Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

พัฒนา “นาฬิกาอัจฉริยะ” ตรวจจับและแจ้งเตือนก๊าซพิษได้แม่นยำ  

นักวิจัยไทยคิดค้น Smart Watch ตรวจจับและแจ้งเตือนภัยก๊าซพิษที่คร่าชีวิตผู้คน แจ้งเตือนได้แม่นยำและรวดเร็วเท่าทันสถานการณ์ สะดวกพกพา และพร้อมส่งต่องานวิจัยให้ภาคธุรกิจนำไปผลิตต่อในราคาที่สามารถจับต้องได้ รายงานขององค์การอนามัยโลกระบุว่า “มลพิษทางอากาศ” โดยเฉพาะก๊าซพิษ คร่าชีวิตผู้คนมากถึง 7 ล้านคนต่อปี อีกทั้งมีข่าวการเสียชีวิตจากการได้รับก๊าซพิษเข้าร่างกายในปริมาณมาก เช่น การเสียชีวิตจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากรถยนต์ และการรั่วไหลของก๊าซแอมโมเนียจากโรงงานผลิตน้ำแข็ง จึงเป็นแรงกระตุ้นให้ ผศ.ดร.ชัชวาล วงศ์ชูสุข อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) คิดค้นอุปกรณ์ตรวจจับและแจ้งเตือนภัยจากก๊าซพิษ ผศ.ดร.ชัชวาล สร้างผลงานวิจัย “นาฬิกาแจ้งเตือนก๊าซพิษแบบออนไลน์ (loT Smart Watch)” นาฬิกาตรวจจับก๊าซพิษอันตรายใกล้ตัวประชาชน 3 ชนิด คือ คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) สาเหตุจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เช่น รถยนต์เก่า โรงงานอุตสาหกรรม ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ที่มีสาเหตุจากการเผาไหม้สมบูรณ์ (รถยนต์, โรงงานอุตสาหกรรม) และแอมโมเนีย (NH3) สารทำความเย็น พบในโรงงานผลิตน้ำแข็ง โรงงานอุตสาหกรรม หลักสำคัญในการผลิตอุปกรณ์มี 3 ส่วน คือ “การออกแบบและผลิตเซ็นเซอร์ (Sensor) ขนาดเล็ก” เหมาะแก่การติดตั้งในอุปกรณ์สะดวกพกพา, “การออกแบบและผลิตเซ็นเซอร์ในราคาย่อมเยา” พร้อมแก่การส่งต่องานวิจัยแก่ภาคธุรกิจเพื่อนำไปผลิตและจำหน่ายในราคาที่สามารถจับต้องได้ และ “การออกแบบให้สามารถแสดงผลข้อมูลที่นาฬิกาและส่งข้อมูลไปยังแอปพลิเคชันได้ทันที (Real time)” เพื่อให้ผู้สวมใส่อุปกรณ์สามารถหลบหนีจากภัยอันตรายได้ทันท่วงที ผศ.ดร.ชัชวาล ได้อธิบายถึงกลไกของผลงานต้นแบบนาฬิกาแจ้งเตือนก๊าซพิษแบบออนไลน์ (loT Smart Watch) ว่า การทำงานของนาฬิกาชนิดนี้จะใช้เซ็นเซอร์ (Sensor) ขนาดเล็กในการตรวจจับก๊าซพิษ โดยเซ็นเซอร์ชนิดนี้ผลิตโดยการพิมพ์น้ำหมึกนำไฟฟ้าลงบนวัสดุ โดยน้ำหมึกแต่ละชนิดที่ผลิตขึ้นจะมีค่าความต้านทานจำเพาะกับก๊าซพิษแต่ละชนิด ซึ่งสามารถวัดและประมวลผลออกมาเป็นปริมาณก๊าซในหน่วย ppm (ปริมาณก๊าซพิษ 1 โมเลกุล ในอากาศ 1 ล้านโมเลกุล) “ค่าที่วัดออกมาได้จะถูกส่งไปแสดงผลแบบดิจิทัลเป็นตัวเลขบนหน้าจอนาฬิกา และสามารถส่งเสียงเตือนที่อุปกรณ์ได้ทันทีหากมีปริมาณมากเกินต่อความปลอดภัยของผู้สวมใส่ โดยปัจจุบันนาฬิกาแต่ละเรือนมีเซ็นเซอร์ตรวจจับก๊าซพิษ 1 ชนิด” นอกจากการแจ้งผลทันที (Real time) ที่ตัวนาฬิกาแล้ว ผศ.ดร.ชัชวาล ยังได้ออกแบบให้สามารถติดตามข้อมูลได้ทางแอปพลิเคชัน (ปัจจุบันมีเฉพาะในระบบ Android) เพื่อความสะดวกในการติดตามข้อมูล โดย ผศ.ดร.ชัชวาล ได้อธิบายว่า “สิ่งที่นาฬิกาเรือนนี้สามารถประมวลผลและส่งข้อมูลไปยังแอปพลิเคชันแก่ผู้ที่ลงทะเบียนไว้ คือ สถานะแบตเตอรี่ของนาฬิกา อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณก๊าซพิษ โดยกำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาให้สามารถแสดงพิกัดของผู้สวมใส่ได้อีกด้วย โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ ปัจจุบัน “นาฬิกาแจ้งเตือนก๊าซพิษแบบออนไลน์ (loT Smart Watch)” ผลงานวิจัยโดยนักวิจัยไทยพร้อมให้ภาคธุรกิจมาลงทุน เพื่อขยายผลไปสู่ประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีอุปกรณ์สะดวกพกพาในการตรวจวัดปริมาณก๊าซพิษเพื่อความปลอดภัย ในราคาที่สามารถจับต้องได้ โดย ผศ.ดร.ชัชวาล เผยว่าผลงานนี้จะยังมีการพัฒนาต่อไป “สำหรับตัวเซ็นเซอร์ได้วางแผนที่จะพัฒนาให้รองรับการตรวจจับก๊าซพิษชนิดอื่นมากขึ้น เช่น ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า อุปกรณ์นาฬิกาจะมีการพัฒนาให้รองรับการตรวจวัดค่าอื่นที่มีผลต่อร่างกายมากขึ้น เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ และยังเล็งถึงการขยายผลไปสู่อุปกรณ์ชนิดอื่น เช่น โดรนตรวจจับก๊าซพิษ และอุปกรณ์ตรวจับก๊าซพิษสำหรับติดตั้งในรถยนต์” Manager online 19.02.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร