Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

อีก 3 ปีไทยเจอแน่ !! "มลพิษแผงโซลาร์เซลล์” ก.อุตฯ ชู 3 แนวทางป้องกันก่อนกำจัดซาก !  

กระทรวงอุตสาหกรรม หนุนการจัดการขยะพลังงานอย่างเป็นระบบ ดันแนวคิด ตั้งโรงงานซ่อมแซมแผงเพื่อรียูสและรีไซเคิลซากแผงโซลาร์เซลล์ เป็นโรงงานลําดับที่ 106 (โรงงานประเภทกากอุตสาหกรรม) รับมือซากโซลาร์เซลล์ที่จะคาดว่าทยอยหมดอายุการใช้งานในอีก 3 ปีข้างหน้า คิดเป็นซากแผงโซลาร์เซลล์สะสม สูงถึง 6.2-7.9 แสนตัน เมื่อเร็วๆ นี้ พสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการมายังสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีนโยบายให้หาแนวทางที่จะลดปัญหามลพิษก่อนกำจัดซากแผงโซลาร์เซลล์ เนื่องจากประเทศไทยมีการใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ มาตั้งแต่ปี 2545 และจะหมดอายุการใช้งานใน 20 ปีหลังการติดตั้งใช้งาน (คาดว่าจะทยอยหมดอายุในปี 2565-2601) เป็นซากแผงโซลาร์เซลล์สะสม สูงถึง 6.2 -7.9 แสนตัน สุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าในเชิงคุณภาพแผงเซลล์แสงอาทิตย์ยังคงผลิตไฟฟ้าได้อยู่เพียงแต่จะมีประสิทธิภาพลดลง อีกนัยหนึ่งคือหมดอายุในการสร้างความคุ้มค่าทางการเงิน แต่ยังคงสร้างความคุ้มค่าด้านพลังงานได้ ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม จึงมีแนวคิดสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งโรงงานซ่อมแซมโซลาร์เซลล์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแผงที่ยังใช้ได้ และสนับสนุนการตั้งโรงงาน รีไซเคิลซากแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อรองรับแผงโซลาร์เซลล์ที่เสื่อมสภาพหรือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซม เป็นโรงงานลำดับที่ 106 (ประกอบกิจการ เกี่ยวกับการนําผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้ว หรือ ของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรมกากอุตสาหกรรม) โดยจะกำหนดแนวทาง การดำเนินงานไว้ 3 แนวทาง คือ 1.การรับคืนแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุ 2.การเปิดโรงงานรียูสซ่อมแซมแผงโซลาร์เซลล์ และ 3.การรับซากแผงโซลาร์เซลล์กลับมาผ่านกระบวนการรีไซเคิล "พร้อมมีแนวคิดให้มีการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการขออนุญาตจัดตั้งโรงงานซ่อมแซมแผงโซลาร์เซลล์และโรงงานรีไซเคิล ซากแผงโซลาร์เซลล์ โดยมีเป้าหมาย ที่จะจัดตั้งโรงงานใน 10 จังหวัดปริมณฑลและตามหัวเมืองในแต่ละภูมิภาค จังหวัดละ 10 แห่งในช่วงแรกคาดว่าจะมีโรงงานทั้ง 2 ประเภทรวมกันประมาณ 100 แห่ง และจะทยอยอนุญาตให้จัดตั้งในแต่ละจังหวัดต่อไป “อย่างน้อย ต้องมีโรงงานประเภทดังกล่าวจังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อรองรับการซ่อมแซมและรีไซเคิลซากแผงโซลาร์เซลล์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดปัญหาการกำจัดซากแผงโซล่าเซลล์ที่จะเกิดขึ้นได้ถึง 90% คิดเป็น 5.6 - 7.1 แสนตัน” เรื่องดังกล่าวอาจจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต แต่ในปัจจุบันยังไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลและส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมและควบคุมกำกับดูแล ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย จะได้มอบหมายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมศึกษาความเป็นไปได้และหาแนวทางในการบริหารจัดการในเรื่องนี้อย่างยั่งยืนต่อไป รองปลัด ก.อุตสาหกรรม กล่าวต่อว่าหลายฝ่ายกังวลว่าเมื่อหมดอายุการใช้งานแผงเซลล์แสงอาทิตย์แล้วจะกำจัดอย่างไร ซึ่งตามหลักการปฏิบัติงาน (Code of Practice หรือ CoP) ด้านการออกแบบติดตั้งและการจัดการขยะและกากของเสียสำหรับผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากเทคโนโลยีแผงโฟโตโวลเท มีแนวทางดำเนินการ 2 กรณี คือ การส่งออกไปจัดการนอกประเทศ หรือการจัดการภายในประเทศด้วยการฝังกลบในหลุมฝังกลบของเสียอันตราย(Secure Land Fill) หรือเผาทําลายด้วยเตาเผาเฉพาะของเสียอันตราย หรือจัดการโดยวิธีอื่นโดยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถึงแม้จะครบอายุโครงการ (20 ปี หลังการติดตั้งใช้งาน) แผงเซลล์แสงอาทิตย์ยังคงผลิตไฟฟ้าได้อยู่ แต่มีประสิทธิภาพที่ลดลง “ปัจจุบันมีการนำเสนอแนวทางการจัดการ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่เสียหาย(บางส่วน) หรือหมดอายุการใช้งาน (ในทางธุรกิจ) ด้วยวิธีการซ่อมบำรุงที่ถูกวิธี เช่นวิธีการเปลี่ยนอุปกรณ์เดิมบางตัวเพื่อให้นำกลับมาใช้ใหม่เช่นเปลี่ยนไดโอด (Diode) หรืออุปกรณ์สายไฟต่างๆในระบบ ก็จะช่วยต่ออายุให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ยังใช้งานได้โดยการนำกลับมารียูสได้มีอายุการใช้งานอีกไม่ต่ำกว่า 10 ปี สำหรับแผงที่แตกหักใช้ไม่ได้ก็จะนำมาเข้าวิธี Delamination คือนำแผงวงจรที่ผลิตจากแร่ควอทซ์และส่วนประกอบอื่นๆมาทำเป็นสินค้าตัวใหม่ในรูปของกระจกด้านทึบเพื่อใช้สำหรับงานก่อสร้างต่อไป” Manager online 09.04.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร