Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ตลาดผักสุขภาพ ปราการป้องกัน “เขาหัวโล้น”  

จากความต้องการพืชเชิงเดี่ยวของตลาด และการไม่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เป็นหนึ่งในสาเหตุให้เกษตรกรจำนวนไม่น้อยละเลยทรัพยากรในท้องถิ่นของตัวเอง แต่เพื่อช่วยชาวบ้านรักษาป่าอันเป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพมาตรฐานน้ำดื่ม การสร้างตลาดเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ บ้านนาหมูม่น หมู่ที่ 2 ต.นาดี อ.ด่านซ้าย จ.เลย เป็นหมู่บ้านที่มีทรัพยากรน้ำที่สมบูรณ์มีแหล่งน้ำธรรมชาติจาก 2 แหล่ง คือ ลำน้ำหมันซึ่งเป็นสายน้ำที่พาดผ่านหมู่บ้านสำหรับใช้ในการทำเกษตร และแหล่งน้ำผุดหรือน้ำซับที่มีต้นน้ำจากป่า ซึ่งเกิดจากน้ำในดินที่ผ่านการกรองของชั้นหินทรายจากบนภูเขาลงมาสู่ที่ต่ำ จากผลการตรวจคุณภาพน้ำพบว่า มีคุณภาพน้ำที่สะอาดปราศจากสารปนเปื้อนในระดับมาตรฐานน้ำดื่ม จากสภาพภูมิประเทศของบ้านนาหมูม่นที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงกว่า 340-880 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีสภาพพื้นที่ป่าไม้ 38,275 ไร่ ลดลงจากปี 2545 ประมาณ 1,268 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 2.58 แต่จากฐานทรัพยากรน้ำบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแห่งนี้ นางคุณารักษ์ มณีนุษย์ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ในฐานะนักวิจัยท้องถิ่น กล่าวว่าบ้านนาหมูม่นเป็นหนึ่งในหมู่บ้านต้นแบบเกษตรทางเลือกในอำเภอด่านซ้ายของ สกว. เพื่อลดปัญหาเขาหัวโล้น เพื่อที่จะรักษาทรัพยากรน้ำ แต่การจะรักษาทรัพยากรน้ำได้ ต้องรักษาป่า และการที่จะเปลี่ยนให้ชาวบ้านที่ทำเกษตรจากการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวให้เป็นเกษตรทางเลือกได้ ก็ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องป่า เรื่องน้ำ และจะต้องมีทางเลือกให้กับชาวบ้านด้วย “บ้านนาหมูม่น มีแหล่งทรัพยากรน้ำที่นอกจากน้ำฝนแล้ว ยังมีน้ำจากลำน้ำหมัน และน้ำเหมือง ซึ่งเป็นน้ำผุดหรือน้ำซับที่เกิดจากแหล่งน้ำธรรมชาติจากภูเขา ชาวบ้านใช้ในการอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ยังมีการนำน้ำเหมืองไปใช้ในแปลงปลูกผักปลอดสารพิษของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งพบว่าผลผลิตที่ได้ไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมีเกินค่ามาตรฐาน ถือว่าน้ำเหมืองจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อคนในชุมชน จึงเป็นฐานทรัพยากรที่ชุมชนจะต้องดูแลรักษาและอนุรักษ์ป่า เพื่อให้เรามีน้ำใช้ตลอดทั้งปี รวมถึงระบบนิเวศต่างๆ ทั้งในลุ่มน้ำหมัน น้ำเหมือง และในทุ่งนามีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า เพราะหมู่บ้านเรามีทรัพยากรด้านน้ำมากกว่าหมู่บ้านอื่นๆ” ด้าน รศ.ดร.เอกรินทร์ พึ่งประชา จากภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ เปิดเผยว่าบ้านนาหมูม่น เป็นหนึ่งในหมู่บ้านต้นแบบในการขับเคลื่อนเรื่องด่านซ้ายกรีนเนทและด่านซ้ายโมเดล โดยใช้เกษตรทางเลือกเป็นเส้นทางในการฟื้นฟูทรัพยากรอาหาร (ดิน น้ำ และป่า) ภายใต้โครงการการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรและหมู่บ้านต้นแบบการผลิตและการตลาดสีเขียวมาตรฐานด่านซ้ายกรีนเนท โดยประยุกต์แนวทางระบบการรับรองมาตรฐานอย่างมีส่วนร่วม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย (ปี 2560-2561) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้การสนับสนุน “บ้านนาหมูม่นเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ช่วงปลายลำน้ำหมัน และมีน้ำเหมืองเป็นต้นทุนของท้องถิ่น ที่มีรากวัฒนธรรมความเชื่อเรื่อง พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของบรรพบุรุษ ทำให้บริเวณห้วยภูได้รับการปกป้องไม่ถูกรุกล้ำ แต่ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น คือเรื่องของการทำเกษตรที่เริ่มเปลี่ยนไป จากที่เคยทำแบบพออยู่พอกินมาเป็นการทำเกษตรแบบการค้า ทำให้ต้องขยายพื้นที่ มีการบุกรุกพื้นป่าเพื่อทำเกษตร โดยเฉพาะการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวขึ้นไปในป่าเพิ่มมากขึ้น” ผลการศึกษาพบว่า ส่วนหนึ่งของการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวนั้น มาจากความต้องการของตลาดที่เป็นแรงจูงใจ แต่เมื่อเทียบรายได้จากการขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังหักรายจ่ายแล้วจะเหลือเพียง 2,100 บาทต่อไร่ต่อปี แตกต่างจากการทำเกษตรทางเลือกมีรายได้อยู่ที่ 115,200 บาทต่อไร่ต่อปี แต่เพราะเป็นรายได้ที่ชาวบ้านได้รับเป็นรายวัน แล้วนำกลับมาใช้ชีวิตประจำวัน จึงไม่รู้สึกต่างจากเงินที่ได้เป็นก้อน จากการขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย จากผลการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ของชุมชน โดยคณะวิจัยจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย พบว่า พื้นที่ป่าชุมชนบ้านนาหมูม่นมีสภาพป่าเป็นป่าเต็งรังผสมป่าเบญจพรรณ มีชนิดพรรณไม้กว่า 142 ชนิด เป็นไม้ยืนต้น 64 ชนิด ไม้ล้มลุก 23 ชนิด ไม้เถา 20 ชนิด ไม้พุ่ม 12 ชนิด พืชวงศ์หญ้า 18 ชนิด และเฟิร์น 5 ชนิด และยังมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่จำนวนมาก ไม่น้อยกว่า 115 ชนิด “ผลการศึกษาชี้ให้เห็นชัดว่า พื้นป่าบ้านนาหมูหม่นยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ที่ควรแก่การอนุรักษ์ ดังนั้น เมื่องานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อลดปัญหาเขาหัวโล้น และการฟื้นฟูฐานทรัพยากรอาหาร จึงใช้เกษตรทางเลือกเข้ามาขับเคลื่อน เพื่อสร้างภาวะอยู่ดีมีสุขทั้งมิติสุขภาพและทำให้ชาวบ้านมีรายได้ จากสิ่งที่ถนัดนั่นคือ การปลูกพืชผักปลอดภัย” อย่างไรก็ตาม นางคุณารักษ์ยอมรับว่า ปัญหาเรื่องการรุกพื้นที่ป่าของชุมชนยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงและเห็นได้ชัด คือ เรื่องของทัศนคติ มุมมอง และพฤติกรรมของชาวบ้านที่เริ่มมีความเข้าใจเกี่ยวกับต้นทุนในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากขึ้น จากเดิมที่ไม่เคยคิดเรื่องของต้นทุนและกำไร จะคิดแค่ขายข้าวโพดได้เงินเป็นก้อน แต่ขายผักได้เงินน้อย เช่น ได้เงินจากการขายข้าวโพดมา 6 แสนบาท แต่ไม่เคยหักต้นทุนค่าใช้จ่าย อย่างค่าแรงงาน ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ค่าเมล็ดพันธุ์ และเงินที่ได้มาก็นำไปใช้หนี้และซื้อมาทำต่อหมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ “ตอนนี้ชาวบ้านเริ่มคิดแล้วว่า เมื่อเทียบเปรียบรายได้ที่ได้จากการปลูกผักขายแม้วันละ100-200 บาท แต่มีกำไรดีกว่าการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นอกจากการเก็บขายแล้วยังนำมาแปรรูปหรือทำเป็นเมนูอาหารขายเพิ่มมูลค่าได้อีก ซึ่งหลังจากที่งานวิจัยเข้ามาขับเคลื่อนทำให้ชุมชนเกิดการตื่นตัว เริ่มเข้าใจต้นทุนกำไร เริ่มห่วงสุขภาพและรู้สึกแล้วว่าต้องเลิกใช้สารเคมี เปลี่ยนมาใช้สมุนไพรแทน หรือหากจะใช้สารเคมีก็ต้องตรวจหาสารเคมีตกค้างในแปลงผักอยู่เสมอ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยายามสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย เข้ามาให้ความรู้ในการตรวจอย่างเป็นระบบ” นางคุณารักษ์กล่าว Manager online 17.04.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร