Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ชูความสำเร็จ 3 ผู้ผ่านเวทีมหกรรมไอทีระดับชาติ  

เผยความสำเร็จงานมหกรรมไอที กว่า 18 ปี สร้างคน สร้างอาชีพ สร้างชาติ ชูความสำเร็จ 3 อดีตเยาวชนที่เคยผ่านเวทีประกวด ปัจจุบันเป็นทั้งผู้ประกอบการ และอาจารย์วิทยาลัย-มหาวิทยาลัย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มูลนิธิสยามกัมมาจลธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) แถลงข่าวจัดงาน “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทยครั้งที่ 18 (The Eighteenth Thailand IT Contest Festival: IT 2019)" เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562 ณ ห้องโถงหลางชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี งาน IT 2019 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคม 2562 ณ ไอซ์แลนด์ฮอลล์ชั้น 3 ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ถนนรามอินทราแขวงคันนายาวเขตคันนายาวกรุงเทพมหานครภายใต้แนวคิด“ Go together เยาวชนร่วมใจขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” ดร.กัลยา อุดมวิทิต รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติได้ปรับเปลี่ยนเปลี่ยนกระบวนทัศน์การทำงานด้าน วทน. เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศท่ามกลางสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและระบบนิเวศนวัตกรรมที่เปลี่ยนไป การพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเป็นการเตรียมทรัพยากรบุคคลระดับฐานรากของประเทศและเติบโตเป็นอนาคตที่สำคัญเพื่อนำพาประเทศก้าวไปสู่ศตวรรษที่ 21 ถือเป็นภารกิจหลักของสวทช. ทั้งนี้ สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้มอบหมายศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ให้ดำเนินการจัดงาน “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทยครั้งที่ 18" ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชน ผู้มีความสามารถพิเศษและมีความสนใจเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์ของตนเองมาสร้างสรรค์เป็นผลงานด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเผยแพร่สู่สาธารณชน "ตลอดจนเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กและเยาวชนที่มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้มาผ่านเวทีการประกวดแข่งขัน ได้รับข้อเสนอแนะ ความเห็นจากกรรมการซึ่งทำให้เด็กและเยาวชนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องซึ่งการพัฒนากำลังคนด้านวทน. ให้กับประเทศซึ่งถือเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของสวทช. ที่ช่วยผลักดันส่งเสริมและสนับสนุนกลไกการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการบ่มเพาะเด็กและเยาวชนอีกด้วย” ภายในงานแถลงข่าวมีกิจกรรมเสวนาตัวอย่างความสำเร็จ “จากงานมหกรรม IT สู่ความสำเร็จ” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนยุคใหม่ โดยบอกเล่าเรื่องราวจากความสำเร็จของรุ่นพี่คนเก่งทั้ง 3 โครงการจากความสนใจและโอกาสเล็กๆในวันนั้นสู่หนทางความสำเร็จในอาชีพที่ไม่ธรรมดาในวันนี้และพร้อมจะก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ได้แก่ 1.อัจฉริยะ ดาโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริษัท AIYA ได้รับรางวัลรองชนะเลิศในโครงการการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 6 (NSC 2004) ปัจจุบันเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง AIYA Startup น้องใหม่ที่ทำเรื่อง AI AIYA สตาร์ทอัพผู้บุกเบิกเทคโนโลยี AI หรือปัญญาประดิษฐ์ AIYA มีชื่อเต็มว่า Artificial Intelligence Your Acceptance "เรามองในเรื่องของการเอาปัญญาประดิษฐ์มาเป็นผู้ช่วยในการทำธุรกิจว่าวันนี้ทำธุรกิจยังไงให้ให้ฉลาดขึ้นเรามีสโลแกนว่า A Genius Chatbot for Your Great Business" อัจฉริยะกล่าว 2.ภูมินทร์ ประกอบแสง อาจารย์ประจำวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ ได้รับรางวัลที่ 2 ประเภทนิสิตนักศึกษา จากการประกวดวงจรอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์ครั้งที่ 14 (YECC 2015) ภายใต้งานมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทยครั้งที่ 14 (IT 2015) ในผลงานชื่อ “ชุดเพาะเห็ดขนาดเล็กสำหรับครัวเรือน” ปัจจุบันภูมินทร์เป็นครูพิเศษสอนแผนกวิชาไฟฟ้าวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ โดยแรงบันดาลใจเริ่มจากเป็นพี่ค่ายนักอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์ หรือ e-Camp สู่แรงบันดาลใจในการเข้าร่วมแข่งขันรายการ YECC มองปัญหารอบตัวจากเรื่องใกล้ตัวนำไปสู่การทดลองแก้ไข แก้ปัญหาและสร้างโอกาสต่อยอดผลงานได้ 3.ดร.รณพีร์ ชัยเชาวรัตน์ อาจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดโครงงานนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (Young Scientist Competition) ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสาขาวิศวกรรมศาสตร์ปี 2008 หรือ YSC.CS & YSC.EN 2008 และเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับนานาชาติ หรือที่รู้จักโดยทั่วไปในนามของ อินเทลไอเซฟ (Intel International Science and Engineering Fair-Intel ISEF) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา "จากการเป็นเด็กช่างสังเกต ความจำดี ถูกปลูกฝังระเบียบวินัย ผ่านการเล่นจากครอบครัวและการดึงความสามารถ พร้อมชี้แนะช่องทางการพัฒนาความสามารถของครูอาจารย์ เปิดโอกาสก้าวสู่เวทีการแข่งขันทั้งคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จนสมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (JSTP) โดยแรงผลักดันแบบก้าวกระโดดให้ตัวเองได้พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์คือ ช่วงพัฒนาต่อยอดโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ชนะเลิศการประกวดโครงงานนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (VSC) ของเนคเทค “ผมอยากเป็นนักกระตุ้นแรงบันดาลใจที่ดีให้แก่เด็กๆ” ดร.รณพีร์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นอาจารย์ที่แหวกแนวไม่เหมือนใครเผยความตั้งใจ สำหรับการจัดงานมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 18 โดยการดำเนินงานที่ผ่านมามีตัวอย่างผลความสำเร็จของเยาวชนที่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมในโครงการให้เห็นทุกปี เยาวชนเกิดการเรียนรู้ ต่อยอด และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัลในเวทีระดับประเทศและระดับนานาชาติ ตลอดจนความสำเร็จในอาชีพการทำงาน ตัวเลขความสำเร็จตลอดระยะการดำเนินการโครงการที่ผ่านมา - มีจำนวนข้อเสนอโครงการของ (NSC/YSC) กว่า 34,000 โครงการ มีจำนวนโครงการที่ได้รับทุนเกือบ 15,000 โครงการ - มีจำนวนผู้สนใจส่งข้อเสนอโครงการ (NSC/YSC) เฉลี่ยปีละ 5,000คน (เฉลี่ยข้อมูล6ปีย้อนหลังตั้งแต่2557-2562) - มีจำนวนนักพัฒนาที่ได้รับทุนเฉลี่ยปีละกว่า 2,000คน (เฉลี่ยข้อมูล6ปีย้อนหลัง ตั้งแต่2557-2562) - ในปีที่ผ่านมาเนคเทคได้ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นของโครงการ YSC ระหว่างปี 2556-2561 มีมูลค่าประมาณ 69 ล้านบาท การจัดกิจกรรมในครั้งที่ 18 นี้ประกอบด้วย 1.การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC) ปีนี้มีเยาวชนส่งโครงการเข้าร่วม 1, 760 โครงงานจาก 201 โรงเรียนทั่วประเทศโดยมีโครงงานผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศรวม 135 โครงงานจาก 52 โรงเรียน 2.การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (YSC )ปีนี้มีเยาวชนส่งโครงการเข้าร่วม 1, 528 โครงงานจาก 203 โรงเรียนทั่วประเทศโดยมีโครงงานผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศรวม 56 โครงงานจาก 39 โรงเรียน 3.การประกวดวงจรอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์ปีนี้มีนิสิตนักศึกษาส่งโครงการมา 29 โครงงานผ่านการพิจารณารอบสองมา 15 โครงการจาก 7 สถาบันการศึกษาและประเภทนักเรียนมี 18 ทีมโดยกิจกรรมเพิ่มเติมในปีนี้จัดให้มีการแข่งรถผ่าน KidBright โดยให้เยาวชนใช้บอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright ในการเขียน Coding สำหรับควบควบคุมการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงตรรกะและสร้างสรรค์ผลงานรถมาแข่งขันในสนามแข่งจำลอง 4.โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ซึ่งจะมีการนำเสนอผลงานต่อยอดของเยาวชนรวม 14 โครงงาน โดยกิจกรรมต่างๆ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น ศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคในมหาวิทยาลัยพันธมิตรของเนคเทค องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ Intel Foundation บริษัท สิริเวนเจอร์ส จำกัด UNICEF Thailand ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และมูลนิธิสยามกัมมาจลและผู้สนับสนุนทุกท่านที่เป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนไทยในครั้งนี้ สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าร่วมชมผลงานของเยาวชนในเวที มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทยครั้งที่ 18 (The Eighteenth Thailand IT Contest Festivat IT 2019) ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคม 2562 ณ ไอซ์แลนด์ฮอลล์ชั้น 3 ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานครภายใต้แนวคิด “Go together เยาวชนร่วมใจขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ http://fic.nectec.or.th/it2019 สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมได้ที่นัทธ์หทัย ทองนะ (เน) โทร. 02 5646900 ต่อ 2335 มือถือ 093 598 2496 Manager online 01.03.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร