Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

“จุลินทรีย์ช่วยลดเผา” ทางสู้ปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือ  

ในขณะชาวกรุงเพิ่งตระหนักถึงปัญหาฝุ่นควัน แต่ชาวเหนือเผชิญปัญหานี้มานับปีแล้ว โดยสาเหตุหลักๆ คือ “การเผา” วัสดุเหลือทิ้งในการเกษตร ทว่าการส่งเสริม “หัวเชื้อจุลินทรีย์หมัก” เพื่อสร้างอาหารโภชนาการสูงสำหรับโคนม เป็นอีกแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาฝุ่นในภาคเหนือได้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์ชนิดผงสำหรับหมักวัตถุดิบอาหารสัตว์” เป็นผลงานวิจัยของ ดร.ขรรค์ชัน ดั้นเมฆ จากคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งนำไปใช้ผลิตอาหารหมัก (Silage) สำหรับปศุสัตว์ โดยนำไปหมักกับเศษวัสดุเหลือทิ้ง เช่น ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด ฟักทอง สับปะรด และมันสำปะหลัง แล้วได้เป็นอาหารหมักที่มีโปรตีนสูงขึ้น จากการทดลองพบว่าเมื่อนำเปลือกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สัตว์หมักด้วยจุลินทรีย์ดังกล่าว ได้อาหารหมักที่มีโปรตีนเพิ่มขึ้นเป็น 6-8% มีไขมันเพิ่มขึ้น 2.5-3% ซึ่งมีสารอาหารใกล้เคียงกับหญ้ารูซี่สด โดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้นั้นนักวิจัยได้คัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีความสามารถหมักย่อยสลายและผลิตเอ็นไซม์ที่มีประโยชน์ อีกทั้งการใช้จุลินทรีย์หมักอาหารนี้ยังการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง เพื่อไม่ให้อาหารเน่าเสีย และช่วยเกษตรกรประหยัดต้นทุนอาหารสัตว์ในช่วงฤดูแล้ง ล่าสุดผลงานจุลินทรีย์หมักอาหารสัตว์นี้ได้รับความสนใจและซื้อสิทธิ์เทคโนโลยีจาก บริษัท เพอร์เฟกท์ ฮาร์โมนี อินเตอร์เนชันแนล จำกัด เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายแก่เกษตรกร โดย นางปิยะฉัตร ใคร้วานิช เบอร์ทัน ผู้อำนวยการฝ่ายสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภาคเหนือ ระบุว่า สวทช.ภาคเหนือเตรียมผลักดันผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผ่าน “บัญชีนวัตกรรมไทย” เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนให้หน่วยงานรัฐที่สนใจสามารถจัดซื้อจ้างเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้ เพื่อขยายผลงานวิจัยสู่การใช้งาน นางปิยะฉัตรเผยว่า ได้สนับสนุนให้มีการใช้จุลินทรีย์ชนิดผงสำหรับหมักอาหารสัตว์นี้แก่กลุ่มสหกรณ์โคนมไชยปราการ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีปัญหาเรื่องต้นทุนอาหารเลี้ยงสัตว์ และขาดแคลนแหล่งโปรตีนสำหรับเลี้ยงโคนมในช้วงฤดูแล้ง โดยคาดหวังว่าเมื่อประสบความสำเร็จในการลดต้นทุนใหแก่สหกรณ์เลี้ยงโคนมนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ก็จะเป็นแรงจูงใจแก่เกษตรกรคนอื่นๆ หันมาใช้จุลินทรีย์สำหรับหมักอาหารสัตว์นี้มากขึ้น และช่วยให้ผู้ประกอบการที่ซื้อสิทธิ์เทคโนโลยีดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ทางด้าน นายวีระชัย เจือสันติสกุลชัย กรรมการผู้จัดการ บรัษัท เพอร์เฟกท์ ฮาร์โมนี อินเตอร์เนชันแนล จำกัด ผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี กล่าวว่าตัดสินใจเข้ามาซื้อสิทธิ์เทคโนโลยีนี้ ด้วยเป้าหมายอยากให้เกษตรกรลดการเผาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เนื่องจากภาคเหนือเผชิญปัญหาหมอกควันก่อนกรุงเทพฯ มานานนับสิบปี และหากไม่ลงมือทำอะไร อนาคตลูกหลานจะอยู่อย่างไร “ผลงานนี้ สวทช.พยายามผลักดันมา 5 ปีแล้ว แต่ยังไม่ถูกใช้งานอย่างจริงจัง ซึ่งจะเกิดการใช้จุลินทรีย์หมักอาหารอย่างจริงจังได้ จุลินทรีย์นี้ต้องช่วยลดต้นทุนแก่เกษตรกรและเพิ่มกำไรขึ้น อันดับแรกต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าลดค่าใช้จ่ายได้จริง และต้องใช้ผู้นำกลุ่มเป็นผู้ทดลองใช้ เมื่อประสบความสำเร็จก็จะมีคนตามมา(ใช้)เอง จุดเริ่มต้นในการรับสิทธิ์คืออยากมีส่วนร่วมในการลดมลพิษ เนื่องจากมีเปลือกข้าวโพดที่เหลือเยอะ ซึ่งเกษตรกรจำกำจัดด้วยการเผา แต่หากใช้จุลินทรีย์ย่อยให้โคกินก็จะช่วยลดเศษเหลือทิ้งได้มาก” นายวีระชัยกล่าว ด้านนายวุฒิชัย คำดี นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานปศุสัตว์เขต 5 จ.เชียงใหม่ กล่าวถึงภาพรวมของการเลี้ยงโคนมในภาคเหนือว่า มีการเลี้ยงประมาณ 70,000 ตัว ในจำนวนนั้นเป็น “โครีด” หรือโคที่ให้น้ำนมประมาณ 30,000 ตัว โดยใช้อาหารหยาบเลี้ยงโคนมวันละ 1,000 ตัน และภาคเหนือผลิตน้ำนมโคได้วันละ 400 ตัน ขณะที่ทั้งประเทศผลิตได้วันละ 3,000 ตัน นายวุฒิชัยกล่าวว่า สหกรณ์โคนมไชยปราการเป็นเขตเลี้ยงโคนมที่ให้คุณภาพน้ำนมดีที่สุดในประเทศไทย โดยพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 400 เมตรขึ้นไปเป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงโคนม แต่ปัญหาของเกษตรกรคืออาหารหยาบที่มีนั้นคุณภาพต่ำ ส่วนการหมักอาหารที่ผ่านมานั้นเป็นเพียงการเก็บรักษาอาหาร และไม่ได้เพิ่มโปรตีนต่างจากการใช้จุลินทรีย์ที่เป็นผลงานของนักวิจัยจาก ม.พะเยา ซึ่งหมักอาหารสัตว์แล้วได้โปรตีนเพิ่มขึ้น ส่วน นายวิเชียร สันกาวี ประธานสหกรณ์โคนมไชยปราการ ผู้รับการทดลองใช้จุลินทรีย์หมักอาหารสัตว์ ระบุว่าเมื่อใช้จุลินทรีย์หมักอาหารสัตว์พบว่า โคนมกินอาหารหยาบจากเปลือกข้าวโพดมากขึ้น พร้อมทั้งย้ำถึงปัญหาการเลี้ยงโคนมในภาคเหนือว่า ขาดแคลนอาหารโปรตีนสูง จึงต้องเสริมอาหารโปรตีน เช่น ปลาป่น และกากถั่วเหลือง โดยในการผลิตน้ำนม 20 กิโลกรัมนั้น โคนม 1 ตัวต้องกินอาหารที่มีสัดส่วนโปรตีน 16% วันละ 35 กิโลกรัม ทั้งนี้ตั้งเป้าว่าภายในปี พ.ศ.2568 ซึ่งเป็นปีที่เปิดการค้าเสรีที่จะมีนมจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น จะต้องลดต้นทุนการเลี้ยงโคนมและเพิ่มคุณภาพน้ำนมเพื่อแข่งขันกับนมจากต่างประเทศเทศ นายวีระชัยให้ข้อมูลเพิ่มว่า ปัจจุบันบริษัทผลิตจุลินทรีย์สำหรับหมักอาหารสัตว์ 2 สูตร คือ สูตรสำหรับอาหารแป้ง เช่น มันสำปะหลัง และสูตรสำหรับอาหารเยื่อใย เช่น เปลือกข้าวโพด พร้อมทั้งกล่าวถึงความคาดหวังในการส่งเสริมการใช้จุลินทรีย์หมักอาหารสัตว์เพื่อลดการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลองเพื่อเก็บข้อมูลโดยผู้นำกลุ่มเกษตรกรในสหกรณ์โคนมไชยปราการว่า โครงการนี้จะสำเร็จได้คนเลี้ยงโคนมต้องได้กำไรสูงสุด Manager online 12.02.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร