Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

มทร.ธัญบุรี ชูมหาวิทยาลัยสีเขียว! พร้อมผนึกรัฐขยายผล “เครื่องต้นแบบแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพดี”  

นวัตกรรมแปรรูปขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยราชมงคลธัญบุรี เมื่อปีที่ผ่านมา ทำการพัฒนา “เครื่องต้นแบบกระบวนการไพโรไลซิส” สามารถเปลี่ยนขยะพลาสติกและน้ำมันเครื่องใช้แล้ว ให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพเทียบเท่าน้ำมันดีเซลโดยไม่ต้องกลั่นอีกต่อไป ถือว่าเป็นทางเลือกที่นำไปขยายผลเพื่อจะช่วยลดขยะพลาสติก และยังเป็นการส่งเสริมให้มนุษย์ตระหนักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ที่เรียกว่าเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยราชมงคลธัญบุรี (มทร.) ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการพัฒนา “เครื่องต้นแบบกระบวนการไพโรไลซิส” ที่สามารถเปลี่ยนขยะพลาสติกและน้ำมันเครื่องใช้แล้ว ให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพเทียบเท่าน้ำมันดีเซลโดยไม่ต้องกลั่นอีกต่อไป เนื่องจากการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ให้สามารถป้อนน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วกับขยะพลาสติก ทั้งฝาขวดพลาสติก (HDPE) และสายรัดพลาสติกชนิดแข็ง (PP) ผสมในสัดส่วนที่ 50:30:20 จนหลอมเหลวเป็นน้ำมัน ซึ่งเมื่อนำไปทดสอบตามมาตรฐาน ASTM พบว่าผ่านมาตรฐานน้ำมันดีเซล ตามที่กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงานได้ประกาศไว้ รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เปิดเผยว่า อาจารย์ มทร.ธัญบุรี ได้สร้าง ‘เครื่องต้นแบบกระบวนการไพโรไลซิส’ สำเร็จ เปลี่ยนขยะพลาสติกและน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ระบุคุณภาพน้ำมันเทียบเท่าน้ำมันดีเซล โดยไม่ต้องอาศัยการกลั่น สมบัติผ่านมาตรฐานตามที่กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงานได้ประกาศไว้ ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นความสำเร็จที่ขยายผลการทดลองจากในระดับห้องปฏิบัติการ มาสู่ระดับโรงงานต้นแบบ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อลดปริมาณขยะและยังได้น้ำมันเชื้อเพลิงที่คุณภาพเทียบเท่าน้ำมันดีเซลโดยไม่ต้องอาศัยการกลั่นเพิ่มเติม ด้าน ผศ.ณัฐชา เพ็ชร์ยิ้ม อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี เจ้าของผลงานเปิดเผยว่าปัจจุบันประเทศไทยมีขยะประเภทพลาสติกประมาณ 2 ล้านตันต่อปี และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่มีการนำขยะพลาสติกไปใช้ประโยชน์โดยเฉลี่ยปีละประมาณ 0.5 ล้านตัน ส่วนที่เหลืออีก 1.5 ล้านตันยังเป็นปัญหาที่ยากต่อการกำจัด เนื่องจากไม่สามารถใช้วิธีการฝังกลบเพราะสลายตัวช้ามาก หากนำไปเผาก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่น้ำมันเครื่องที่ใช้งานแล้วจากยานยนต์ก็เป็นปัญหาเช่นกัน เห็นได้จากจำนวนยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกปี และมีเพียงแค่ 20 - 30 เปอร์เซ็นที่ถูกกำจัดอย่างถูกวิธี จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องต้นแบบกระบวนการไพโรไลซิสร่วมระหว่างน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วกับขยะพลาสติกผสม เพื่อผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงเทียบเท่าดีเซล ผศ.ณัฐชา กล่าวว่า ผลงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) และบริษัท วิสดอม อินเวนเตอร์ จำกัด ซึ่งโดยทั่วไปกระบวนการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันไพโรไลซิสจะมีคุณภาพต่ำ ไม่ผ่านมาตรฐาน จำเป็นต้องผ่านกระบวนการกลั่นอีกครั้งจึงจะได้น้ำมันดีเซลออกมา ซึ่งมีผลมาจากการนำขยะพลาสติกหลายชนิดมาผ่านกระบวนการให้ความร้อนสูงภายใต้บรรยากาศไร้ออกซิเจน และจากการศึกษาวิจัยพบว่าสัดส่วนของชนิดพลาสติกเริ่มต้นร่วมกับน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว ส่งผลต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำมันจากกระบวนการไพโรไลซิสเป็นอย่างมาก อีกทั้งการใช้น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วมาเป็นวัตถุดิบร่วมส่งผลให้เพิ่มการถ่ายเทความร้อนและลดความหนืดของสารภายในเครื่อง จึงเกิดการหลอมเหลวเร็วขึ้นและลดพลังงานที่ใช้ในการกวนผสม เจ้าของผลงาน กล่าวอีกว่า จุดเด่นของผลงานนี้คือการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ให้สามารถป้อนน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วกับขยะพลาสติก ทั้งฝาขวดพลาสติก (HDPE) และสายรัดพลาสติกชนิดแข็ง (PP) ผสมในสัดส่วนที่ 50:30:20 ร้อยละโดยน้ำหนัก เพื่อผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพเทียบเท่าน้ำมันดีเซล โดยไม่ต้องอาศัยการกลั่น ช่วยในการปรับปรุงคุณภาพ และเมื่อนำน้ำมันที่ได้ไปทดสอบตามมาตรฐาน ASTM พบว่ามีดัชนีซีเทน 67 ความถ่วงจำเพาะ 0.82 จุดวาบไฟ 58 องศาเซลเซียส ค่าการกลั่นที่ร้อยละ 90อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส ซึ่งผ่านมาตรฐานน้ำมันดีเซลตามที่กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงานได้ประกาศไว้ อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวด้วยว่างานวิจัย นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์หลายผลงานของ มทร.ธัญบุรี ตอบโจทย์ในด้านสิ่งแวดล้อม และเป็นหนึ่งในนโยบายของการพัฒนาและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย สู่มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) โดยได้เริ่มต้นดำเนินการภายในมหาวิทยาลัยแล้วหลายส่วน และขยายพื้นที่ไปยังรอบ ๆ มหาวิทยาลัย รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียง ขณะเดียวกันยังมุ่งเน้นให้อาจารย์ร่วมทำวิจัยแบบบูรณาการ เชื่อมโยงข้ามศาสตร์ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำไปขยายผลต่อการพัฒนาชุมชนสังคมและประเทศต่อไป และ มทร.ธัญบุรี พร้อมที่จะให้การสนับสนุนภาครัฐในการร่วมแก้ปัญหาขยะต่อไป. Manager online 13.02.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร