Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ก.ดีอี แลกเปลี่ยนประสบการณ์ไทย-ญี่ปุ่นสู่ศก.ดิจิทัล  

ก.ดีอี ถกเจโทร-ซีไอซีซี 2 องค์กรชั้นนำของญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดริเริ่มการใช้ 4 เทคโนโลยีมาแรงแห่งยุค IoT, Big Data, AI และ Blockchain ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจยุคดิจิทัล วันนี้ (22 ก.พ.) ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวในงานสัมมนาMDES/CICC Joint Seminar ซึ่งกระทรวงดีอี ร่วมกับศูนย์ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านงานคอมพิวเตอร์ (CICC) ประเทศญี่ปุ่น และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ว่า การสัมมนาครั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดริเริ่มในการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นด้านไอทีใหม่ๆ และแนวทางแก้ไขปัญหาระหว่างหน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสียของไทยและญี่ปุ่น กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมภาคธุรกิจ IT ในการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ แนวคิดริเริ่มในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้าน IoT, AI, Big Data และ Blockchain Technology โดยกระทรวงฯ จะนำข้อมูลและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากเวทีนี้ไปประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดิจิทัลของไทยอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป สำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล จะขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมและยั่งยืน ที่ผ่านมารัฐบาลมีการทำงานในเรื่องนี้หลายโครงการเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0 และดิจิทัล ไทยแลนด์ อันเป็นนโยบายสำคัญ ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล กำลังคนดิจิทัล รัฐบาลดิจิทัล การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ได้แก่ โครงการเน็ตประชารัฐ ซึ่งมีการวางโครงข่ายบรอดแบนด์ครอบคลุมทั่วถึง 75,000 หมู่บ้านในประเทศไทย โครงการจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีนี้ ช่วยให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ได้ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในหลากหลายด้าน ได้แก่ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเข้าถึงบริการภาครัฐ การเพิ่มโอกาสค้าขายผ่านอี-คอมเมิร์ซ การค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งจะสร้างรายได้และการจ้างงานให้กับชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้ ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับการสร้างทักษะความรู้ด้านดิจิทัลให้กับคนในชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีในระยะยาวและยั่งยืน โดยกระทรวงดิจิทัลฯ ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จัดหลักสูตรอบรมการรู้เท่าทันดิจิทัล ให้ความรู้พื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ต และการใช้งานแอพพลิเคชั่นบนอินเทอร์เน็ตกับประชาชนในหมู่บ้านที่มีเน็ตประชารัฐเข้าถึง เพื่อสามารถต่อยอดสร้างอาชีพได้ ปัจจุบันจัดอบรมไปแล้ว 1 ล้านคน ขณะเดียวกัน ได้ทำงานร่วมกับภาคเอกชนในโครงการ “Coding Thailand” ส่งเสริมให้เยาวชนไทยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ โดยจัดทำแพลตฟอร์มการเรียนรู้ผ่านออนไลน์ให้เยาวชนมีโอกาสได้เรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา และสามารถก้าวทันเทคโนโลยี รู้เท่าทัน และสร้างสรรค์การใช้เทคโนโลยี ดร.พิเชฐ ยังได้กล่าวถึงโครงการสมาร์ทซิตี้ ซึ่งสะท้อนชัดเจนถึงการก้าวสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0 ของประเทศไทยว่า ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วใน 7 เมือง ได้แก่ ภูเก็ต ขอนแก่น เชียงใหม่ กรุงเทพ รวมถึงฉะเชิงเทรา ระยอง และชลบุรี ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยจะนำโซลูชั่นด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีมายกระดับชีวิตความเป็นอยู่ สร้างความยั่งยืน และการบริหารจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มการทำงานร่วมกันในรูปแบบรัฐ-เอกชน (PPP) และส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลรุ่นใหม่ (ดิจิทัล สตาร์ทอัพ) อีกทั้ง อยู่ระหว่างการจัดตั้งสถาบันไอโอทีและนวัตกรรม เพื่อเป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการพัฒนา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT, Big Data, Robotics และปัญญาประดิษฐ์ (AI) คาดว่าจะมีองค์กรเข้าร่วมมากกว่า 300 ราย ครอบคลุมทั้งบริษัทเอกชน สถาบันวิจัย และมหาวิทยาลัยต่างๆ สร้างให้เกิดเครือข่ายความเป็นเลิศด้าน IoT สถาบันแห่งนี้ ยังเป็นแหล่งพัฒนาโซลูชั่นด้านดิจิทัล และให้คำปรึกษาทางเทคนิค สำหรับภาคอุตสาหกรรม และกลุ่มธุรกิจต่างๆ ได้แก่ ยานยนต์ เกษตรกรรม อาหาร และสุขภาพ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีเหล่านี้จะสร้างประโยชน์สูงสุดได้ ต้องไม่จำกัดอยู่เพียงการสร้างเศรษฐกิจ การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในระยะยาวเท่านั้น แต่ต้องสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับทุกคนในยุคดิจิทัล ให้ก้าวสู่ความสำเร็จในอนาคตดิจิทัลได้ด้วย” ดร.พิเชฐกล่าว Dailynews 22.02.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร