Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ชีวิตมีหวังเสมอ! นักวิทย์เฮผู้ป่วยเอดส์หายขาดรายที่สองของโลก  

ชีวิตมีหวังเสมอ! นักวิทย์เฮผู้ป่วยเอดส์หายขาดรายที่สองของโลก – วันที่ 5 มี.ค. เดอะซัน รายงานความคืบหน้าครั้งสำคัญในวงการแพทย์ หลังพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือโรคเอดส์ หายขาดเป็นคนที่สองของโลก สร้างความหวังให้กับบรรดานักวิทยาศาสตร์และผู้ป่วยทั่วโลก ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารการแพทย์เจอร์นัล เนเจอร์ ผู้ป่วยคนดังกล่าวมีสัญชาติอังกฤษและได้รับขนานนามว่า “ลอนดอน เพเชียนต์” ไม่พบว่ามีปริมาณไวรัส หรือไวรัลโหลด ของเอชไอวี ในรอบ 18 เดือน หลังได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ เพื่อรักษามะเร็งเม็ดเลือดในต่อมน้ำเหลือง โดยผู้บริจาคสเต็มเซลล์ดังกล่าวมีการกลายพันธุ์ของยีนส์ทำให้เซลล์มีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี ศาสตราจารย์ราวินทรา กุปตา ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยา และนักวิทยาไวรัสเอชไอวี กล่าวว่า “กรณีที่เกิดขึ้นเป็นพัฒนาครั้งสำคัญของวงการแพทย์ ผู้ป่วยไม่มีปริมาณไวรัสเอชไอวีที่ทางทีมแพทย์สามารถตรวจวัดพบได้ ทางทีมแพทย์ตรวจไม่พบอะไรเลย” กรณีนี้เกิดขึ้นหลังจากนายทีโมธี บราวน์ กลายเป็นผู้ป่วยรายแรกของโลกที่หายขาดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี จึงถูกขนานนามว่า “เบอร์ลิน เพเชียนต์” ปัจจุบันนายบราวน์ยังไม่พบว่ามีเชื้อไวรัสดังกล่าวหวนกลับมาอีก เป็นที่มาของการเรียกผู้ป่วยชาวอังกฤษ ว่าลอนดอน เพเชียนต์ ศ.กุปตา ระบุว่า ผู้ป่วยชาวอังกฤษที่เพิ่งหายขาดนั้นติดเชื้อไวรัสเอชไอวีมาตั้งแต่ปี 2546 ก่อนจะมาตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดในต่อมน้ำเหลืองอีกในปี 2555 ต่อมาในปี 2559 ทางทีมแพทย์พยายามหาผู้บริจาคสเต็มเซลล์เพื่อนำมาปลูกถ่ายในการทดลองรักษาผู้ป่วย โดยมียีนส์กลายพันธุ์รหัส “ซีซีอาร์5 เดลต้า 32” ผลปรากฎว่า สเต็มเซลล์ดังกล่าวนอกจากช่วยรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองแล้วยังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเปลี่ยนสภาพไปมีคุณสมบัติเหมือนกับของผู้บริจาค คือ มีความสามารถต่อต้านไวรัสเอชไอวี สร้างความตื่นเต้นให้กับทีมแพทย์ เพราะการรักษาดังกล่าวถือเป็นความหวังสุดท้ายของผู้ป่วยคนดังกล่าว แม้ผู้ป่วยจะมีอาการสเต็มเซลล์ใหม่ต่อต้านร่างกาย (GVHD) ในช่วงแรกก็ตาม อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นของทีมแพทย์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยยูซีแอล อิมพีเรียล อ๊อกซ์ฟอร์ด และเคมบริดจ์นั้นจะยังไม่ส่งผลใดๆ ต่อการรักษาผู้ป่วยเอดส์ที่มีอยู่กว่า 37 ล้านคนทั่วโลก เพราะการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวถือว่ามีราคาแพงมาก ซับซ้อน และมีความเสี่ยงสูงมาก ทั้งยังต้องค้นหาผู้บริจาคสเต็มเซลล์ที่มียีนส์กลายพันธุ์เฉพาะ นางชารอน เลวิน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันโดเฮอร์ที ประเทศออสเตรเลีย ในฐานะประธานร่วมสมาคมผู้ป่วยเอดส์สากล ระบุว่า แม้จะยังไม่มียารักษาโรคเอดส์โดยตรง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งยืนยันว่าความหวังนั้นมีอยู่ และการกำจัดไวรัสเอชไอวีจะเป็นไปได้แน่นอนในอนาคต ทั้งนี้ โรคเอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome) หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง แต่ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์สามารถใช้ยาต้านไวรัสที่ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่อย่างปกติ และมีสุขภาพแข็งแรงได้ ท่ามกลางการแข่งขันของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่กำลังคิดค้นวิธีการรักษา Khaosod online 5.03.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร