Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

คุยกับนักวิจัยเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ เพื่อเป้าหมายสร้างองค์ความรู้ให้โลก  

“การทำวิจัยด้านเคมีอินทรีย์สังเคราะห์” เป็นพื้นฐานสำคัญของจุดเริ่มต้นในการพัฒนาระบบการสังเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้กระบวนการเปลี่ยนสารประกอบอินทรีย์จากธรรมชาติ ไปสู่สารผลิตภัณฑ์อีกชนิดที่มีคุณสมบัติตามต้องการ และเหมาะสมในการนำไปใช้ประโยชน์ งานวิจัยดังกล่าวเป็นงานที่ รศ.ดร.ชุติมา คูหากาญจน์ อาจารย์ภาควิชาเคมี และศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กำลังทำอย่างเข้มข้น เช่นเดียวกับนักเคมีจากทั่วโลก รศ.ดร.ชุติมา อธิบายถึงลักษณะของการทำงานวิจัยประเภทนี้ว่า งานด้านเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ เป็นพื้นฐานในหลายอุตสาหกรรม ทั้งการทำยา เครื่องสำอาง ปิโตรเคมี เพราะอุตสาหกรรมเหล่านี้ต้องการผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ซึ่งสารตั้งต้นที่เป็นเพียงตัวเลือกเดียวอาจไม่ตอบโจทย์นัก เราจึงต้องใช้ทั้งความรู้และจินตนาการ คิดค้นวิธีการในการสร้างสรรค์สารตัวใหม่ให้เกิดขึ้นตลอดเวลาเพื่อนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรม งานที่ รศ.ดร.ชุติมา ให้ความสนใจเป็นการออกแบบและพัฒนาวิธีการสังเคราะห์ทางเคมีอินทรีย์แบบใหม่ โดยเฉพาะการใช้ปฏิกิริยาออกซิเดชัน ผ่านการเติมหมู่ฟังก์ชันของสารประกอบอินทรีย์ที่ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี (เช่น สารประกอบโอเลฟิน) การเปลี่ยนหมู่ฟังก์ชันโดยมีการสูญเสียแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ การเพิ่มหมู่ฟังก์ชันแบบง่าย และการสังเคราะห์โดยการสร้างพันธะแบบต่อเนื่อง สำหรับวิธีการสังเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ มุ่งเน้นไปที่การสังเคราะห์ที่สามารถทำได้ง่าย สะดวก ลดขั้นตอนในการสังเคราะห์ แต่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตัวอย่างผลงานเด่น เช่น การออกแบบสารตั้งต้นให้สามารถเกิดปฏิกิริยาแบบต่อเนื่อง เพื่อให้ได้สารผลิตภัณฑ์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนในขั้นตอนเดียว โดยใช้สารที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติอย่างไอโอดีนมาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาแทนการใช้โลหะหนัก ประโยชน์ของงานวิจัยนี้นอกจากจะเป็นการสังเคราะห์สารอินทรีย์เคมีตัวใหม่ขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในอนาคตแล้ว ยังช่วยเสริม “ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ” เพราะด้วยกระบวนการนี้ภาคอุตสาหกรรมจะสามารถประหยัดได้ทั้งเวลาและต้นทุนในการดำเนินงาน นอกจากนั้นแล้ววิธีการใหม่นี้ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly) ด้วย “อีกคุณประโยชน์สำคัญของการวิจัยสังเคราะห์สารเคมีอินทรีย์ คือ การเตรียมสารตั้งต้นไว้ล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เช่น สถานการณ์ของ “การดื้อยา” และ “การแพ้ยา” ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งการเตรียมสารชนิดใหม่ไว้ ก็จะทำให้สามารถสร้างยาตัวใหม่ที่เป็นทางเลือกอื่นๆ ให้กับผู้ป่วยได้” รศ.ดร.ชุติมา เล่าเพิ่มเติมว่า ลักษณะงานวิจัย เป็นงานวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure science) ที่อาจไม่ได้เห็นประโยชน์เป็นรูปธรรมชัดเจนเหมือนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ แต่สิ่งที่ได้มา คือ “องค์ความรู้ใหม่ของโลก” ที่สร้างไว้เพื่อเป็นพื้นฐานให้นักวิจัยจากทั่วโลกได้นำความรู้นี้ไปต่อยอดเป็นงานวิจัยอื่นเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับโลก Manager online 25.03.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร