Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิต “วัสดุทดแทนกระดูก” ฝีมือไทย  

สวทช. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “M-Bone” ให้ ‘สตาร์ทอัพ’ ผลิต ‘วัสดุทดแทนกระดูกปลูกถ่ายในร่างกายมนุษย์’ คาดลดนำเข้ามากกว่าร้อยล้านบาทต่อปี และเป็นประโยชน์ต่อคนไข้ฝังรากฟันเทียม (M-Bone) ‘วัสดุทดแทนกระดูกสำหรับปลูกถ่ายในร่างกายมนุษย์’ นับเป็นวัสดุทางการแพทย์ชนิดแรกของประเทศไทยที่ได้มาตรฐานสากล ช่วยอนุรักษ์สันกระดูกขากรรไกรให้สามารถคงเค้ารูปสันกระดูกขากรรไกร ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงหลังการถอนฟันให้เร็วขึ้นใน 3 เดือน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แถลงข่าวการลงนามในสัญญาอนุญาตให้สิทธิใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย “วัสดุทดแทนกระดูกสำหรับปลูกถ่ายในร่างกายมนุษย์” ให้แก่ บริษัท ออส ไฮดรอกซี จำกัด บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทย เมื่อวันที่19 เมษายน 2562 ณ ห้องกมลมาศ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ เพื่ออนุญาตสิทธิในการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีและผลิตวัสดุทดแทนกระดูกสำหรับปลูกถ่ายในร่างกายมนุษย์ หรือ “เอ็ม-โบน” (M-Bone) ซึ่งเป็นวัสดุทางการแพทย์ชนิดแรกที่นักวิจัยไทยพัฒนาจนได้มาตรฐานระดับสากล ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. ให้การสนับสนุนและพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมการแพทย์ชั้นสูง เพื่อต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ ด้วยการอนุญาตให้สิทธิใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย “วัสดุทดแทนกระดูกสำหรับปลูกถ่ายในร่างกายมนุษย์” (M-Bone) ให้กับบริษัท ออส ไฮดรอกซี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพด้านการแพทย์ เพื่อผลิตและจำหน่ายมีระยะเวลา 5 ปี ดร.ณรงค์ระบุว่า M-Bone เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มีความปลอดภัย ได้การรับรองโรงงานผลิตต้นแบบเครื่องมือแพทย์ที่ได้มาตรฐาน กำหนดขอบข่ายของระบบการบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน International Standard: ISO 13485:2016 โดยครอบคลุมกระบวนการวิจัยและพัฒนา และการผลิตต้นแบบเชิงอุตสาหกรรม วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับการทดสอบทางคลินิก ถือเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ให้เกิดการขับเคลื่อนและบูรณาการความร่วมมือ ส่งเสริม ผลักดันเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยอย่างยั่งยืน “งานวิจัยดังกล่าวได้มีการทดสอบความเป็นพิษ ทดสอบการระคายเคือง ทดสอบการก่อให้เกิดการไข้และผลข้างเคียงที่จะมีผลต่อเนื้อเยื่อ ตลอดจนทดสอบผลที่จะมีผลต่อการสร้างการเจริญเติบโตในการสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมา โดยผลการทดสอบที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของการสร้างกระดูกใหม่ พบว่ากระดูกใหม่เกิดขึ้นตั้งแต่ 4 สัปดาห์ และเซลล์กระดูกใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 8 สัปดาห์ 12 สัปดาห์ และในสัปดาห์ที่ 16 จะเห็นกระดูกใหม่เจริญเติบโตเข้ามาในรูพรุนตรงกึ่งกลางของวัสดุทดแทนฯ ซึ่งวัสดุทดแทนฯ จะค่อยๆ สลายออกไป จนเห็นได้ชัดว่าเนื้อเยื่อสามารถสร้างกระดูกใหม่รอบๆ เหงือกเข้ามาทดแทนทั้งหมดภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น เร็วกว่าการปล่อยให้กระดูกคนไข้สร้างขึ้นเอง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาเกิน 6 เดือนในคนไข้ทั่วไป และมากกว่า 1 ปี ในคนไข้สูงอายุ” ดร.ณรงค์กล่าว ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การลงนามในสัญญาฯ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งนี้ เกิดขึ้นจากผลงานวิจัยและพัฒนาของ ดร.นฤภร มนต์มธุรพจน์ นักวิจัยอาวุโส และทีมวิจัย ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) ทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ที่ได้พัฒนาวัสดุทดแทนกระดูกสำหรับปลูกถ่ายในร่างกายมนุษย์ (Hydroxyapatite bone graft substitutes) ซึ่งเป็นต้นแบบวัสดุทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานระดับสากล "เตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัยดังกล่าวนี้ ให้สิทธิแก่ผู้ได้รับอนุญาต คือ บริษัท ออส ไฮดรอกซี จำกัด ตลอดจนบริษัทที่สนใจรับถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ ซึ่งทีมวิจัยได้ผลิตต้นแบบวัสดุทดแทนกระดูกฯ ไว้จำนวนหนึ่ง และพร้อมส่งมอบให้ผู้รับอนุญาตภายใน 60 วัน นับจากวันที่ลงนามในสัญญาฯ เพื่อนำไปทดลองตลาดและใช้ในทางการแพทย์" วัสดุทดแทนกระดูกสำหรับปลูกถ่ายในร่างกายมนุษย์ หรือ M-Bone มีจุดเด่นคือ เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มีความปลอดภัย สำหรับการนำไปใช้งานเป็นวัสดุทดแทนกระดูกสำหรับปลูกถ่ายในร่างกายมนุษย์ มีส่วนประกอบหลักคือ ไฮดรอกซีอาปาไทต์ และ ไตรแคลเซียมฟอสเฟต ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของกระดูกธรรมชาติของมนุษย์ที่สามารถเหนี่ยวนำเซลล์กระดูกให้เจริญเติบโตในบริเวณที่มีการปลูกถ่าย หรือทดแทนได้ดี นอกจากนี้ สวทช. ยังได้ขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการเป็นสถานที่ผลิตเครื่องมือแพทย์กับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรียบร้อยแล้ว “วัสดุ M-Bone ทีมวิจัยสังเคราะห์จากวัสดุที่ปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับทางการแพทย์ มีคุณสมบัติในการเหนี่ยวนำการเจริญเติบโตของเซลล์กระดูกโดยเฉพาะบริเวณที่มีการปลูกถ่าย หรือทดแทนเกิดขึ้น เนื่องจากรูพรุนที่มีลักษณะต่อเนื่องถึงกัน และมีความพรุนตัวที่ประมาณร้อยละ 80 ส่งผลให้ผิวของวัสดุมีความหยาบเพียงพอต่อเซลล์กระดูกให้สามารถเกาะยึดและเข้าไปเจริญเติบโตในรูพรุนของวัสดุได้ดีในระยะเวลาเพียง 16 สัปดาห์” ศ.ดร.ไพรัชกล่าว สำหรับการดำเนินการผลิตและส่งมอบตามข้อตกลงการอนุญาตสิทธิ ทั้งชนิด จำนวน และขนาด ผู้รับอนุญาตจะดำเนินการผลิตและส่งมอบตามแผนการใช้งานต้นแบบให้ทั้งหมดไม่เกิน 1,000 ชิ้น ภายในระยะเวลา 1 ปี โดยต้นแบบที่ผลิตขึ้นผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อเรียบร้อยและพร้อมใช้ทางการแพทย์กับคนไข้ได้ทันที รศ.นพ.ดร.ปฐวี คงขุนเทียน ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางทันตกรรมรากเทียม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การนำ เอ็ม-โบน” (M-Bone) หรือ วัสดุทนแทนกระดูกสำหรับปลูกถ่ายในร่างกายมนุษย์มาใช้ทางการแพทย์นั้น วัสดุที่ใช้ทดแทนกระดูกอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. กระดูกที่ได้จากร่างกายของผู้ป่วยเอง 2. กระดูกที่ได้จากการที่มีผู้บริจาคแล้วนำมาผ่านกระบวนการเพื่อใช้ในทางการแพทย์ 3. กระดูกที่ได้จากกระดูกสัตว์ เช่น วัว ม้า และ 4. กระดูกที่ได้จากการสังเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ “M-Bone จัดอยู่ในกระดูกที่สังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้กระดูกดังกล่าวมีข้อได้เปรียบในกรณีที่ผู้ป่วยมีความกังวลในเรื่องการใช้วัสดุจากบุคคลอื่น หรือสัตว์ ตลอดจนแพทย์สามารถใช้ได้อย่างมั่นใจว่าจะไม่มีการส่งถ่ายเชื้อโรค หรือไวรัสไปหาผู้ป่วย เนื่องจาก M-Bone ได้ผ่านการวิจัยทดสอบและพัฒนาตามมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ชนิดฝังใน ISO 13485 ที่ได้รับการรับรองจาก TÜV เยอรมันนี จึงมั่นใจว่ามีความปลอดภัยสูงใช้ได้ในร่างกาย" จากการทดสอบในสัตว์ทดลอง (หมู) แสดงให้เห็นว่า M-Bone มีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อกระดูกเป็นอย่างดี ไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ หรืออักเสบใด ตลอดจนมีการสร้างกระดูกใหม่แทรกเข้าไปรอบๆ วัสดุ M-Bone ได้ดีด้วย สำหรับการให้การรักษาในผู้ป่วยนั้น การนำมาใช้ทดแทนกระดูกที่ถูกทำลายไปเนื่องจากโรคบางอย่าง เช่น ถุงน้ำ หรืออุบัติเหตุ M-Bone ให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิผล ไม่แตกต่างจากวัสดุทดแทนกระดูกของต่างประเทศ โดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการปฏิกิริยาต่อต้านวัสดุฝังในและไม่เกิดอาการแพ้แต่อย่างใด ด้าน ภก.สุรศักดิ์ นันทวิริยกุล ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท ออส ไฮดรอกซี จำกัด ในฐานะผู้รับอนุญาตสิทธิในผลงานวิจัยเพื่อนำไปผลิตเชิงพาณิชย์ เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีความประสงค์ในการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์แคลเซียมฟอสเฟตเซรามิกส์สังเคราะห์จาก สวทช. เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์วัสดุทดแทนกระดูกสำหรับปลูกถ่ายในร่างกายมนุษย์ หรือ M-Bone นี้ ในปีแรกนั้น ทีมวิจัย สวทช. เป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี และผลิตสินค้าต้นแบบจำนวนหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ได้จริง จากสถานที่ผลิตในห้องปฏิบัติการของ สวทช. ที่ได้รับรองมาตรฐานการผลิต ISO 13485 เพื่อให้บริษัทฯ นำมาทดสอบตลาดฯ ทั้งนี้ ภก.สุรศักดิ์ ระบุว่า ทางบริษัทออส ไฮดรอกซี ได้มีแผนการลงทุนในการสร้างโรงงานผลิตวัสดุทดแทนกระดูก ในปี 2563 เพื่อให้เพียงพอต่อการผลิตและจำหน่ายในอนาคต และพัฒนาธุรกิจให้สามารถแข่งขันกับสินค้าจากต่างประเทศได้ ปัจจุบันการใช้วัสดุทดแทนกระดูกมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากประชากรในประเทศมีผู้สูงอายุมากขึ้น และดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งราคาวัสดุทดแทนกระดูก มีการจำหน่ายในราคาที่สูง เช่น 0.5 ซีซี ราคาประมาณ 3,000 - 4,000 บาท และต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งมีมูลค่านำเข้าปีละหลายร้อยล้านบาท "เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ต้องการศัลยกรรมช่องปาก ฝังรากเทียม หรือ ผู้ป่วยอื่นที่ต้องการใช้สารทดแทนกระดูก และทดแทนการนำเข้า ทางบริษัทจึงเห็นความสำคัญของงานวิจัยนี้ ที่สำคัญการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งนี้ ถือเป็นการนำเอาผลงานวิจัยของนักวิจัยไทยมาใช้ประโยชน์ ช่วยให้คนไทยสามารถนำมาผลิตและจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์แบรนด์ไทย และทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ในวงการสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไทยในการเข้าถึงเทคโนโลยีและวัสดุทางการแพทย์ที่ทันสมัย ช่วยรักษาการเจ็บป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกช่วงวัย" Manager online 19.04.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร