Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ยานอวกาศญี่ปุ่นเดินหน้าระเบิดผิวดาวเคราะห์น้อย “ริวกุ”  

ยานอวกาศญี่ปุ่นเดินหน้าระเบิดผิวดาวเคราะห์น้อย “ริวกุ” ยานอวกาศญี่ปุ่นเดินหน้าภารกิจสุดหิน ปล่อยเครื่องมือระเบิดพื้นผิวดาวเคราะห์น้อย หาร่องรอยวิวัฒนาการระบบสุริยะ และเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลก เมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ยานอวกาศฮายาบูซะ 2 (Hayabusa2) ขององค์การอวกาศญี่ปุ่น หรือแจกซา (JAXA) ได้ลงแตะพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยริวกุ (Ryugu) เป็นเวลาสั้นๆ พร้อมทั้งปล่อยกระสุนใส่พื้นผิวดาวเคราะห์น้อยให้ฝุ่นฟุ้งเพื่อเก็บตัวอย่าง ก่อนจะกลับเข้าสู่ตำแหน่งค้างฟ้าเหนือดาวเคราะห์น้อย ล่าสุดยานอวกาศฮายาบูซะ 2ได้ทำภารกิจที่ยากที่สุดสำเร็จ นั่นคือภารกิจปล่อย “อิมแพคเตอร์” (impactor) ขนาดจิ๋วที่มีรูปทรงกรวยและมีก้นทองแดงอยู่ด้านล่าง ขณะที่ยานบินโฉบเหนือพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยประมาณ 500 เมตร เมื่อวันศุกร์ที่ 5 เม.ย.2019 ที่ผ่านมา อิมแพคเตอร์นี้ถูกโปรแกรมให้ระเบิดผิวดาวเคราะห์น้อยด้วยก้นทองแดงที่อยู่ด้านล่าง ซึ่งจะขุดให้เป็นหลุมจากการปะทะที่พิ้นผิวดาวเคราะห์น้อยริวกุ ที่อยู่ห่างจากโลก 300 ล้านกิโลเมตร ส่วนฮายาบูซะ 2 ยานแม่นั้นได้ขยับให้ห่างจากบริเวณที่จะได้รับผลกระทบจากการระเบิดหรือการพุ่งชนดาวเคราะห์ริวกุ ยานอวกาศฮายาบูซะ 2 ยังปล่อยกล้องออกมาจับภาพเหตุการณ์ ซึ่งภาพจากกล้องในมุมต่างๆ ที่ด้านล่างของยาน เผยให้เห็นว่าการปล่อยอิมแพคเตอร์นั้นทั้งมุมและตำแหน่งถูกต้อง ยูอิชิ ซึดะ (Yuichi Tsuda) ผู้จัดการโครงการฮายาบูซะ 2 บอกผู้สื่อข่าวว่า แจกซาสามารถยืนยันว่า อิมแพคเตอร์พุ่งชนพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย ได้จากหลักฐานภาพถ่ายที่บันทึกโดยกล้องที่ยานอวกาศถ่ายทอดมา ด้าน ทากาชิ คูโบตะ (Takashi Kubota) นักวิจัยด้านวิศวกรรม กล่าวว่า การใช้เทคนิคระเบิดและกลยุทธ์อันโลดโผนของยานอวกาศนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน และเขาหวังว่าปฏิบัติการนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้เห็นดาวเคราะห์น้อยในมุมมองที่มีโอกาสเห็นได้ยาก นอกจากนี้ มาโกโตะ โยชิกาวะ (Makoto Yoshikawa) นักวิทยาศาสตร์ของแจกซาบอกว่า เทคนิคการระเบิดของภารกิจนี้ที่มีแม่นยำมาก เป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในการปกป้องโลกหากถูกดาวเคราะห์น้อยคุกคาม แม้ว่าการระเบิดในภารกิจนี้จะเล็กมากจนไม่สามารถขยับดาวเคราะห์น้อยริวกุออกจากวงโคจร นักวิทยาศาสตร์ของแจกซาระบุด้วยว่า หลุมระเบิดที่เกิดขึ้นจากอิมแพคเตอร์นั้นจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ได้ถึง 10 เมตร หากพื้นผิวนั้นเป็นทราย หรืออาจจะมีเส้นผ่านกลางประมาณ 3 เมตร หากพื้นผิวนั้นเป็นหิน เป้าหมายของการสร้างหลุมระเบิดบนพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยริวกุ เพื่อให้วัตถุที่ “สดใหม่” จากใต้พื้นผิวดาวเคราะห์น้อยพุ่งขึ้นมา ซึ่งวัตถุดังกล่าวจะเป็นร่องรอยที่ช่วยให้เข้าใจระยะก่อกำเนิดของระบบสุริยะ ทั้งนี้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยริวกุนั้นบรรจุสสารอินทรีย์และน้ำในปริมาณมหาศาลมาจากยุคเมื่อ 4.6 พันล้านปีก่อน ขณะที่ระบบสุริยะเพิ่งก่อกำเนิด ภาพถ่ายของดาวเคราะห์น้อยริวกุเผยให้เห็นว่า ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีพื้นผิวขรุขระ ที่เต็มไปด้วยกรวดก้อนใหญ่ๆ โดยยานฮายาบูซะ 2 ได้สำรวจพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยด้วยกล้อง และอุปกรณ์เซนเซอร์ต่างๆ ที่ติดอยู่บนยานอวกาศ และยังมีหุ่นยนต์อีก 2 ตัวที่ส่งลงไปสำรวจพื้นผิวดาวเคราะห์น้อย นั่นคือ ยานโรเวอร์มิเนอร์วา-2 (MINERVA-II) กับหุ่นยนต์ความร่วมมือระหว่างฝรั่งเศส-เยอรมันชื่อว่า มาสคอต (MASCOT) ยานอวกาศฮายาบูซะ 2 ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อเดือน ธ.ค.2014 และมีกำหนดกลับมายังโลกพร้อมตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยเมื่อปี 2020 โดยยานอวกาศที่มีขนาดเท่าๆ ตู้เย็นขนาดใหญ่ลำนี้ มีมูลค่าเกือบ 3 หมื่นล้านเยน หรือประมาณ 8.5 พันล้านบาท โดยยานได้ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตพลังงาน ยานอวกาศฮายาบูซะ 2ยังสืบต่อความสำเร็จจากยานฮายาบูซะลำแรก ซึ่งเป็นยานอวกาศสำรวจดาวเคราะห์น้อยอีกลำของแจกซา โดยยานอวกาศรุ่นพี่นั้นได้นำตัวอย่างฝุ่นดาวเคราะห์น้อยกลับมายังโลกเมื่อปี 2010 หลังการเดินทางท่องอวกาศ 7 ปี และนำเป็นชัยชนะสำคัญในทางวิทยาศาสตร์ สำหรับริวกุนั้นมีความหมายว่า “วังมังกร” ตามความหมายภาษาญี่ปุ่น และยังหมายถึงวังใต้มหาสมุทรตามนิทานปรัมปราของญี่ปุ่น ส่วนฮายาบูซะนี้มีความหมายตามภาษาญี่ปุ่นว่า “นกเหยี่ยว” Manager online 6.04.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร