Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

รู้ไว้ก่อนคิดปลูก "กัญชา"  

หลายคนอาจกำลังฝันหวานถึง “กัญชาเสรี” บางคนอาจจะอยากเสพได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่มีความสนใจปลูกพืชสายเขียวที่มีศักยภาพต่อยอดทางด้านการแพทย์ชนิดนี้ แม้ไม่เคยปลูกกัญชา แต่ ผศ.ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี อาจารย์สาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ บรรยายไว้ภายในงานพันธุ์บุรีรัมย์ มหกรรมงานกัญชา ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต ว่ามีประสบการณ์วิจัยด้านโรงงานพืช (Plant Factory) หรือการปลูกพืชในระบบปิดมา 6-7 ปี ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปลูกกัญชาได้ ผศ.ดร.สิริวัฒน์กล่าวว่า ในการปลูกกัญชาเพื่อทางการแพทย์นั้น ความแม่นยำเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง พร้อมยกตัวอย่างที่ได้ไปซื้อเครื่องดื่มผสมกัญชาที่ซานฟรานซิสโก แคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ว่า ไม่สามารถดื่มเครื่องดื่มดังกล่าวให้หมดขวด เพราะจะป่วยได้ โดยมีปริมาณการบริโภคเป็นโดส (DOSE) ตามที่ระบุในฉลาก และคนขายได้แนะนำเขาซึ่งไม่เคยเสพกัญชาเลยว่าให้ดื่มทีละครึ่งโดส ไม่เช่นนั้นจะป่วยได้ ซึ่งการแปรรูปผลิตกัญชาออกมาเป็นเครื่องดื่มดังกล่าวได้นั้น ต้องมีปริมาณสารออกฤทธิ์ที่คงที่ สำหรับรูปแบบการปลูกกัญชาหลักๆ แล้วมี 3 รูปแบบคือ แบบเปิดคือปลูกกลางแจ้ง ข้อดีคือต้นทุนต่ำ ปลูกง่าย แต่ต้องปลูกตามฤดูกาลและยังมีความเสี่ยงเรื่องสภาพอากาศ แบบปลูกในโรงเรือน มีต้นทุนสูงแต่ไม่เสี่ยงเรื่องสภาพอากาศ และแบบปลูกในร่ม (ปลูกในโรงงานพืช) เป็นการปลูกที่ปลอดภัยที่สุด ดีที่สุด ไม่เสี่ยงต่อสภาพอากาศ แต่มีต้นทุนสูงที่สุด หากใช้เทคโนโลยีต่างประเทศต้นทุนสร้างห้องปลูกอยู่ที่ตารางเมตรละ 100,000 บาท หากใช้เทคโนโลยีคนไทยต้นทุนอยู่ที่ตารางเมตรละ 20,000-30,000 บาท ผศ.ดร.สิริวัฒน์ระบุแนวคิดในการปลูกกัญชาในร่มคือ “ห้องซ้อนห้อง” เพื่อป้องกันการปนเปื้อน โดยเฉพาะเชื้อราหากเล็ดลอดเข้าไปก็จะภายในห้องเพาะปลูกไปตลอด และหัวใจสำคัญของการปลูกกัญชาในร่มคือต้องควบคุมความชื้น เพราะกัญชาไวต่อเชื้อรา หากมีเชื้อราเข้าไปในห้อง ต้องรื้อทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยโอโซน แต่ถ้าห้องชื้นน้อยเกินจะทำให้คลอโรฟิลล์แห้ง และมีรสเฝื่อนๆ การให้แสงสว่างก็เป็นอีกสำคัญสิ่งสำคัญ โดยเมื่อเปรียบเทียบหลอดไฟชนิดต่างๆ แล้ว หลอด LED มีความคงทุนและคุ้มต่อการใช้งานมากที่สุด ส่วนแสงสีอะไรนั้นจากประสบการณ์ปลูกดอกพิทูเนียในโรงงานพืช พบว่า แสงสีแดง-น้ำเงินช่วยให้พืชสังเคราะห์แสงได้มากกว่าแสงสีขาว แต่แสงสีขาวทำให้พืชมีน้ำหนักดีกว่า โดยแสงสีเขียวเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้พืชสังเคราะห์แสงและเติบโตได้ดีขึ้น และแสงสีขาวยังส่องถึงชั้นใบล่างๆ แต่แสงสีแดง-น้ำเงินส่งไม่ถึง ซึ่งหากปล่อยไว้นานใบด้านล่างที่แสงส่องไม่ถึงจะร่วงหมด ขณะเดียวกันเครื่องปรับอากาศและระบบหมุนเวียนอากาศก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยจำเป็นต้องใช้ BTU ที่มากกว่าเครื่องปรับอากาศสำหรับคนเป็น 2 เท่า เนื่องจากความร้อนจากหลอดไฟยังส่งผลต่ออุณหภูมิห้อง ส่วนระบบไหลเวียนอากาศเข้า-ออกควรอยู่ด้านบน ซึ่งช่วยให้อุณหภูมิภายในห้องเพาะพื้นสม่ำเสมอมากกว่าระบบไหลเวียนที่ติดอยู่ด้านข้าง และยังต้องให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยปล่อยจากด้านบนของห้องโรงงานพืชในลักษณะแบบฝนตก เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ที่หนักจะตกลงสู่ที่ต่ำ รวมทั้งต้องมีระบบให้สารอาหารแก้พืช และระบบควบคุมสภาพแวดล้อมด้วย Manager online 21.04.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร