึง -53 องศาเซลเซียสนั้น ทางตาลัสจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกกล่าวว่าเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมถึงภาวะขั้วโลกที่ร้อนขึ้น ซึ่งความหนาวเย็นของละติจูดที่ต่ำลงมาจากขั้วโลกก็เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลที่แถบอาร์กติก “สิ่งที่เกิดขึ้นที่ขั้วโลกไม่ได้คงอยู่แค่ขั้วโลกเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลต่อสภาพอากาศและลักษณะภูมิอากาศของละติจูดที่อยู่ด้านล่างลงมา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีประชาชนหลายล้านคนอาศัยอยู่” ตาลัสกล่าว ยิ่งโลกยังคงเดินหน้าพึ่งพิงพลังงานฟอสซิลมากเท่าไร ก๊าซเรือนกระจกก็ยิ่งสะสมเพิ่มมากขึ้น และกักเก็บความร้อนไว้ในชั้นบรรยากาศ ซึ่ง โรวาน ซัตตัน (Rowan Sutton) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์บรรยากาศสหรัฐฯ (National Centre for Atmospheric Science: NCAS) กล่าวว่าลักษณะเช่นนี้หมายถึงสถิติปีที่โลกร้อนที่สุดจะเกิดขึ้นตามมาอีกเรื่อยๆ “อีก 5 ปีจากนี้อุณหภูมิที่ร้อนจัดอย่างที่เห็นทุกวันนี้จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติ และอาจจะเกิดอุณหภูมิที่ร้อนมากยิ่งขึ้นอีก เป็นไปได้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยรายปีอาจจะทำสถิติใหม่ทุกปี” ซัตตันกล่าว สอดคล้องกับที่ ไบรอัน ฮอสกินส์ (Brian Hoskins) ประธานสถาบันแกรนแธม มหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน เห็นด้วยกับคาดการณ์ดังกล่าว และเปรียบเปรยการขาดมาตรการที่เด็ดขาดต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศว่า เราเป็นเหมือนนักไต่เขาที่พยายามไต่ขึ้นสู่ที่สูง ทั้งที่รู้ว่าจะไม่มีออกซิเจนเหลืออยู่ที่ความสูงระดับหนึ่ง แต่เราก็ยังคงไต่ขึ้นไป Manager online 07.02.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร