Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ผู้หญิงคนแรกที่ได้รับ “เอเบิลไพร์ซ” รางวัลสูงสุดสาขาคณิตศาสตร์  

“คาเรน อูห์เลนเบค” นักคณิตศาสตร์อเมริกันรับรางวัล “เอเบิลไพร์ซ” รางวัลเชิดชูเกียรติสายคณิตศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องว่าเทียบเท่ารางวัลโนเบล และยังเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ “คาเรน อูห์เลนเบค” (Karen Uhlenbeck) ได้รับรางวัลเอเบิลไพร์ซ (Abel Prize) ประจำปี 2019 จากการวิจัยพื้นฐานด้านเรขาคณิตวิเคราะห์และทฤษฎีเกจ (gauge theory) โดยเธอทำงานเกี่ยวกับสมการเชิงอนุพันธ์ย่อย (partial differential equations) ฮันส์ มุนเต-คาส (Hans Munthe-Kaas) ประธานคณะกรรมการรางวัลเอเบิล กล่าวระหว่างแถลงผลรางวัลว่า งานพื้นฐานของอูห์เลนเบคนั้น ได้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของคณิตศาสตร์ไปอย่างมหาศาล “ทฤษฎีของเธอได้ปฏิวัติความเข้าใจของเราเกี่ยวกับพื้นิวขนาดเล็ก อย่างพื้นผิวของฟองสบู่ และทำให้เราเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาทั่วไปที่ต้องการคำตอบเป็นค่าน้อยที่สุด (general minimization problems) ในมิติที่มีค่าสูงกว่า (higher dimensions)” ประธานคณะกรรมการรางวัลระบุ ทางด้านสภาวิทยาศาสตร์และวรรณกรรมนอร์เวย์ (Norwegian Academy of Science and Letters) ระบุว่า อูห์เลนเบคได้พัฒนาเครื่องมือและวิธีการสำหรับการวิเคราะห์ระดับสากล ซึ่งตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องที่นักเรขาคณิตและนักวิเคราะห์ต้องใช้ ทั้งนี้ อูห์เลนเบค เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ พร้อมเช็คเงินรางวัลมูลค่า 620,000 ยูโร หรือ 703,000 เหรียญสหรัฐฯ อีกทั้งเธอยังเป็นผู้ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในวงการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วย “ฉันตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ฉันคือต้นแบบสำหรับผู้หญิงรุ่นเยาว์ในเรื่องคณิตศาสตร์ มันยากที่จะเป็นต้นแบบ ทว่า เพราะสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำจริงๆ คือแสดงให้นักศึกษาได้เห็นว่า คนที่ไม่สมบูรณ์แบบนั้นยังประสบความสำเร็จได้อย่างไร ฉันอาจจะเป็นนักคณิตศาสตร์ที่น่าทึ่ง และมีชื่อเสียงจากคณิตศาสตร์ แต่ขณธเดียวกัน ฉันก็เป็นแค่คนๆ หนึ่ง” อูห์เลนเบคกล่าว ตอนนี้อูห์เลนเบคอายุ 76 ปีแล้ว และเป็นนักวิชาการวิจัยอาวุโสพิเศษที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) และยังเป็นรองศาสตราจารย์พิเศษที่สถาบันเพื่อการศึกษาประยุกต์ (Institute for Advanced Study: IAS) ในสหรัฐฯ ทั้งสองสถาบัน จากรางวัลที่ได้รับนี้ทำให้อูห์เลนเบคเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้หญิงกลุ่มเล็กๆ ที่ได้รับรางวัลทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยในจำนวนผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ สาขาเคมีหรือสาขาสรีรศาสตร์และการแพทย์จำนวน 607 คน ระหว่างปี ค.ศ.1901-2018 นั้น มีผู้หญิงเพียง 19 คนเท่านั้น โดย มารี คูรี (Marie Curie) เป็นผู้หญิงคนเดียวที่ได้รับถึง 2 ครั้ง โดยได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์และสาขาเคมี นอกจากนี้ยังมีผู้หญิงเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลใหญ่ทางด้านคณิตศาสตร์ระดับนานาชาติอีกรางวัล คือรางวัลฟิล์ดมีดัล (Fields Medal) นั่นคือ มัรยัม มีร์ซาคอนี (Maryam Mirzakhani) จากอิหร่าน ที่ได้รับรางวัลดังกล่าวเมื่อปี ค.ศ.2014 และเธอได้เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ.2017 ทางด้าน อลิช ฉาง ซุน-ยุง (Alice Chang Sun-Yung) นักคณิตศาสตร์พรินซ์ตัน และสมาชิกคณะกรรมการรางวัลเอเบิล กล่าวว่า ผู้หญิงยังค่อนข้างเป็น “หน้าใหม่” สำหรับวงการนักวิจัยคณิตศาสตร์ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าที่ผู้หญิงจะได้รับรางวัลระดับสูง อีกทั้งยังต้องมีผู้หญิงใน “จำนวนวิกฤต” ไม่ใช่เพียงคนโดดเด่นไม่กี่คนในวงการคณิตศาสตร์ เพื่อให้เกิดการยอมรับว่า ผู้หญิงนั้นมีความสามารถในคณิตศาสตร์เทียบเท่าผู้ชาย “แต่กระแสการเปลี่ยนแปลงกำลังมาและกำลังอยู่ในสายลม” ซุน-ยุงกล่าว พร้อมยกตัวอย่าง อูห์เลนเบคและ แคลร์ วอยซิน (Claire Voisin) ที่ได้รับรางวัลชอว์ไพร์ซ (Shaw Prize) ทางด้านวิทยาศาสตร์เมื่อปี ค.ศ.2017 สำหรับรางวัลเอเบิลไพร์ซเป็นรางวัลที่ได้ตั้งชื่อตามนักคณิตศาสตร์นอร์เวย์นามว่า นีลส์ เฮนริก เอเบิล (Niels Henrik Abel) โดยรางวัลนี้ตั้งขึ้นโดยรัฐบาลออสโลเมื่อปี 2002 และมีการมอบรางวัลในปีถัดมา เพื่อเชิดชูเกียรติผลงานวิทยาศาสตร์ในสาขาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นงานวิทยาศาสตร์ที่ไม่รวมอยู่ในรงวัลโนเบล นอกจากรางวัลทางด้านคณิตศาสตร์อย่างฟิล์ดมีดัลที่มอบรางวัลกันทุกๆ 4 ปี ณ สภาสหพันธ์คณิตศาสตร์นานาชาติ (International Mathematical Union (IMU) แล้ว รางวัลเอเบิลไพร์ซก็เป็นอีกรางวัลอันทรงเกียรติระดับโลกสำหรับสาขาคณิตศาสตร์ Manager online 21.03.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร