Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

กรมแพทย์แผนไทย ลุยผลิต 16 ตำรับยากัญชาไทย ไม่คิดค่าใช้จ่าย คาดปลูกที่สกลนคร เม.ย.  

กรมแพทย์แผนไทย พร้อมลุยผลิต 16 ตำรับยากัญชาไทย จับมือ ม.เกษตรฯ-มทร.อีสาน ปลูกในพื้นที่ จ.สกลนคร คาดโครงการผ่านเริ่มปลูกได้ใน เม.ย.เก็บเกี่ยวได้ ก.ค.ส่ง รพ.พระอาจารย์ฝั้นฯ ผลิตยากัญชา และเครื่องยากัญชา ป้อนแพทย์แผนไทยที่ต้องการใช้ฟรี ไม่เก็บค่าใช้จ่าย ชี้เป็นต้นแบบการปลูกให้เกษตรกรได้ ใช้มาตรฐานคนละระดับกับ อภ. วันนี้ (7 มี.ค.) นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวในงานเสวนา “กัญชา : โอกาส&ความท้าทายของประเทศไทย” ภายในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 16 ว่า ประเทศไทยจับกัญชาไปขังคุกมาเกือบ 40 ปี ตั้งแต่มี พ.ร.บ.ยาเสพติด พ.ศ. 2522 เมื่อจะเบิกตัวผู้ต้องหาออกมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ จึงต้องมีการเก็บข้อมูลติดตามผลของการใช้ยาจากกัญชาด้วย โดยในส่วนของตำรับยาแผนไทยที่มีส่วนผสมของกัญชา กรมฯ ได้เสนอคณะกรรมการยาเสพติดให้โทษ 90 ตำรับ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกมี 16 ตำรับนั้น มีสูตร ส่วนประกอบ วิธีการปรุง และผลการรักษาที่ชัดเจน เมื่อกฎหมายลูกเกี่ยวกับตำรับยาออกมาบังคับใช้ แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้าน ที่ผ่านการขึ้นทะเบียน สามารถนำมาใช้ได้เลย ไม่จำเป็นต้องมีการวิจัยทดลองอะไรอีก เพราะองค์การอนามัยโลกระบุชัดว่า ยาใดที่มีผลการใช้ในอดีตมายาวนาน มีบันทึกชัดเจน เป็นการแพทย์ดั้งเดิมสามารถเอามาใช้ได้เลย นพ.ขวัญชัย กล่าวว่า ยาทั้ง 16 ตำรับ ส่วนใหญ่จากการวิเคราะห์รสของยา สมุหฐานของโรค จะเป็นยาแก้ในทางกษัย ภาวะความเสื่อมของร่างกาย โดยกัญชาจะเข้าไปช่วยกระตุ้นการปรับสมดุลร่างกาย อย่างไรก็ตาม แม้จะสามารถนำยาแผนไทยที่มีส่วนผสมของกัญชาทั้ง 16 ตำรับมาใช้ได้เลย แต่การใช้ต้องมีการติดตามผล และจะหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องมีการพัฒนาต่อยอดรูปแบบการใช้ยาให้ง่ายและสะดวกขึ้น เพราะบางครั้งการกินยาตามกรรมวิธีดั้งเดิม ก็ขม เหม็น กินยาก ต้องพัฒนาต่อยอด เช่น ตำรับยาศุขไสยาศน์ที่มีกัญชาผสม จะสามารถพัฒนามาเป็นแผ่นอมใต้ลิ้นแทนการพกยาเป็นขวดได้หรือไม่ เป็นต้น และจะต้องร่วมกันพัฒนาแบบสหวิชาชีพ เช่น ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ในการพัฒนาภูมิปัญญาเหล่านี้ร่วมกับแพทย์แผนไทย เป็นต้น นพ.ขวัญชัย กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมใช้ยาที่มีส่วนผสมกัญชาทั้ง 16 ตำรับนั้น กรมฯ จะมีการติดต่อกับเครือข่ายในการดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ คือ ปลูกกัญชา ไปจนถึงปลายน้ำ คือ จำหน่ายยาไปยังแพทย์แผนไทยที่มีความประสงค์จะใช้ โดยการปลูกกัญชาเรามีข้อมูลว่า ลุ่มน้ำสงคราม คือ พื้นที่นครพนม สกลนคร มุกดาหาร เป็นแหล่งกัญชาคุณภาพ จึงจะร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสกลนคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน วิทยาเขตสกลนคร ซึ่งมีพื้นที่ถึง 1.4 พันไร่ในการปลูกกัญชา ซึ่งจะปลูกโดยใช้สายพันธุ์ไทย คือ สายพันธุ์หางกระรอก และประสานกับโรงพยาบาลในพื้นที่ คือ รพ.พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน WHO GMP ในการผลิตยาสมุนไพร ให้เป็นผู้ผลิตยากัญชาทั้ง 16 ตำรับ และทำเป็นเครื่องยาที่มีกัญชาผสมด้วย ซึ่งจะมีการป้องกันไม่ให้นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น ใบกัญชาจะผสมพริกไทยอัตราส่วน 4:1 หรือก้าน นำไปผสมกับบอระเพ็ดอัตราส่วน 1:1 เป็นต้น นอกจากนี้ ในอนาคตอาจจะผลิตเป็นน้ำมันกัญชา เพื่อเป้นเครื่องยากลางในการนำไปหยอดใช้ในตำรับยา “การปลูกและผลิตยากัญชาดังกล่าว จะดำเนินการตามกฎหมาย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างทำโครงการขออนุญาตไปยังคณะกรรมการยาเสพติดให้โทษ ซึ่งหากได้รับการอนุญาตคาดว่า ในช่วง เม.ย.นี้ก็สามารถปลูกได้ทันที โดยการปลูกใช้เวลาประมาณ 90-100 วัน ดังนั้น ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วง ก.ค. โดยเบื้องต้นคาดว่า แพทย์แผนไทยจะใช้ประมาณ 2,000 กิโลกรัมต่อปี ใช้กับผู้ป่วยตำรับยาละประมาณ 1,000 ราย ก็จะแบ่งให้ ม.เกษตรฯ และ มทร.อีสาน แบ่งกันปลูกคนละครึ่ง ส่วนกรมฯ จะทำหน้าที่เป็นศูนย์รับจำหน่าย โดยรับแจ้งความต้องการจากแพทย์แผนไทย และแจ้งยอดไปยัง รพ.พระอาจารย์ฝั้นฯ ว่าจะต้องผลิตยาตำรับใด จำนวนเท่าใด โดยในช่วงแรกนั้นที่มีการเก็บข้อมูลวิจัยไปด้วย ยาที่จะจำหน่ายนั้นจะไม่เก็บค่าใช้จ่ายหรือฟรี แต่หากถึงจุดที่ผลิตเพื่อจำหน่ายทั่วไปแล้วนั้น ก็คงจะคิดในราคาต้นทุน ซึ่งประเมินว่าไม่น่าแพงมาก” นพ.ขวัญชัย กล่าว นพ.ขวัญชัย กล่าวว่า นอกจากโครงการในพื้นที่สกลนครแล้ว ยังเล็งพื้นที่เพชรบุรีไว้ด้วยว่าจะดำเนินการเช่นเดียว เนื่องจากมีการปลูกในพื้นที่แบบใต้ดินอยู่แล้ว และมีกัญชาคุณภาพสายพันธุ์แก่งกระจาน ก็จะประสานสถาบันการศึกษาในพื้นที่และโรงพยาบาลที่ผ่านมาตรฐาน WHO GMP ในการปลูกและผลิตยาจากกัญชาเช่นกัน นพ.ขวัญชัย กล่าวว่า การปลูกกัญชาเพื่อใช้ในทางการแพทย์แผนไทย เราไม่ได้คำนึงถึงว่าจะต้องมีสาร THC หรือสาร CBD จำนวนเท่าใด แต่จะต้องปลูกให้ได้ตามมาตรฐาน คือ มีความผลอดภัย ไม่มีสารโลหะหนัก ไม่มีสารเคมี ยาฆ่าแมลง เพราะการใช้กัญชา เราใช้ทุกส่วนทั้งช่อดอก ใบ ก้าน ต้น ราก ขึ้นอยู่กับตำรับว่าจะใช้ส่วนใด อีกทั้งใช้ไม่เยอะโดยสัดส่วนของกัญชาในตำรับยาก็ไม่เกิน 10% เนื่องจากมีสมุนไพรตัวอื่นด้วยเป็นสูตรตำรับ ซึ่งในสูตรจะมีทั้งการเสริมฤทธิ์ ตัดฤทธิ์ ต้านฤทธิ์กันอยู่ คือเป็นภูมิปัญญาที่ผ่านการคิดค้นมาแล้ว ตรงนี้ถือเป็นจุดแข็งและจุดได้เปรียบที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนามากกว่าการพัฒนายาแผนปัจจุบัน ทั้งนี้ การปลูกในพื้นที่สกลนครจะมีการศึกษาวิจัยเพื่อให้การปลูกได้ผลผลิตดีที่สุด ปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนสารโลหะหนัก ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กลุ่มเกษตรกรที่ต้องการยื่นโครงการในการปลูกด้วย เพราะเราไม่ได้ปลูกในระดับเมดิคัลเกรดที่จะส่งออกต่างชาติเหมือนขององค์การเภสัชกรรม โดยอาจปลูกในลักษณะของโรงเรือนประยุกต์ ใช้เต็นท์พลาสติกแบบการปลูกเมลอน หรือการปลูกลงกระถาง เป็นต้น Manager online 07.03.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร