Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

5 คำตอบที่ควรรู้เรื่องขวด PET  

PET คืออะไร? PET ย่อมาจาก Polyethylene Terephthalate เป็นสารประกอบที่เกิดจากการสังเคราะห์โดยปฏิกิริยาเคมีระหว่าง เอทิลีนไกคอล ซึ่งผลิตจากการกลั่นน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ และกรดเทเรฟทาลิกบริสุทธิ์ (PTA) ซึ่งผลิตจากน้ำมันดิบPET มีความเหนียว ทนทาน ยืดหยุ่นต่อแรงกระแทกและสามารถนำมาขึ้นรูปได้หลากหลาย จึงนิยมนำมาใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์รวมทั้งสิ่งทอ ซึ่งมักถูกเรียกว่า โพลีเอสเตอร์ (Polyester) ดังนั้น PET และโพลีเอสเตอร์จึงเป็นวัสดุชนิดเดียวกัน PETสามารถนำกลับมารีไซเคิล เป็นเส้นใยหรือขวดใหม่ได้ นอกจากนี้ PETยังได้รับความนิยมเนื่องจากมีความใสใกล้เคียงกับขวดแก้ว แต่มีน้ำหนักเบา ไม่แตกเป็นอันตราย ราคาถูกกว่าและรีไซเคิลได้ง่ายมาก PET ปลอดภัยหรือไม่? โดยปกติสารที่จะถูกปลดปล่อยจากภาชนะบรรจุมักเป็นสารที่มีโมเลกุลต่ำหรือระเหยได้ สำหรับ PET ที่ใช้บรรจุอาหารนั้นจะมีน้ำหนักโมเลกุลสูง จึงมีโอกาสน้อยที่จะปลดปล่อยที่เป็นส่วนประกอบออกมา โดยสถาบันระดับโลกหลายแห่งได้ออกมายืนยันความปลอดภัยในการใช้ขวด PET อาทิ สมาคมพลาสติกสหรัฐอเมริกา (The American Plastics Council) องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US FDA) และองค์กรด้านความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety Authority) แห่งประเทศนิวซีแลนด์ ยืนยันว่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตขวด PET ไม่มีสาร DEHA (Diethyl Hydroxylamine) ซี่งเป็นสารก่อมะเร็งเป็นสารประกอบ และขวด PET ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของภาชนะบรรจุอาหาร สอดคล้องกับการศึกษาของสถาบันวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งสหรัฐอเมริกา (Institutional Life Science Institute) ที่กล่าวว่าระดับความเป็นไปได้ที่สารปนเปื้อนจะแพร่ออกจากขวด PET ต่ำกว่ามาตรฐานด้านความปลอดภัยที่กำหนดไว้ และมีปริมาณของสารปนเปื้อนต่ำกว่าระดับที่จะก่อให้เกิดผลทางพิษวิทยา ทิ้งขวด PET ตากแดดไว้นานๆ เป็นอันตรายจริงหรือ? PET สามารถทนต่ออุณหภูมิได้ไม่เกิน 70-100 องศาเซลเซียส และขวดน้ำดื่ม PET ได้ผ่านการรับรองจากองค์กรอาหารและยาสหรัฐอเมริกา จากข้อมูลทางวิชาการที่มีการวิจัยและเผยแพร่พบว่า ไม่พบสารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในขวดน้ำดื่ม PET ที่ทิ้งไว้ในรถ เนื่องจาก PET เป็นพลาสติกชนิดที่ไม่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าขวดพลาสติก PET มีความปลอดภัยแน่นอน สาร BPA มีในขวด PET หรือไม่? ขวดน้ำดื่ม PET ปลอดภัยและไม่มีสาร BPA (Bisphenol A) ปนเปื้อน BPA เป็นสารที่พบในพลาสติกประเภทขวดขุ่นเท่านั้น ที่สำคัญคือสาร BPA ไม่ใช่สารก่อมะเร็ง แต่หากมีการปนเปื้อนเกิดขึ้นจะส่งผลต่อระบบฮอร์โมนของร่างกาย ขวด PET ใช้ซ้ำๆ เป็นมะเร็งจริงหรือ? โดยทั่วไปแล้วขวดพลาสติก PET มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานเพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ตามขวด PET สามารถนำมาใช้ได้อีก แต่ต้องล้างให้สะอาดทุกครั้งและทิ้งไว้ให้แห้งสนิทก่อนที่จะนำมาบรรจุน้ำใหม่ทุกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียภายในปากที่อาจปนเปื้อน ทำให้เกิดการเจริญเติบโตในขวดน้ำได้ดี ที่สำคัญต้องสังเกตให้ดี หากขวดเริ่มมีรอยขูดขีด หรือเนื้อพลาสติกเปราะแตก แสดงว่าพลาสติกเริ่มมีการเสื่อมสภาพ ก็ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำอีก Manager online 27.03.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร