Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ท่อนาโนคาร์บอน เพิ่มมูลค่าขยะปิโตรฯ  

ปตท.สผ.วิจัยตอบเทรนด์ขยะเหลือศูนย์ (ซีโร่เวสต์) เปลี่ยนก๊าซส่วนเกินในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เป็น “ท่อนาโนคาร์บอน” ที่มีราคากิโลกรัมละล้านกว่าบาท ปูทางขยายสู่เชิงพาณิชย์ในอนาคต “ท่อนาโนคาร์บอน (Carbon Nanotube:CNT) วัสดุสังเคราะห์ที่มีลักษณะโครงสร้างพิเศษ ก่อนหน้านี้ สถาบันวิจัยของ ปตท. ได้ทำการพัฒนาอยู่แล้วโดยใช้วัตถุดิบจากกากน้ำมันซึ่งเป็นของเหลือจากกระบวนการผลิตปิโตรเลียม ต่อมาทาง ปตท.สผ.พบว่า “ก๊าซส่วนเกิน” ก็สามารถใช้เป็นวัตถุดิบได้เช่นกัน จึงเป็นที่มาของโครงการวิจัยนี้ นัดหารืออังกฤษส่งต่องานวิจัย พิชญ สุวกูล วิศวกรสิ่งแวดล้อม ฝ่ายบริหารสิ่งแวดล้อม บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. กล่าวถึงโครงการวิจัย “การพัฒนาท่อนาโนคาร์บอนจากก๊าซส่วนเกินจากกระบวนการผลิต” ว่า ปตท.สผ.มีก๊าซส่วนเกินฯ จากแหล่งพลังงานนอกชายฝั่งทะเล (offshore) ราว 20 ล้านลูกบาศก์ฟุต ในขณะที่ onshore มีอยู่ราว 5-6 ล้านลูกบาศก์ฟุต ก๊าซส่วนเกินจากกระบวนการผลิต (FlareGas) เป็นส่วนที่ต้องเผาทิ้ง เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลต่อแรงดันในท่อส่งก๊าซ ที่สามารถสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นมหาศาล เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายสำหรับพลังงานในการเผาก๊าซส่วนเกินนี้ทิ้ง ท่อนาโนคาร์บอนในรูปผงที่ได้มีขนาด 50 นาโนเมตร ความบริสุทธิ์ 90% ขึ้นไป ซึ่งเป็นเกรดมาตรฐานของตลาดที่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย ทั้งในรูปของวัสดุทนแรงในอุตสาหกรรมยานยนต์ วัสดุนำไฟฟ้า เช่น แผงวงจรหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น หลักการผลิตท่อนาโนคาร์บอนจากก๊าซส่วนเกินฯ คล้ายกับท่อนาโนคาร์บอนจากกากน้ำมัน โดยจำเป็นต้องพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ต้นแบบและตัวเร่งปฏิกิริยา พร้อมทั้งปรับความดันในกระบวนการผลิตให้เหมาะสม ใช้ความร้อน 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมงต่อรอบ กากน้ำมันที่ใช้ศึกษาเป็นของเหลวจะมีคาร์บอนจำนวนมากกว่า ในขณะที่น้ำหนักของก๊าซเบากว่าทำให้ต้นทุนก๊าซ 1 พันลูกบาศก์ฟุตผลิตได้ท่อนาโนคาร์บอนในรูปผงได้มากถึง 3 กิโลกรัม โดยมีคุณสมบัติเชิงกลที่พิเศษ คือเป็นโครงสร้างนาโนที่มีความแข็งแกร่ง น้ำหนักเบาและมีความยืดหยุ่นอย่างมาก จากการศึกษาของบรรดานักวิทยาศาสตร์ พบว่าโครงสร้างมีความแข็งแกร่งมากกว่าเหล็ก 60 เท่า มีน้ำหนักที่เบามากและมีความยืดหยุ่นสูง จากการศึกษาพบว่าสามารถทนต่อแรงดึงได้มากกว่าเหล็กถึง 20 เท่า จึงนำมาใช้เป็นวัสดุเสริมแรงในผลิตภัณฑ์หลายชนิด อย่างเช่น อุปกรณ์กีฬากอล์ฟและเทนนิส การทำชิพในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำสายเคเบิล อุปกรณ์ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์วัดระดับสารเคมี เป็นต้น และมีแนวโน้มในการใช้ผลิตเป็นโครงสร้างของเครื่องบินอีกด้วย อธิคม ผู้พัฒนพงศ์ นักวิเคราะห์อาวุโส เทคโนโลยีแอพพิเคชั่น แผนกเทคโนโลยีแอพพิเคชั่น ปตท.สผ. กล่าวว่า ปัจจุบันผลผลิตที่ได้ยังเป็นเกรดมาตรฐานที่มูลค่าไม่สูง จึงต้องอัพเกรดให้ขนาดท่อนาโนคาร์บอนเล็กลง ความบริสุทธิ์มากขึ้น เพื่อให้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น การวิจัยและพัฒนาจึงต้องเดินหน้าต่อ พร้อมกับเริ่มการขยายสเกลเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพิ่ม 100 เท่า หลังจากหน่วยงานเริ่มมองเชิงการตลาดโดยเป็นลักษณะของพันธมิตร ก็มีบริษัทจากอังกฤษสนใจและนัดเจรจาในรายละเอียด มุ่งสู่นวัตกรรมมูลค่าสูง “การพัฒนาท่อนาโนคาร์บอนจากก๊าซส่วนเกินจากกระบวนการผลิต” ของ ปตท.สผ. นำเสนอในงานนิทรรศการและการประชุมนานาชาติทางด้านนาโนเทคโนโลยี ครั้งที่ 18 (Nano Tech 2019) ที่ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และเครือข่ายวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมนำเสนอผลงานความก้าวหน้า ศ.ไพรัช ธัชยพงษ์ ประธานกรรมการบริหารศูนย์นาโนเทคฯ กล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพด้านนาโนเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นทุกปี จึงไม่น่าห่วงว่าองค์ความรู้จะตามไม่ทันระดับโลก แต่สิ่งที่กังวลคือ การสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งแม้รัฐบาลปัจจุบันจะพูดเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) อย่างชัดเจนมากที่สุด แต่ก็ยังต้องการความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของกลไกการสนับสนุนด้านนี้ “สิ่งที่หวังไม่ใช่งบลงทุนทุกอย่างต้องมาจากภาครัฐ แต่ภาคเอกชนต้องขยับและเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาขีดความสามารถที่ไม่เพียงแค่ด้านนาโนเทคโนโลยี แต่เป็น วทน. ทั้งหมด ให้เดินหน้าไปอย่างเข้มแข็ง” Bangkokbiznews 15.02.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร