Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

จุฬาฯ ประกาศชัด!!งดแจกถุงฟรีทุกร้านค้าทั่วมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ 26 มี.ค.นี้ พร้อมขยายไปพื้นที่เชิงพาณิชย์สิ้นปีนี้  

อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกาศมาตรการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในมหาวิทยาลัย ปลอดโฟมและถุงพลาสติกชนิด Oxo-degradable งดแจกถุงพลาสติกฟรีทุกร้านค้าทั่วมหาวิทยาลัย มีผลตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2562 เป็นต้นไป นับว่าเป็นการใช้มาตรการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่มุ่งมั่นสู่การจัดการขยะอย่างยั่งยืน แถมจะขยายมาตรการนี้ไปพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสิ้นปีนี้ ตามโครงการ Chula Zero Waste ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายอย่างยั่งยืนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระยะเวลา 5 ปี (2559-2564) เพื่อการบริหารและจัดการขยะที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย ล่าสุดโชว์ผลการทำงาน 2 ปีที่ผ่านมา ลดถุงพลาสติกได้ 90% ในร้านสะดวกซื้อรวมปริมาณถุงพลาสติกที่ลดได้ไม่น้อยกว่า 3 ล้านใบ โดยที่เตรียมขยายมาตรการที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ครอบคลุมทุกร้านค้าและขยายมาตรการไปยังพื้นที่เชิงพาณิชย์สิ้นปีนี้ เพื่อเป็นต้นแบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยในพื้นที่เมือง เนื่องจากสถานการณ์ปัญหาขยะพลาสติกและความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในห่วงโซ่อาหารทำให้ จุฬาฯ ยกระดับมาตรการลดขยะที่ต้นทางเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับสังคมให้ปรับวิถีการบริโภค ละความสะดวกสบายเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ประกาศเป้าหมายของมหาวิทยาลัยที่จะเป็นเขตปลอดภาชนะโฟม 100% รวมทั้งถุงพลาสติกชนิด Oxo- degradable ที่แตกตัวเป็นไมโครพลาสติกเร็วขึ้น เลิกใช้แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง 100% ในโรงอาหาร ลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งทุกร้านค้าในเขตพื้นที่การเรียนการสอนได้ 80% และลดปริมาณหลอด ช้อน-ส้อมพลาสติกลงให้ได้ไม่น้อยกว่า 20% เพื่อแสดงความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม รองอธิการบดีฝ่ายบริหารทั่วไป จุฬาฯ กล่าวว่า “โครงการ Chula Zero Waste เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน” โดยตั้งเป้าที่จะเป็นต้นแบบการจัดการขยะมหาวิทยาลัยในพื้นที่เมือง มาตรการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจะเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยลดรอยเท้าพลาสติก (plastic footprint) อย่างมีนัยสำคัญซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน” ด้าน ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี ผู้จัดการโครงการ Chula Zero Waste ได้นำเสนอความสำเร็จของมาตรการงดแจกถุงพลาสติกในร้านสะดวกซื้อในมหาวิทยาลัยที่ได้ดำเนินการมา 2 ปีกว่า (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2560) ซึ่งช่วยลดปริมาณถุงพลาสติกไปได้ถึง 90% รวมเป็นปริมาณถุงที่ป้องกันไม่ให้เป็นขยะได้กว่า 3 ล้านใบ แต่จุฬาฯ จะไม่หยุดอยู่แค่นั้น เนื่องจากถุงพลาสติกในร้านสะดวกซื้อ คิดเป็น 26% ของร้านค้าทั้งหมดในมหาวิทยาลัยและปริมาณการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วน 28% ของพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง 4 ประเภทที่รวมๆ แล้วอาจมีปริมาณการใช้มากกว่า 20 ล้านชิ้นต่อปี ที่ผ่านมา การรณรงค์เชิงสมัครใจไม่ประสบความสำเร็จในการปรับพฤติกรรมเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องมีมาตรการฯ ดังกล่าว มาตรการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ในจุฬาฯ ครอบคลุมร้านค้าในเขตพื้นที่การศึกษา โดยห้ามใช้กล่องโฟมและถุงพลาสติกชนิด Oxo-degradable โดยเด็ดขาด งดการให้ถุงพลาสติกฟรี (ยกเว้นสำหรับของร้อนพร้อมทาน) เปลี่ยนเป็นเก็บเงิน 1-2 บาทตามกลไกเศรษฐศาสตร์เพื่อจูงใจให้ลดรับถุงพลาสติก ถุงที่อนุญาตให้ใช้จะมี 3 ทางเลือก คือ ถุงกระดาษ ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ที่ได้มาตรฐานการย่อยสลายเป็นปุ๋ย (compostable) และถุงที่ผลิตจากพลาสติก รีไซเคิล 100 % ส่วนแก้วน้ำในโรงอาหาร ให้เปลี่ยนจากแก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นแก้วที่ล้างใช้ซ้ำได้หรือ Zero-Waste Cup ซึ่งเป็นแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ภายใน 4-6 เดือน และให้มีการลดการแจกหลอดหรือช้อนส้อม จะให้ก็ต่อเมื่อลูกค้าร้องขอเท่านั้น มาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในเขตพื้นที่การศึกษาตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2562 ซึ่งเป็นวันสถาปนาจุฬาฯครบรอบ 102 ปี ส่วนพื้นที่ในเชิงพาณิชย์จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป แต่ยังไม่บังคับให้ร้านค้างดแจกถุงฟรีเหมือนในพื้นที่การศึกษา อย่างไรก็ดี ร้านสะดวกซื้อ 7-11 สาขา CU Terrace และสาขาคณะเภสัชศาสตร์ จะร่วมงดแจกถุงพลาสติกฟรี ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคมเช่นกัน งานเสวนาและแถลงข่าวมาตรการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นที่เรือนจุฬานฤมิต (เมื่อ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา) ในงานมีการประกาศเจตนารมณ์การดำเนินมาตรการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในจุฬาฯ โดย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี การนำเสนอความก้าวหน้า “จุฬาฯ กับมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนและโครงการ Chula Zero Waste” โดย ศาสตราจารย์ ดร.บุญไชย สถิตมั่นในธรรม รองอธิการบดีฝ่ายบริหารทั่วไป จุฬาฯ การชี้แจงรายละเอียดมาตรการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในจุฬาฯ พ.ศ. 2561 โดย ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี ผู้จัดการโครงการ Chula Zero Waste ความร่วมมือของสำนักจัดการทรัพย์สินในการดำเนินมาตรการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในพื้นที่เชิงพาณิชย์ โดยวรพงศ์ สุขธีรอนันตชัย ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการทรัพย์สิน นอกจากนี้ยังมีการเสวนา“ปัญหาขยะพลาสติกกับบทบาทของมหาวิทยาลัย” นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ศิรพันธ์ วัฒนจินดา (นุ่น) ดารานักแสดงเจ้าของแอปพลิเคชัน ECOLIFE ที่ช่วยลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และนิสิตชมรม Chula Zero Waste รวมทั้งมีนิทรรศการให้ความรู้ในเรื่องการจัดการขยะ และผลงานออกแบบถังขยะแยกประเภทอัจฉริยะจากนิสิตคณะครุศาสตร์ และงานประติมากรรมจากขยะพลาสติกของนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์อีกด้วย โครงการ Chula Zero Waste •โครงการสามารถลดถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งได้ 3 ล้านใบในระยะเวลา 2 ปี (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2560) เริ่มจากขอความร่วมมือลดใช้ถุงเมื่อซึ้อของน้อยชิ้นและต่อมาได้งดแจกถุงพลาสติกฟรีในร้านสหกรณ์จุฬาฯ และบูธ 7-11 ก่อนเปลี่ยนเป็นเก็บเงินค่าถุง 2 บาท •ลดการใช้แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง 3.8 แสนใบ หรือเทียบเป็นปริมาณขยะประมาณถึง 5.7 ตันในเวลา 4 เดือนตั้งแต่เริ่มใช้ โดยให้ร้านค้าใช้แก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ (zero-waste cup) แก้วที่ใช้เสร็จแล้วจะเข้าสู่การคัดแยกเพื่อนำไปฝังกลบทำเป็นปุ๋ยหมักกลับมาใช้กับต้นไม้ในจุฬาฯ และยังมอบให้หน่วยงานหรือมูลนิธิที่สนใจนำไปเพาะกล้าไม้แทนถุงเพาะชำพลาสติก •จัดการขยะที่รีไซเคิลยากหรือมีมูลค่าต่ำที่มีค่าความร้อนโดยการแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนถ่านหินที่โรงปูนซีเมนต์จังหวัดสระบุรี คำประกาศเจตนารมณ์ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศเป้าหมายการลดปริมาณขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในจุฬาฯ ว่า “ลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ต้นทาง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดความเสี่ยงการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในห่วงโซ่อาหารของมนุษย์” “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาคมจุฬาฯ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นแบบอย่างให้กับสังคม” เป้าหมายลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ภายใน 3 ปี (ปีงบประมาณ 2562 - 2564) 1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเขตปลอดโฟม 100% และปลอดถุงพลาสติกชนิด Oxo-degradable ที่แตกตัวเร็ว กลายเป็นไมโครพลาสติก 2.ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกชนิดหูหิ้วลง 80% ในทุกร้านค้า (ผ่านมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ “เก็บเงินค่าถุงพลาสติก” เพื่อจูงใจให้พกถุงผ้า) 3.เลิกใช้แก้วพลาสติก 100% ในโรงอาหาร (เปลี่ยนเป็นแก้วที่ใช้ซ้ำได้หรือแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ (zero-waste cup) 4.ลดปริมาณการใช้หลอดพลาสติก ช้อน-ส้อมพลาสติกลง 20% (ผ่านมาตรการ “ขอก่อน ค่อยให้” (on request) และลด-งดแจก ในการประชุมและการจัดงานพิเศษต่างๆ) Manager onoine 25.03.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร