Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

บรรจุภัณฑ์‘ไบโอ'รองรับไมโครเวฟ-ตู้แช่แข็ง  

บรรจุภัณฑ์ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ รองรับได้ทั้งของร้อนและของเย็นระดับอุณหภูมิติดลบ เข้าไมโครเวฟได้ ผลงานการพัฒนาโดยจุฬาฯส่งต่อ “แดรี่โฮม” นำไปต่อยอดบรรจุไอศกรีม สานต่อเส้นทางองค์กรสายกรีน บรรจุภัณฑ์ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ รองรับได้ทั้งของร้อนและของเย็นระดับอุณหภูมิติดลบ เข้าไมโครเวฟได้อีกด้วย ผลงานการพัฒนาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ส่งต่อ “แดรี่โฮม” นำไปต่อยอดสำหรับบรรจุไอศกรีม สานต่อเส้นทางองค์กรสายกรีน บรรจุภัณฑ์เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาขยะ โดยเฉพาะพลาสติกสังเคราะห์ซึ่งเป็นต้นเหตุภาวะขยะล้นโลก อีกทั้งก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนตามมา ขณะที่พลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่นำมาใช้บรรจุอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ แต่ด้วยข้อจำกัดในแง่ของความเปราะบาง ทำให้ไม่สามารถใช้งานในอุณหภูมิติดลบหรือสูงเกิน 50 องศาเซลเซียส ไม่เช่นนั้นบรรจุภัณฑ์จะนิ่มย้วยไม่คงรูป จึงกลายเป็นโจทย์ให้กับ ศ.รัตนวรรณ มกรพันธุ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ และทีมนักวิจัย คิดค้นและพัฒนาสูตรพลาสติกชีวภาพที่สามารถนำมาใช้บรรจุอาหาร เครื่องดื่มทั้งร้อนและเย็นได้ดีขึ้น อาทิ กาแฟร้อน อาหารกึ่งสำเร็จรูป ประเภทบะหมี่ โจ๊กตลอดจนไอศกรีม รับกระแสบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก นักวิจัยได้ปรับปรุงคุณสมบัติเม็ดพลาสติกชีวภาพ ด้วยการผสมสารเติมแต่งที่มาจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อเสริมแรงให้สามารถทนความร้อน แรงดึงและแรงดัดได้มากขึ้น ทั้งในอุณหภูมิปกติ และ -20องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิ สำหรับการเก็บรักษาอาหารในช่องแช่แข็ง ผลการวิจัยพบว่า การผสมสารเติมแต่งวัสดุธรรมชาติจากข้าวโพดและชานอ้อย ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับพลาสติกชีวภาพ สามารถนำไปขึ้นรูปตัวอย่างด้วยกระบวนการอัดฉีดให้ได้รูปทรงตามความต้องการ ใช้งานกับอาหารและเครื่องดื่มร้อนเย็นในช่วงอุณหภูมิ -35 ถึง 100 องศาเซลเซียส สามารถล้างและใช้งานซ้ำได้ รวมทั้งใช้กับไมโครเวฟเพื่ออุ่นอาหารได้ไม่เกิน 1.5 นาทีที่กำลัง 800 วัตต์ แต่เมื่อใช้งานไปได้ระยะหนึ่งจะเริ่มย่อยสลายภายใน 4 เดือน กลายมาเป็นถ้วยพลาสติกที่สามารถทนความร้อนทนความเย็นได้ตามความต้องการ มีน้ำหนักเบา ที่สำคัญเป็นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ไม่มีราคาเข้ามาใช้สามารถมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ได้ ถือเป็นงานวิจัยที่ตอบโจทย์สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน ล่าสุดทางบริษัท แดรี่โฮม จำกัด ได้นำไปผลิตเป็นถ้วยไอศกรีมจากพลาสติกชีวภาพ พร้อมทั้งขยายผลสู่เชิงพาณิชย์เรียบแล้ว เพื่อสนองกับนโยบายของบริษัทที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค ด้วยการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์พลาสติกจากปิโตรเคมีเป็นพลาสติกชีวภาพในทุกผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น นม ไอศกรีมและโยเกิร์ต เพื่อไปสู่การเป็นแบรนด์สีเขียว สร้างจิตสำนึกให้ผู้บริโภคหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกที่ย่อยสลายยาก แนะทำโลโก้ไบโอพลาสให้โดดเด่น เพ็ญศิริ ศิลากุล ผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่า ข้อจำกัดที่ยังมีอยู่ของบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพก็คือ ราคาสูงกว่าพลาสติกทั่วไป 100% แม้ว่าคุณสมบัติจะดีขึ้นในแง่ของฟังก์ชั่นการใช้งานและสิ่งแวดล้อม ทว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมองว่า ต้นทุนสูง “ในฐานะนักวิจัย ความท้าทายต่อไปก็คือ การปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้นเพื่อตอบสนองกับการนำไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่นๆ อาทิ กล่องข้าว ที่ตอบโจทย์กระแสคนใส่ใจสิ่แวดล้อมและลดต้นทุนการผลิต เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพมากขึ้น ก็จะช่วยทำให้ราคาถูกลง” อย่างไรก็ตาม ความอยากอย่างหนึ่งคือ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างพลาสติกชีวภาพกับพลาสติกทั่วไปด้วยการสังเกตหรือสัมผัส เจ้าของแบรนด์จึงควรที่จะมีโลโก้ให้รับรู้ได้ง่าย ผู้บริโภคจะสามารถเลือกได้ถูกต้อง พร้อมกันนี้หากจะกระตุ้นให้เกิดการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพมากขึ้น รัฐบาลจำเป็นจะต้องเข้ามาช่วยกำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน Bangkokbiznews 26.02.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร